|
|
พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน
พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายื่นออกมาข้างหน้า
เป็นกิริยาทรงรับหญ้าคา บางแบบทำเป็นพระอิริยาบถทรงถือหญ้าคาก็มี
บางแบบมีรูปพราหมณ์กำลังยื่นหญ้าคาถวายด้วย
ความเป็นมาของปางรับหญ้าคา
|
พระบรมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นถาดทองลอยทวนกระแสน้ำดังอธิษฐานจึงทรงโสมนัส
( ดีใจ ) เสด็จสู่ร่มสาละ ครั้นถึงเวลาบ่ายได้เสด็จกลับไปยังอัสสัตถโพธิพฤกษ์มณฑล
( ร่มโพธิ์ ) ระหว่างทางได้พบกับโสตถิยพราหมณ์ ถือหญ้ากุสะ
( หญ้าคา ) ๘ กำ เดินสวนทางมา โสตถิยพราหมณ์เลื่อมใสในพระสิริที่งามสง่าของพระบรมโพธิสัตว์
จึงน้อมถวายหญ้ากุสะทั้ง ๘ กำ |
|
|
พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร
วัดนิเวศธรรมประวัติ ราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์
( แข้ง ) หงายฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฝ่าพระหัตถ์วางหงายซ้อนกันบนพระเพลา
( ตัก ) พระหัตถ์ขวาทับบนพระหัตถ์ซ้าย
ความเป็นมาของปางสมาธิเพชร
|
หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์รับหญ้าคาจากโสตถิยพราหมณ์แล้ว
ทรงนำไปปูต่างบัลลังก์ ณ ควงไม้อัสสัตถโพธิพฤกษ์ แล้วประทับ
( นั่ง ) ขัดสมาธิ อธิษฐานว่า "เนื้อและเลือดในสรีระนี้
แม้จะเหือดแห้งไปหมดสิ้น จะเหลือแต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที
ถ้าเรายังไม่บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณก็จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้" |
|
|
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา
( ตัก ) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ ( เข่า ) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี
บางแห่งทำรูปแม่พระธรณีนั่งบีบมวยผมประกอบ นิยมสร้างเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
ขณะที่พระบรมโพธิสัตว์ประทับ
ณ โพธิบัลลังก์ พญามารวสวัตตีประทับบนหลังช้างคีรีเมฃล์สูง
๑๕๐ โยชน์ ยกทัพมาหมายจะทำลายความเพียรของพระองค์ พญามารเนรมิตร่างสูงใหญ่มีมือนับพันถือศัสตราวุธพร้อม
นำเหล่าเสนามารมากมายมืดฟ้ามัวดิน เหล่าเทวดาทั้งหลายหนีไปหมด
แต่พระบรมโพธิสัตว์มิได้หวาดกลัว พวกมารซัดศัสตราวุธเข้าใส่พระบรมโพธิสัตว์
แต่ศัสตราวุธเหล่านั้นกลายเป็นบุปผามาลัยไปสิ้น พญามารยังกล่าวทึกทักว่า
รัตนบัลลังก์เป็นของตน พระบรมโพธิสัตว์ ทรงกล่าวว่า รัตนบัลลังก์นี้เกิดมาด้วยบุญที่พระองค์สั่งสมมาแต่ปางก่อน
โดยอาศัยแม่พระธรณีเป็นพยาน แม่พระธรณีได้ปล่อยมวยผมบีบน้ำ
กรวดอุทิศผลบุญจากการทำทานของพระบรมโพธิสัตว์ให้ไหลพัดพาเหล่ามารไปจนสิ้น |
|
|
๑๔.ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้
|
พระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางตรัสรู้
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ
(นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา
(ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
ความเป็นมาของปางเสวยมธุปายาส
|
หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์มีชัยชนะเหนือพญามารแล้ว
ทรงบำเพ็ญสมาธิต่อไป เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากอุปกิเลสแล้ว
ในปฐมยามทรงบรรลุปุพพเนิวาสานุสติญาณ คือ ระลึกชาติได้หลายชาติไม่มีที่สิ้นสุด
ในมัชฉิมยามทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ คือ สามารถหยั่งรู้การเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ว่า
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วตายไป ประสบสุขและทุกข์ตามกรรมที่ทำไว้
และในปัจฉิมยามพระองค์ทรงบรรลุอากาสวักขยญาณ ทรงทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้ดับสิ้นไป
จนได้บรรลุอนุตรสัมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในเวลารุ่งอรุโณทัย ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ หรือขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปัจจุบันอยู่ในตำบลพุทธคยา
ประเทศอินเดีย |
|
|
พระพุทธรูปปางถวายเนตร
วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืน
ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา
(ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมอยู่บนพระหัตถซ้าย อยู่ในอาการสังวรทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์
หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์ได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ประทับเสวยวิมุดติสุข
(สุขที่เกิดจากความหลุดพ้น) ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๗ วัน
จากนั้นเสด็จไปทรงยืนอยู่กลางแจ้ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์
ทรงทำอุปหาร คือ ยืนทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์ สถานที่เสด็จมาทรงยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นได้นามว่า
"อนิมิสเจดียสถาน" |
ข้อมูล/ภาพ
: หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ
ใจภักดี |
|