"ให้พิจารณาธาตุขันธ์ยามอาพาธหนัก" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

 วิริยะ12  

.
 "ให้พิจารณาธาตุขันธ์ยามอาพาธหนัก"

" .. หลวงตาฯ มักได้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจครั้งสำคัญ ๆ "เกี่ยวกับธาตุขันธ์ยามอาพาธหนัก ของครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ" เช่น คำปรารถของท่านคราวหนึ่งดังนี้ ..

"พระลูกศิษย์หลวงปู่บุดดา(หลวงปู่บุดดา ถาวโร)ได้ไปหาเราที่สวนแสงธรรม" เราได้ถามถึงอาการของหลวงปู่ท่านว่า .. "แต่ก่อนธาตุขันธ์เป็นคุณเป็นประโยชน์ ทำประโยชน์ให้โลกมามากต่อมากนานแสนนาน"

จนกระทั่งอายุปูนนี้และ "ได้เข้ามาอยู่ศิริราชแล้วเวลานี้ เพื่อจะลาขันธ์ไปเพราะขันธ์นี้ใช้ไม่ได้แล้ว นอกจากใช้ไม่ได้แล้ว ยังเป็นโทษรอบตัวอีก" ไม่มีช่องว่างของขันธ์ที่จะไม่มีโทษต่อท่าน แล้วยังจะเอาท่านไว้อย่างนั้นอยู่เหรอ? .. "สมควรแล้วหรือ ให้ลูกหลานไปพิจารณานะ"

นี่อาจารย์ชา(หลวงปู่ชา สุภัทโท)ก็เป็นอย่างนี้ละเราบอกตรง ๆ เลย "อาจารย์ชาก็เกี่ยวกับเราอีกเหมือนกัน คุ้นกันมาเท่าไรแล้ว แล้วนี่หลวงปู่บุดดาก็เหมือนกัน" คุ้นกันมานาน สนิทสนมกันมากทั้งสององค์นี่กับเรานะ "หลวงปู่บุดดาท่านเหมือนปู่เรานี่จะว่าไง" พอเร่าเข้าไปกราบที่ตักท่าน ท่านก็ อู๊ยจับโน้นลูบนี้ จับนั้นจับนี้เรานะ ท่านทำด้วยความเมตตาจริง ๆ แหละ

ท่านยังยกยอต่อลูกศิษย์ลูกหาของท่านเองด้วย เขาเอาเทปเราไปเปิดให้ท่านฟังกัณฑ์เด็ด ๆ เสียด้วยนะ .. ลูกศิษย์มาเล่าให้ฟัง ท่านพูดเวลาเทศน์จบลงแล้ว ท่านว่า .. "ได้ยินชื่อท่านมานานแล้วแหละท่านมหาบัวนี่ คุ้นกันมาสักเท่าไรแล้วยังไม่รู้อยู่เหรอว่าคุ้นกัน .. จะมาเล่าอะไรให้ฟังอีกล่ะ"

ที่นี่เมื่อพระมาหาเรา .. เราก็ฝากข้อคิดไปว่า "เวลานี่ขันธ์ไม่เป็นประโยชน์กับท่านแล้ว ลูกศิษย์หวังจะชื่นชมยินดีเพราะไฟ คือธาตุขันธ์เผาไหม้ท่านอยู่อย่างนี้ สมควรแล้วเหรอ .. เวลานี้ไฟขันธ์เผาตลอด ไม่มีว่างเลย .. ใหไปพิจารณานะ"

อาจารย์ชา(หลวงปู่ชา สุภัทโท) เป็นลักษณะนี้มาหลายปี ถามที่ไรก็เป็นอย่างนี้ ก็พอดีพระหนองป่าพงไปหาเราที่สวนแสงธรรม "เอากันใหญ่เชียวคราวนั้น เปรี้ยงที่เดียวอัดเทปเอาไว้เสร็จ พอเสร็จแล้วเขาก็เอาเทปไปเปิดเมืองอุบลฯ เลย" เอาไปตั้งกึ๊กลงที่วัดหนองป่าพงเลย บรรดาลูกศิษย์ลูกหาท่านมารวมนั้นหมด ผู้ว่าฯ เป็นผู้นำเทปไปเปิด

"เอ้า ใครที่นี้ฟังนะ เทศน์นี้เทศน์อาจารย์มหาบัว" ท่านอาจารย์มหาบัวกับท่านอาจารย์ชาสนิทกันมานานสักเท่าไรแล้วฟังท่านจะพุดวันนี้นะ พอว่าอย่างนั้นก็เปิดทันที ..ได้เห็นผิว ๆ เผิน ๆ ได้เห็นท่านอยู่นั้นก็พอใจ "ท่านจะมาห่วงอะไรในธาตุขันธ์อันนี้ เมื่อเห็นว่าเป็นไฟพอแล้วยังจะมาห่วงอะไรอีก ห่วงไฟเผาเจ้าของนั้นมีอย่างเหรอ" .. ท่านพร้อมอยู่แล้วที่จะดีด ตั้งแต่ระยะช่วยตัวเองไม่ได้แล้วนั่น ..

"ครูบาอาจารย์จะตายแล้วไม่ยอมให้ไป ไม่ให้ตาย เอาไฟจี้ไว้อย่างนั้นระโยงระยางเต็มไปหมด" ออกซิเจนช่วยลมหายใจ ช่วยลมหายใจอะไร "ช่วยไฟเผาว่างั้นจึงถูกนะ" ถ้าเอาอันนี้ออกแล้วไฟก็หยุดเผา ท่านก็ดีดออกแล้ว นั่น คุณก็เห็นอยู่อย่างชัด ๆ โทษก็เห็นอยู่ชัด ๆ อย่างงั้น ถ้าอันนี้จ่อไว้ตลอดเวลา ก็เผาตลอดอยู่นั้นจะว่าไง พอเปิดออกนี้ก็ดีดออกแล้ว นั่นเห็นชัด ๆ อยู่

"ถ้าพูดถึงเรื่องของหมอ เขาก็ทำตามหลักวิชาของหมอ" เหตุผลเรามียังไง อรรถธรรมมียังไง ปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์ก็ควรชี้แจ้งให้เขาเข้าใจ "ควรปล่อยก็ปล่อยซิ เอาไว้ให้ใคร มันไม่เกิดประโยชน์ยังไม่แล้ว ยังเป็นโทษอย่างหนักหนาทีเดียว" ใครจะเอาไฟมาเผามาจี้ไว้อย่างนี้ทั้งวันได้เหรอ นี่ไม่ทราบว่าทั้งวันทั้งคืนทั้งปีอะไร จี้เผาหมดรอบ ๆ ตัว

"เรื่องธาตุเรื่องขันธ์ก็ทราบกันอยู่แล้ว ตั้งแต่ยังไม่ตายก็รู้อยู่แล้ว" ก็เครื่องมือเครื่องใช้เฉย ๆ มีจิตเป็นผู้บงการ พอจิตหดตัวเข้ามาเสียแล้ว "สิ่งเหล่านี้ก็เป็นท่อนไม้ท่อนฟืนไปเท่านั้น เกิดประโยชน์อะไร" ก็เหมือนกับเครื่องมือเราทิ้งเกลื่อนอยู่รอบตัวนี้ ก็ไม่เกิดประโยชน์เมื่อเจ้าของใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้แล้ว .. "นั่นแหละ เรียนจิตให้เห็นอย่างนั้นซิ เห็นชัดเจนแล้วจะถามใคร" .. ประจักษ์อยู่ในหัวใจเจ้าของแล้วพอทุกอย่าง ..

นี่เอาศพท่านกลับคืนไปโน้นนะ วัดกลางชูศรี "ท่านเป็นพระเพชรน้ำหนึ่งนะนี่ หลวงปู่บุดดานี่เพชรน้ำหนึ่ง อาจารย์ชาก็เหมือนกัน ท่านเหล่านี้เพชรน้ำหนึ่ง" แล้วจะมาหวงมาห่วงอะไร ธาตุขันธ์เป็นไฟนั่น .. เรายังไม่ลืมหลวงปู่ขาว(หลวงปู่ขาว อนาลโย) ท่าน "เวลาท่านกำลังเพียบ คือท่านไม่ให้ใส่ออกซิเจน" ท่านไม่ให้เอาใส่ แล้วพวกนั้นก็เอาไว้ข้างนอก "คือท่านห้ามไม่ให้เอาใส่ เราเห็นด้วยร้อยเปอร์เซนต์"

ไปยุ่งกับท่านทำไม ที่นี่พอเอาไปจ่อถูกท่าน .. ทั้ง ๆ ที่ท่านก็เพียบอยู่แล้วนะ "ท่านยังปัดมือปั๊บออกเลย" ขนาดหลวงปู่ขาวแล้วท่านจะมีปัญหาอะไร ว่างั้นเลย "จะตายท่าไหนก็ตายซิ ท้าทายก็ได้ เอหิปัสสิโก ท้าทายธรรมของจริงได้" .. ดีดผึงเดียวไปเลย ว่าจะไม่อยู่แล้วไม่อยู่ มันก็หมดแล้วนะนี่ พระประเภทเพชรน้ำหนึ่ง ๆ หมดไป ๆ .. "

"หยดน้ำบนใบบัว" ๒๐๙ - ๒๑๒
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
 

5,582







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย