นิพพานคืออะไร (พระราชสุทธิญาณมงคล)
นิพพาน ๒ (ดับกิเลสมีเบญจขันธ์ และดับเบญจขันธ์แตกดับ)
นิพพาน ๓ (ดับกิเลสมีเบญจขันธ์ และดับเบญจขันธ์เหลือแต่ธาตุดับธาตุสิ้นสลายหมดสิ้นไปด้วย)
นิพพาน ๔ (ความดับกิเลสของพระอริยะตามลำดับชั้น พระโสดาบัน- สกิทาคามี-อนาคามี-อรหันต์)
นิพพาน คือความเย็นทางวิญญาณ เย็นทางอารมณ์
นิพพาน คือความไม่ร้อน (เพราะถูกไฟราคัคคิ-โทสัคคิ-โมหัคคิเผา)
นิพพาน คือความสะอาดในภายใน นิพพาน คือความสว่างทางปัญญา
นิพพาน คือความสงบทางอารมณ์ นิพพาน คือความอิ่ม ไม่หิวด้วยตัณหา
นิพพาน คือความบริบูรณ์ในความปรารถนา นิพพาน คือความพ้นจากห้วงมายาของโลก
นิพพาน ไม่ดำ-ไม่ขาว-ไม่ยาว-ไม่สั้น-ไม่มีผู้หญิง-ไม่มีผู้ชาย
นิพพาน มิใช่ความตาย หรือถึงได้เมื่อตายแล้ว นิพพานไม่ใช่เมืองแก้ว
คนสามัญเปรียบเสมือนอาหารดิบ (คนดิบ-คนเถื่อน)
นิพพาน ดุจอาหารที่สุกแล้ว ผลไม้ที่สุกแล้ว
นิพพาน เปรียบประดุจภาชนะที่ขัดสีเกลี้ยงแล้วสะอาดแล้ว
นิพพาน เปรียบประดุจการนอนหลับเต็มอิ่มไม่ฝัน
นิพพาน เปรียบประดุจการเดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
นิพพาน คือภาวะความพ้นจากความเถื่อน
นิพพาน มีแต่อาการเคลื่อนไหว ตนผู้เป็นผู้โกรธเกลียดไม่มี
พ้นปุถุชน ก็ถึงอริยะ-พุทธะ / พันสังสารวัฏฎ์ ก็ถึงพระนิพพาน / พ้นมืด ก็สว่าง / พ้นโง่ ก็ฉลาด / พ้นสกปรก ก็สะอาด / พ้นโลกิยะ ก็ถึงโลกุตระ / พ้นร้อน ก็เย็น / พ้นเด็ก ก็ผู้ใหญ่ / พ้นดิบ ก็สุก / พ้นเห็นแก่ตัว ก็เสียสละ / พ้นทุกข์ ก็สุข / พ้นร้าย ก็ดี
อาลยสมุคฆาโล ผู้ละความอาลัยได้แล้ว
อนาลโย ผู้หมดความอาลัย
นิโรโธ ผู้ดับความทุกข์ได้
นิพพานัง ผู้ดับสิ่งเสียบแทงใจได้
ปิปาสวินโย ผู้ไม่กระทำบาป
มทนิมมทโน ผู้ละความเมาในวัยในชีวิตได้
วัฎภูปัจเฉโท ผู้ดับกระแสของวัฏฏะได้
ตัณหักขโย ผู้ดับตัณหา ๓ ประการได้
วิสุทโธ ผู้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์
วิมุตติ ผู้หลุดพ้นแล้ว
วิสังขาร ผู้หยุดปรุงแต่ง ผู้ที่สิ่งใดมาปรุงแต่งไม่ได้ ผู้หมดการปรุงแต่ง
อมตะ ผู้ไม่ตาย ผู้ถึงธรรมะที่ทำให้เป็นผู้ไม่ตายอีกต่อไป
ขอให้สำเร็จในสิ่งที่ต้องการ กล้าหาญในสิ่งที่ชอบ ประกอบกิจด้วยมานะ อย่าละเลยผู้มีพระคุณ เจือจุนต่อผู้ต่ำต้อย อย่าด้วยมารยา ฉลาดในการคบเพื่อน ไม่แชเชือนในการงาน อาจหาญเมื่อมีอุปสรรค พลาดแพ้เป็นครูอดสูทำไม ลุกขึ้นยืนหยัดติดขัดแก้ไข ชีพยังหายใจดิ้นไปจนได้ดี อย่าเคืองคำสอน อย่าถอนคำสั่ง จงระวังคนยุ อย่าลุอำนาจ อย่าขาดความสามัคคี อย่าดีคนเดียว อย่าเที่ยวนินทา อย่าว่าคนเมา อย่าเอาของสงฆ์ อย่าขาดปลงกรรมฐาน.
ที่มา : โดย พระเทพสิงห์บุราจารย์