รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ เกี่ยวกับเรื่องกรรม
ภิกษุ ท. ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่
บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรม เป็นสิ่ง
ที่บุคคลควรทราบ,
วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่
บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่
บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ...... คำที่
เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็น กรรม
เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย
แก้กรรม ? ๓
ด้วยวาจา ด้วยใจ.
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม)
แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม)
แห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ)
แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในนรก
มีอยู่, กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน
มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่, กรรมที่
ทำสัตว์เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรา
กล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรม
ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามี
อยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า
วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากใน
๔ พุทธวจน
อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า
วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม)
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมี
เพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมี
องค์แปด) นี้นั่นเองคือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ; ได้แก่
สิ่งเหล่านี้คือ คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมา-
สังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยง
ชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ
(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ท. ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม
อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ;
อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็น
เครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.
ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม เป็นสิ่ง
ที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่
บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคล
ควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินี
ปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัย
ความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓ - ๔๖๔/๓๓๔.
ที่มา : พุทธวจน ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓ - ๔๖๔/๓๓๔.