ของจริง ๕ ประการ

 ลูกโป่ง  



::: ของจริง ๕ ประการ :::

ของจริงนั้น หายาก แต่แล้วก็ต้องทำขึ้นถึงจะได้
ของจริงที่แท้มีอยู่ ๕ ประการ

๑. เกิดจริง
๒. แก่จริง
๓. เจ็บจริง
๔. ตายจริง
๕. พลัดพรากจากกันจริง ไม่มีกลับมาอีกแล้ว

ตามหลักพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าสอนชัดเจนมาก
หากจะฟังโดยคิดพิจารณาแล้วนั้น จะเกิดประโยชน์มาก
ปลุกกระตุ้นเตือนจิตให้เรามีสติ ให้เรามีความอดทน
เพราะธรรมชาติชีวิตนี้มีของจริง ๕ อย่าง
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ชัด
เราเกิดมาในโลกนี้ไม่วายต้องเสื่อมลงทุกวัน
การเจ็บป่วยไข้ การไม่เป็นปกติของร่างกายสังขารนั้น
ก็เป็นธรรมชาติเป็นจริงแล้ว เรียกว่าเจ็บ
เวทนาที่เราได้จากกัมมัฏฐานนี้ก็เรียกว่า เจ็บ
ก็ขอให้ญาติโยมทั้งหลายอย่างตั้งอยู่ในความประมาท
ความตายในชีวิตของเราเป็นอย่างนั้น
โลกมนุษย์นี้หาความสุขไม่ได้
เวียนตายเวียนเกิดกันตลอดเวลา
พระพุทธเจ้าจึงสอนชาวโลกให้พ้นทุกข์
อย่าสร้างทุกข์ไว้ในตัวเอง
อย่าทำตัวและคนอื่นให้เดือดร้อน
นอกเหนือจากเดือดร้อนแล้วท่านสอนไว้ชัดเจน
แต่ไม่มีใครเอามาคิดเลย
คือ ทำอะไรอย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อย่าเบียดเบียนคนอื่นเขา
เราอยู่ได้สบาย ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร
ถ้าเรายอมเสียเปรียบเขาได้ก็เป็นดี ก็จะมีความสุข
ซึ่งก็คือความสงบนั่นเอง
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
จากการกระทำของเขาเหล่านั้น
ไม่มีใครเลยที่จะไม่มีกรรม
กรรมมี ๒ อย่าง คือ กรรมดี และกรรมชั่ว
กรรมชั่วนั้นเราไม่รู้เป็นของชั่ว
ทำไปแล้วจึงรู้ว่ามันเดือดร้อนจริงๆ
กรรมดีนั้น เราก็ไม่รู้เป็นของดี
แต่ทำไปแล้วก็มีความสุข
มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตแน่นอนที่สุด
เพราะเราไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น

ฉะนั้นญาติโยมทั้งหลายอย่าประมาท
และพยายามตั้งสติอารมณ์
สร้างความเพียรให้ได้ สร้างบารมีของเรา
คนอื่นเอาบารมีมาให้เราไม่ได้
บารมีก็คือ ความเพียร
ที่เราตั้งใจเจริญพระกัมมัฏฐาน ทุกลมหายใจเข้าออก
ความจริงในชีวิตนี้ และของจริง ๕ อย่าง
วัยเสื่อมไปคือ แก่ เกิดมาแล้ววัยก็ต้องเสื่อมไปจนกระทั่งแก่
บางคนไม่ทันแก่ ก็ต้องมาตาย
คนเราในสากลโลกมนุษย์นี้ไม่ทราบว่าความดีคืออะไร
เพราะเขาไม่เคยทำ แต่เขารู้เอารัดเอาเปรียบ
มีเงินมีทองมากมาย ก่ายกองถือว่าเป็นความดี
แต่เขาหาความสุขในจิตใจไม่ได้เลย
การเจริญกัมมัฏฐานต้องการแสวงหาความสุข
เรามีความสงบมากเท่าไรจะมีความเยือกเย็นใจมากเท่านั้น


อ่านเพิ่มเติมได้ที่...
http://www.jarun.org/v6/th/lrule16p1201.html

_/l\_ _/l\_ _/l\_

5,549







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย