๒.๒.๓ วิสัชนาข้อสงสัยในพระธรรมวินัย

 dharma  

สัพพัญญูภาวปัญหา ๒๔๗ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญู
คือ ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทให้เสร็จพร้อมกัน
ทีเดียว
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญูผู้รู้แจ้งเห็นจริงในทุกสิ่งทุกอย่าง พระองค์
ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกไปตามลำดับขั้นตอน ต่อเมื่อมีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้น และจะ
ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทเมื่อยังไม่ถึงเวลา เปรียบเหมือนแพทย์ย่อมรู้สรรพคุณของยาทุกชนิด
จะประกอบยาให้คนไข้รับประทานเมื่อถึงเวลาเท่านั้น แต่ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็จะไม่ให้คนไข้
รับประทาน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
สิกขาปทอปัญญาปนปัญหา ๒๔๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง แม้อาจารย์ในปาง
ก่อนจะไม่ได้เป็นสัพพัญญู แต่ก็รู้การเกิดขึ้น และการรักษาโรคเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสัพพัญญูจึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ให้เสร็จพร้อมกัน
ทีเดียวอธิบายว่า อาจารย์ในปางก่อน ๗ ท่าน คือ (๑) นารทะ (๒) ธัมมันตรี(๓) อังคีรส
(๔) กปิละ (๕) กัณฑรัคคิกามะ (๖) อตุละ (๗) ปุพพกัจจายนะ บุคคลเหล่านี้เป็นหมอรักษา
โรค รู้สาเหตุแห่งโรคและการรักษาว่า โรคนี้จักหายหรือไม่หาย จึงรักษาพร้อมกันเสียทีเดียว
ด้วยคิดว่า โรคมีประมาณเท่านี้จักเกิดขึ้นในกาย ทั้งที่อาจารย์เหล่านั้นไม่ใช่สัพพัญญู
ส่วนพระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูทรงทราบกิริยาในอนาคตด้วยพุทธญาณว่า สิกขาบท
มีประมาณเท่านี้พระองค์จักทรงบัญญัติเพราะเรื่องชื่อนี้ พระองค์ทรงกำหนดเหตุการณ์แล้ว
จึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทพร้อมกันทีเดียว เพราะทรงมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าจักบัญญัติ
ทั้ง ๑๕๐ สิกขาบทพร้อมกันในคราวเดียว มหาชนจักสะดุ้งกลัวว่า ในศาสนานี้มีสิกขาบทที่
ต้องรักษามาก การบวชย่อมกระทำได้ยาก เมื่อชนผู้ต้องการจะบวชก็ไม่บวช และจักไม่เชื่อ
คำสอนของพระพุทธเจ้า อันจะเป็นเหตุนำไปสู่อบายภูมิ เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดเรื่องขึ้น
ทีละเรื่อง พระองค์จึงขอโอกาสเพื่อแสดงธรรม เมื่อโทษปรากฏชัดจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ขุททานุขุททกปัญหา ๒๔๙ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงรู้ยิ่งแล้ว
จึงแสดงธรรม ไม่ทรงรู้ยิ่งแล้วจะไม่ทรงแสดงธรรม ๒๕๐ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงอนุญาต
ให้ยกเลิกสิกขาบทเล็กน้อยได้
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่ทรงรู้ยิ่งแล้วจะไม่ทรงแสดง
ธรรม ภายหลังพระองค์ตรัสกะพระอานนท์ว่า เมื่อพระองค์ทรงล่วงลับไป สงฆ์หวังอยู่ก็จง
ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ๒๕๑ การตรัสอย่างนั้น ไม่ใช่เพราะสิกขาบทเล็กน้อยทรงบัญญัติไว้ไม่
ดี หรือเพราะเมื่อยังไม่มีเรื่องเกิดขึ้น ทรงบัญญัติไว้เพราะไม่ทรงรู้ แต่เพราะพระองค์
ทรงประสงค์จะทดสอบภิกษุว่า เมื่อพระองค์ทรงล่วงลับไป พระสาวกจักเลิกล้มสิกขาบท
เล็กน้อย หรือจักเอื้อเฟื้อกันอยู่ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พุทธบุตรมีแต่จะคุ้มครองสิกขาบท ๑๕๐
ให้ยิ่งขึ้นไป เพราะมีความต้องการในธรรมเพื่อความพ้นทุกข์เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ
ตรัสกะพระราชโอรสว่า มหาชนบทซึ่งเป็นอาณาจักร มีแม่น้ำเป็นที่สุดรอบทั้ง ๔ ทิศ
ถ้าพระราชโอรสต้องลำบากที่จะต้องคุ้มครองดูแลทั้งหมดด้วยกำลังเพียงเท่านี้ เมื่อพระองค์
สวรรคตแล้ว ก็ยอมให้สละดินแดนที่ตั้งอยู่ในที่สุดเขตแดน เมื่อเป็นอย่างนั้น นอกจาก
พระราชโอรสจะไม่ยอมสละดินแดนที่ปกครองอยู่ ยังจะรวบรวมดินแดนให้มากขึ้นเป็นสอง
เท่า หรือสามเท่า เพราะความต้องการในราชสมบัติ
ธัมมวินยปฏิจฉันนปัญหา ๒๕๒ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง ๒๕๓ เพราะเหตุไร ปาฏิโมกขุทเทส และ
พระวินัยปิฎกทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงปิดบังไว้
อธิบายว่า ปาฏิโมกขุทเทส และพระวินัยปิฎกที่พระพุทธเจ้าทรงปิดบังไว้ ๒๕๔
ก็ไม่ได้ปิดบังแก่คนทั้งหมด แต่พระองค์ทรงกระทำให้เป็นเขตแดนแล้วปิดบังไว้ เหตุแห่ง
การปิดบัง มีอยู่๓ ประการ คือ
(๑) ด้วยอำนาจแห่งวงศ์ของพระพุทธเจ้าในปางก่อน
(๒) เพราะความที่ธรรมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก
(๓) เพราะความที่ภูมิของภิกษุเป็นสิ่งที่ควรเคารพ
สติสัมโมสปัญหา ๒๕๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระอรหันต์ไม่มีความหลง
ลืมสติ แต่มีโอกาสต้องอาบัติได้
อธิบายว่า พระอรหันต์ไม่มีความหลงลืมสติ แต่อาจต้องอาบัติในเรื่องการสร้างกุฎี
บ้าง ในเรื่องการสื่อข่าวบ้าง ในเรื่องสำคัญเวลาวิกาลว่าเป็นกาลบ้าง ในเรื่องสำคัญภิกษุ
ผู้ปวารณาแล้วว่ายังมิได้ปวารณา ในเรื่องสำคัญภัตรที่ไม่ได้เป็นเดนภิกษุไข้ว่าเป็นเดนภิกษุไข้
ก็ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยเหตุ๒ ประการ คือ
(๑) เพราะไม่มีความเอื้อเฟื้อ
(๒) เพราะความไม่รู้
ส่วนการกระทำที่เศร้าหมองมีอยู่๒ อย่าง คือ
(๑) โลกวัชชะ โทษทางโลก
(๒) ปัณณัตติวัชชะ โทษทางพระวินัย
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ๒๕๖ หรือประชุมแห่งกรรมบถที่เป็นอกุศล จัดเป็นโลก
วัชชะ ส่วนกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควรแก่สมณะ แต่ไม่มีโทษสำหรับคฤหัสถ์จัดเป็นปัณณัตติ
วัชชะ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวก กระทำให้เป็นเขตแดนที่พระสาวก
ไม่พึงประพฤติล่วงตราบจนสิ้นชีวิต พระขีณาสพไม่อาจประพฤติก้าวล่วงอาบัติที่เป็นโลก
วัชชะได้ แต่ท่านอาจล่วงอาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะเพราะความไม่รู้ด้วยว่าการรู้กิเลสทั้งปวง
มิใช่วิสัยของพระอรหันต์ เพราะท่านไม่มีกำลังพอที่จะรู้กิเลสทั้งหมด แม้แต่ชื่อและโคตรของ
บุคคล แม้ทางเดินบนแผ่นดิน ท่านก็ไม่อาจรู้ทั้งหมด พระอรหันต์บางองค์จึงรู้เฉพาะวิมุตติ
เพียงอย่างเดียว บางองค์ที่ได้อภิญญา ๖ ก็รู้เฉพาะวิสัยของตน ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญญู
ทรงรู้กิเลสได้ทั้งหมด
หีนายาวัตตนปัญหา ๒๕๗ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธศาสนามีคุณมาก
มีสาระน่าเลือกสรร ประเสริฐสุด บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน เป็นของขาวไม่มีโทษ เพราะเหตุไร
คฤหัสถ์ผู้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเวียนกลับมาสู่ความเป็นคฤหัสถ์อีก ซึ่งจะทำให้คน
อื่นเข้าใจผิดว่า พระพุทธศาสนาจักเป็นของเปล่าประโยชน์
อธิบายว่า บุคคลผู้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว กลับเวียนมาสู่ความเป็นคฤหัสถ์
อีก มหาชนพึงติเตียนเขาผู้ไม่ปฏิบัติตนให้ดำรงอยู่ในพระศาสนาได้ เพราะพระพุทธเจ้าไม่อาจ
ทำให้บุคคลที่บวชเข้ามาแล้วบริสุทธิ์หมดจดได้ พระพุทธศาสนาจึงไม่มีโทษ เหมือนสระเต็ม
เปี่ยมด้วยน้ำปราศจากมลทิน เย็นสบาย ถ้าบุคคลมีตัวเปื้อนด้วยมลทินและเปือกตม ไปสระน้ำ
แล้วไม่อาบ กลับมาทั้งที่ยังมีตัวเศร้าหมองอยู่ มหาชนพึงติเตียนบุคคลผู้มีตนเศร้าหมอง
เพราะไปถึงสระน้ำแล้วไม่ยอมอาบ จึงเป็นผู้มีตนเศร้าหมองกลับมาเหมือนเดิม ไม่ใช่เพราะ
สระไม่ให้เขาผู้ต้องการอาบน้ำลงอาบ เพราะฉะนั้น สระจึงไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าทรงสร้าง
สระ คือพระสัทธรรมอันประเสริฐเต็มเปี่ยม ด้วยน้ำคือวิมุติอันประเสริฐ เพื่อให้ผู้มีตนเศร้า
หมอง ด้วยมลทินคือกิเลสได้ชำระล้างในสระอีกอย่างหนึ่ง บุคคลที่บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว กลับเวียนมาสู่ความเป็น
คฤหัสถ์อีก ย่อมชื่อว่าแสดงคุณที่ไม่อาจชั่งได้ของศาสนาพระชินพุทธเจ้า ๕ อย่าง คือ
(๑) พระศาสนาเป็นภูมิอันยิ่งใหญ่
(๒) พระศาสนาเป็นของบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน
(๓) พระศาสนาอันบาปชนไม่อาจอยู่ร่วมได้
(๔) พระศาสนาเป็นของรู้แจ้งได้ยาก
(๕) พระศาสนาเป็นของที่พึงรักษาไว้ด้วยความสำรวมเป็นอันมาก
อภิสมยันตรายกรปัญหา ๒๕๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง คฤหัสถ์ผู้เคยต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว กลับไปบวชใหม่อีก แม้เขาจะไม่รู้ว่าตนเองเคยต้องอาบัติปาราชิก อีกทั้งบุคคล
อื่นก็ไม่รู้ว่าเขาเคยต้องปาราชิกมาแล้ว ถึงจะปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลก็ไม่สามารถบรรลุได้
อธิบายว่า สิ่งที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม ของบุคคลผู้เคยต้องอาบัติปาราชิก
ถูกเลิกถอนแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีการบรรลุธรรม จริงอยู่ เมื่อบุคคลทำความผิดทั้ง ๆ
ที่รู้อยู่ จะทำให้เกิดความรำคาญในใจ ซึ่งทำให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ส่วนผู้ไม่รู้อยู่ใน
ความผิดของตน คิดว่าตนเองมีความบริสุทธิ์อยู่ ทำให้จิตสงบระงับ ก็ไม่เป็นเหตุให้บรรลุ
ธรรมได้เพราะเหตุปัจจัยแห่งการบรรลุธรรมถูกเลิกถอนแล้ว เหมือนพืชที่มีผลเป็นประโยชน์
ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ย่อมงอกขึ้นในนาที่โล่งเตียน มีการไถพรวนดี มีพื้นที่
เหมาะสม แต่จะไม่งอกขึ้นที่พื้นศิลาบนภูเขา ซึ่งเป็นหินแท่งทึบ เพราะไม่มีเหตุปัจจัยแห่ง
การงอกขึ้น
จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมวินัยไว้เป็นอย่างดี
บุคคลผู้ไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างทั่วถึง อาจจะเกิดความสงสัยว่า เพราะเหตุไร
พระองค์จึงทรงมีปฏิปทาที่ตรงข้ามกับความเป็นสัพพัญญูอย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงมี
พระประสงค์ที่ชัดเจนที่ทำให้ต้องทรงกระทำอย่างนั้น เช่น การไม่บัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า
เพราะไม่ประสงค์จะให้ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เกิดความรู้สึกอึดอัดจนไม่สามารถ
ปฏิบัติธรรมได้ เพราะต้องคอยระวังสิกขาบท เกรงว่าจะมีการล่วงละเมิด การไม่บัญญัติ
สิกขาบทไว้ล่วงหน้า จึงเป็นวิธีการชักนำคนให้เข้ามาสู่พระพุทธศาสนา ทำให้เผยแผ่
พระพุทธศาสนาได้รวดเร็ว และแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง แต่ถ้าพระพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า เพื่อหวังจะป้องกันไม่ให้เกิดการล่วงละเมิด ก็อาจถูกมองว่าเป็นการกีดกันคนให้ออกห่างจากพระพุทธศาสนา การบัญญัติ พระวินัยให้เสร็จพร้อมกันทีเดียว แม้จะเป็นวิธีการป้องกันการกระทำความผิดซึ่งจะเกิดขึ้น ในอนาคต แต่ก็เป็นการป้องกันตัวบุคคลผู้จะกระทำความผิดด้วย เพราะการกระทำเกิดขึ้นจาก
ตัวบุคคล เมื่อยังไม่มีความผิด ก็ชื่อว่าไม่มีคนผู้กระทำผิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น การที่
พระองค์ไม่ทรงบัญญัติพระวินัยให้เสร็จพร้อมกันทีเดียว จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง

ที่มา : พระมหาสายเพชร วชิรเวที(หงษ์แพงจิตร)

5,579







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย