ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด สาธก - สามัญ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


สาธก - สามัญ

สาธก อ้างตัวอย่างให้เห็นสม, ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น

สาธยาย การท่อง, การสวด

สาธารณ์ ทั่วไป, ทั่วไปแก่หมู่, ของส่วนรวม ไม่ใช่ของใครโดยเฉพาะ

สาธารณสถาน สถานที่สำหรับคนทั่วไป

สาธารณสิกขาบท สิกขาบทที่ทั่วไป,สิกขาบทที่ใช้บังคับทั่วกันหรือเสมอเหมือนกัน หมายถึง สิกขาบทสำหรับภิกษุณีที่เหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ เช่น ปาราชิก ๔ ข้อต้นในจำนวน ๘ ข้อของภิกษุณีเหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ เทียบ อสาธารณสิกขาบท

สาธุการ การเปล่งวาจาว่า สาธุ (แปลว่าดีแล้ว ชอบแล้ว) เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ

สาธุชน คนดี, คนมีศีลธรรม, คนมีสัมมาทิฏฐิ

สานต์ สงบ

สามเณร เหล่ากอแห่งสมณะ, บรรพชิตในพระพุทธศาสนาผู้ยังมิได้อุปสมบท เพียงแต่รับบรรพชาด้วยไตรสรณคมน์ ถือสิกขาบท ๑๐ และกิจวัตรบางอย่างตามปกติ มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์, พระราหุลเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา

สามเณรเปสกะ ภิกษุผู้ใด้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้สามเณร (เป็นเจ้าอธิการแห่งอาราม ประเภทหนึ่ง)

สามเณรี สามเณรผู้หญิง, หญิงรับบรรพชาในสำนักภิกษุณี ถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณร

สามเพท ชื่อคัมภีร์ที่ ๓ ของพระเวท; ดูไตรเพท

สามัคคีปวารณา กรณีอย่างสามัคคี อุโบสถนั่นเอง เมื่อทำปวารณา เรียกว่า สามัคคีปวารณา และวันที่ทำนั้นก็เรียก วันสามัคคี

สามัคคีอุโบสถ อุโบสถที่ทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษเมื่อสงฆ์สองฝ่ายซึ่งแตกกันกลับมาปรองดองสมานกันเข้าได้สามัคคีอุโบสถไม่กำหนดด้วยวันที่ตายตัว สงฆ์พร้อมเพรียงกันเมื่อใด ก็ทำเมื่อนั้น เรียกวันนั้นว่า วันสามัคคี

สามัญ 1. ปรกติ, ธรรมดา, ทั่วๆ ไป 2. ความเป็นสมณะ, มักเขียนสามัญญะ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย