วิปัสสนาธุระ - วิปากทุกข์
วิปัสสนาธุระ ธุระฝ่ายวิปัสสนา, ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา, กิจพระศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน; เทียบ คันถธุระ
วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง
วิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา ดู ภาวนา, วิปัสสนา
วิปัสสนายานิก ผู้มีวิปัสสนาเป็นยานคือผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน
วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา,สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณมี ๑๐ คือ ๑. โอภาส แสงสว่าง ๒. ปีติ ความอิ่มใจ ๓. ญาณ ความรู้ ๔. ปัสสัทธิ ความสงบการและจิต ๕. สุข ความสบายกายสบายจิต ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี ๘. อุปัฏฐาน สติชัด ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง ๑๐. นิกันติ ความพอใจ
วิปัสสี พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า ๗
วิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งกรรมคือรู้จักแยกได้ว่า บรรดาผลที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอันซับซ้อน อันใดเป็นผลของกรรมดีหรือกรรมชั่วอย่างใดๆ เรียกเต็มว่า กรรมวิปากญาณ (ข้อ ๒ ในทสพลญาณ)
วิปากทุกข์ ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว เช่น ถูกลงอาชญาได้รับความทุกข์หรือตกอบาย หรือเกิดวิปฏิสารคือเดือดร้อนใจ