ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด สอุปาทิเสสบุคคล - สังขตะ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


สอุปาทิเสสบุคคล - สังขตะ

สอุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่, ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทานได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์; เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล

สักกะ
1.
พระนามจอมเทพ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกกันว่า ท้าวสักกะหรือพระอินทร์; ดู วัตรบท ๗
2. ชื่อดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์
3. ชื่อชนบทที่ตั้งอยู่ในดงไม้สักกะ ดู สักกชนบท

สักกชนบท ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ นครหลวงชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นชาติภูมิของพระพุทธเจ้ามีการปกครองโดยสามัคคีธรรม มีประวัติสืบมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

สักกรนิคม เป็นนิคมหนึ่งอยู่ในสักกชนบท; สักขรนิคม ก็เรียก

สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)

สักการ, สักการะ เคารพนับถือบูชา, เครื่องแสดงความเคารพบูชา

สักขิสาวก สาวกที่ทันเห็นองค์พระพุทธเจ้า, พระสุภัททะผู้เคยเป็นปริพาชก เป็นสักขิสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า

สักยปุตติยะ ผู้เป็นเหล่ากอแห่งพระศากยบุตร (ศากยบุตร หรือ สักยปุตต หมายถึงพระพุทธเจ้า), โดยใจความคือ ผู้เป็นลูกพระพุทธเจ้า ได้แก่พระภิกษุ (ภิกษุณีเรียกว่าสักยธิดา)

สักยราช กษัตริย์วงศ์ศากยะ, พระราชาวงศ์ศากยะ

สังกัจฉิกะ ผ้ารัดหรือโอบรักแร้ เป็นจีวรอย่างหนึ่งในจีวร ๕ ของภิกษุณี คือสังฆาฏิ ผ้าทาบ ๑ อุตตราสงค์ ผ้าห่ม ๑ อันตรวาสก สบง๑ สังกัจฉิกะ ผ้ารัดหรือผ้าโอบรักแร้ ๑ อุทกสาฏิกา ผ้าอาบ ๑ (มากกว่าของภิกษุณีซึ่งมีจำนวนเพียง ๓ อย่างข้างต้น)

สังกิเลส เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง

สังขตะ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง, สังขตธรรม; ตรงข้ามกับ อสังขตะ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย