|
|
พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ
วัดสุทัศนเทพวาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ
(นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น
ฝ่าพระหัตถ์แบ นิ้วพระหัตถ์งองุ้มลงเล็กน้อย
ความเป็นมาของปางประทานเอหิภิกขุ
|
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเสร็จแล้ว
โกณฑัญญพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลและทูลขออุปสมบท
พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้โกณฑัญญพราหมณ์เป็นภิกษุด้วยพระวาจา
ความว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"
ซึ่งถือเป็นการบวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนา
และเป็นผลให้เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๓ ประการ ในวันอาสาฬหบูชา
หรือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นี้ คือ ( ๑ ) พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
( ๒ ) มีพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ( ๓ ) พระรัตนตรัย
คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บังเกิดขึ้นครบองค์สามเป็นครั้งแรก |
|
|
พระพุทธรูปปางภัตกิจ
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ
( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตรซึ่งวางอยู่บนพระเพลา
( ตัก ) พระหัตถ์ขวาหย่อนลงในบาตร เป็นกิริยาเสวย
ยสกุลบุตรผู้หนีความวุ่นวายในเรือน
ออกมา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนได้ดวงตาเห็นธรรม
เป็นพระโสดาบัน ต่อมาพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดบิดาของยสกุลบุตรได้แสดงตนเป็นอุบาสกขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งคนแรกในพระพุทธศาสนา
การเทศนาครั้งที่ ๒ นี้ ยังผลให้ยสกุลบุตร ผู้นั่งฟังอยู่ด้วยบรรลุอรหัตผล
พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ยสกุลบุตร วันต่อมาทรงรับนิมนต์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านบิดาพระยสะ
นับเป็นครั้งแรกที่เสด็จไปเสวยภัตตาหารตามบ้านและได้ทรงแสดงธรรมโปรดมารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ
จนได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันและขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งเป็นอุบาสิกาคู่แรกในพระพุทธศาสนา
|
|
|
พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร
วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน
ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้า เสมอพระอุระ
( อก ) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง
ความเป็นมาของปางห้ามสมุทร
|
ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ทรงขอประทับอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นหัวหน้าชฎิลซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของมหาชนในแคว้นมคธ
ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นานับประการเพื่อให้อุรุเวลกัสสปะคลายความพยศลง
พระองค์ทรงทำปาฏิหาริย์ห้ามน้ำที่ไหลบ่ามาจากทุกสารทิศมิให้เข้ามาในที่ประทับ
และเสด็จจงกลมภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง เหล่าชฎิลพายเรือมาดู
เห็นเป็นอัศจรรย์ จึงยอมรับในพุทธานุภาพ และขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ
|
|
|
พระพุทธรูปปางห้ามญาติ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน
แบพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ ( อก ) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม
เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร นิยมทำแบบพระทรงเครื่อง
ครั้งหนึ่งเหล่ากษัตริย์ศากยวงศ์
พระญาติฝ่ายพุทธบิดา และเหล่ากษัตริย์โกลิยวงศ์ พระญาติฝ่ายพุทธมารดา
ทะเลาะวิวาทกันเพราะเรื่องแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเนื่องจากฝนแล้ง
น้ำไม่เพียงพอ การทะเลาะวิวาทลุกลามไป จนเกือบกลายเป็นศึกใหญ่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบเหตุด้วยพระญาณ จึงเสด็จไปห้ามสงคราม
โดยตรัสให้เห็นถึงความไม่สมควรที่กษัตริย์ต้องมาฆ่าฟันกันด้วยสาเหตุเพียงแค่การแย่งน้ำเข้านา
และตรัสเตือนสติว่า ระหว่างน้ำกับความเป็นพี่น้อง อะไรสำคัญยิ่งกว่ากัน
ทั้งสองฝ่ายจึงได้สติ คืนดีกัน และขอพระราชทานอภัยโทษต่อเบื้องพระพักตร์พระพุทธองค์ |
|
|
๓๐.ปางปลงกัมมัฏฐานหรือปางชักผ้าบังสุกุล
|
พระพุทธรูปปางปลงกัมมัฏฐานหรือปางชักผ้าบังสุกุล
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน
พระหัตถ์ซ้ายทรงธารพระกร ( ไม้เท้า ) ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไปข้างหน้า
ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ เป็นกิริยาชักผ้าบังสุกุล บางแห่งสร้างแบบพระหัตถ์ซ้ายห้อยลงทาบที่พระเพลา
( ตัก )
ความเป็นมาของปางปลงกัมมัฏฐานหรือปางชักผ้าบังสุกุล
|
ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีพระประสงค์จะนำผ้าขาวที่ห่อศพมาซักย้อมเป็นผ้าสังฆาฏิ
จึงเสด็จไปพิจารณาปฏิกูลสัญญา แล้วทรงชักผ้าบังสุกุลและนำมาซักตากให้หมดกลิ่นซากศพ
แล้วเย็บเป็นจีวร ในพุทธประวัติเล่าว่าท้าวสักกเทวราชเสด็จลงมาช่วยทำจีวร
ตักแต่ซัก ตาก และเย็บเสร็จภายในคืนเดียว ผ้าจีวรผืนนี้พระพุทธองค์ทรงนำมาทำผ้าสังฆาฏิ
ภายหลังได้ประทานผ้าผืนนี้แก่พระมหากัสสปะ ผู้เป็นเอตทัคคะด้านถือธุดงค์ |
ข้อมูล/ภาพ
: หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ
ใจภักดี |
|