"เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ" (สมเด็จพระสังฆราชฯ)

 วิริยะ12  

"โมกฺโข กลฺยาณียา สาธุ
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ"


เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๓ ขอท่านจงเป็นผู้กล่าววาจางาม เพื่อประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อเทอญ ..

ขออำนวยพร
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

+++

"วจีสุจริต"

- เว้นจากการ "พูดเท็จ"
- เว้นจากการ "พูดส่อเสียด"
- เว้นจากการ "พูดคำหยาบ"
- เว้นจากการ "พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล"

คือ แม้ว่าจะเป็นความจริง "แต่หากว่าเป็นคำส่อเสียดก่อให้เกิดความแตกร้าว" เช่น นำความข้างนี้ไปบอกข้างนั้น นำความข้างนั้นมาบอกข้างนี้ "เพื่อจะยุให้ทั้งสองฝ่ายแตกกัน" แม้จะเป็นความจริง ก็ไม่ควรพูด เพราะทำให้เขาแตกกัน เข้าในพวกส่อเสียด

"หรือแม้ว่าเป็นคำหยาบ" ไม่ได้มุ่งจะหลอกลวงให้เข้าใจผิด แต่ว่า เป็นคำหยาบคาย เช่น เป็นคำด่าว่า เป็นสัตว์ดิรัจฉาน อย่างโน้นอย่างนี้ อะไรเป็นต้น

หรือแม้วาจาอย่างอื่นซึ่งเป็นการกล่าว "กดให้เลวลง" ซึ่งทุกคนก็รู้ว่า ไม่ได้เป็นเช่นนั้นและก็ไม่ได้มุ่งที่จะหลอก แต่ว่ากล่าวด้วยความโกรธ ด้วยความเหยียดหยาม ต้องการจะกดเขาให้เลว ก็ไม่ควรพูดและแม้ว่าเป็น "คำที่เพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย" ไม่มีขอบเขตจำกัด หาสาระแก่นสารมิได้ หรือว่ามีสาระแก่นสารน้อยเกินไป ก็เป็นคำไม่ควรพูด

"วจีทุจริต"

วาจาเช่นที่กล่าวมานี้ คือ

- การพูดเท็จก็ดี
- การพูดส่อเสียดก็ดี
- การพูดคำหยาบก็ดี
- การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลก็ดี ก็นับว่าเป็น "วจีทุจริต"

คือการพูดที่เป็นทุจริตเสมอกัน เพราะฉะนั้น "แม้เป็นความจริง ก็ไม่ใช่ว่าเป็นข้อที่ควรพูดเสมอไป" ต้องอยู่ในขอบเขตอันสมควร

: ทศบารมีและทศพิธราชธรรม
: สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

5,639







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย