พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด นหารู - นันทะ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


นหารู - นันทะ

นหารู เอ็น

นหุต ชื่อมาตรานับ เท่ากับหนึ่งหมื่น

นอนร่วม นอนในที่มุงที่บังอันเดียวกันและเห็นกันได้ในเวลานอน

น้อม ในประโยคว่า “ภิกษุน้อมลาภเช่นนั้นมาเพื่อตน” ขอหรือพูดเลียบเคียงชักจูงเพื่อจะให้เขาให้

นักบุญ ผู้ใฝ่บุญ, ผู้ถือศาสนาอย่างเคร่งครัด, ผู้ทำประโยชน์แก่พระศาสนา

นักปราชญ์ ผู้รู้, ผู้มีปัญญา

นักพรต คนถือบวช, ผู้ประพฤติพรต

นักษัตรฤกษ์ ดาวฤกษ์ซึ่งอยู่บนท้องฟ้ามีชื่อต่างๆ กัน เช่นดาวม้า ดาวลูกไก่ ดาวคางหมู คาวจระเข้ ดาวคันฉัตร เป็นต้น ดู ดาวนักษัตร

นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี เช่นเห็นว่าผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มีความดีความชั่วไม่มีเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง ดู ทิฏฐิ

นันทะ พระอนุชาของพระพุทธเจ้าแต่ต่างพระมารดา คือประสูติแต่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้ออกบวชในวันมงคลสมรสกับนางชนปทกัลยาณี เบื้องแรกประพฤติพรหมจรรย์อยู่ด้วยความจำใจ แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงสอนด้วยอุบาย จนพระนันทะเปลี่ยนมาตั้งใจปฏิบัติธรรม และในที่สุดก็ได้บรรลุอรหัตตผล ได้รับยกยองเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์ พระนันทะมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายพระพุทธเจ้า แต่ต่ำกว่าพระพุทธองค์ ๔ นิ้ว




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย