สงฆ์จตุวรรค - สติ
สงฆ์จตุวรรค สงฆ์พวก ๔ คือ มีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด, สงฆ์จตุวรรค ก็เขียน ดู วรรค
สงฆ์ทศวรรค สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค
สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์พวก ๕ คือ มีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค
สงฆมณฑล หมู่พระ, วงการพระ
สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค
สงสาร 1. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด 2. ในภาษาไทยมักหมายถึงรู้สึกในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น (= กรุณา)
สงสารทุกข์ ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด
สงสารวัฏฏ์ วังวนแห่งสงสาร คือ ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
สงสารสาคร ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายตายเกิด
สงสารสุทธิ ดู สังสารสุทธิ
สจิตตกะ มีเจตนา, เป็นไปโดยตั้งใจ, เป็นชื่อของอาบัติพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานมีเจตนา คือ ต้องจงใจทำจึงจะต้องอาบัตินั้น เช่น ภิกษุหลอนภิกษุให้กลัวผี ต้องปาจิตตีย์ ข้อนี้เป็นสจิตตกะ คือตั้งใจหลอกจึงต้องปาจิตตีย์ แต่ถ้าไม่ได้ตั้งใจจะหลอก ไม่ต้องอาบัติ
สญชัย ดู สัญชัย
สดัปกรณ์ “เจ็ดคัมภีร์” หมายถึงคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ ในพระอภิธรรมปิฎก เขียนเต็มว่า สัตตัปปกรณ์ (ดู ในคำว่า ไตรปิฎก) แต่ในภาษาไทยคำนี้มีความหมายกร่อนลงมา เป็นคำสำหรับใช้ในพิธีกรรม เรียกกิริยาที่พระภิกษุกล่าวคำพิจารณาสังขารเมื่อจะชักผ้าบังสุกุลในพิธีศพเจ้านายว่าสดับปกรณ์ ตรงกับที่เรียกในพิธีศพทั่วๆ ไปว่า บังสุกุล (ซึ่งก็เป็นศัพท์ที่มีความหมายกร่อนเช่นเดียวกัน); ใช้เป็นคำนาม หมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลในงานศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะศพเจ้านาย
สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐)