ค้นหาในเว็บไซต์ :

ศีล ๒๒๗

ศีล ๒๒๗ ศีลสำหรับพระภิกษุ หรือ ภิกขุปาฎิโมกข์ ประมวลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุ มี ๒๒๗ ข้อ

สรุป สิกขาบท 227 ข้อ

พระวินัย 227 ข้อ ของพระ เป็นกฎหมายหรือข้อห้ามของ พระภิกษุสงฆ์เถรวาท ตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิ พรหมจาริยกาสิกขา พระวินัย 227 บท ในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนด ไม่พึงละเมิดไว้ เพื่อความเป็น ระเบียบ เรียบร้อย ของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อ ต่อการ ประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วง ละเมิด ร้ายแรงที่สุด ถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์

พระวินัย 227 บท ไม่ใช่ศีลแต่เรียกว่า พระวินัย ผู้ทำผิดศีลเรียกว่า ล่วงพระวินัย เป็น อาบัติ ระดับชั้นต่าง ๆ ตามความหนักเบา สามารถแบ่งระดับอาบัติออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด

ในอาบัติระดับเบาจะต้องมีการเผยความผิด อาบัติ ระดับเบาเช่น ปาจิตตีย์ สามารถแก้ได้ โดยกล่าวแสดง ความผิดของตน กับพระภิกษุรูปอื่น เพื่อเป็นการแสดง ถึงความสำนึกผิด และเพื่อจะตั้งใจประพฤติ ตนใหม่ หรือที่เรียกว่า การแสดงอาบัติ, ปลงอาบัติ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกย่อมขาดจากความเป็นพระ และไม่สามารถบวช เป็นพระสงฆ์ได้อีก ซึ่งพระวินัย ไม่ใช่ศีล แต่เป็นเสมือนกฎหมายของพระภิกษุ

แต่หากจะกล่าวถึงศีลพระนั้น มีเพียง 43 ข้อ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จึงจะเป็นศีลพระที่แท้จริงตามพุทธบัญญัติ

1 ปาราชิก มี ๔ ข้อ เช่น เสพเมถุน อวดอุตริ ลักทรัพย์ ฆ่าคน
2 สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ เช่น อสุจิเคลื่อน ต้องสตรี ยุสงฆ์ให้แตก
3 อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อ นั่งในที่ลับตากับสตรี นั่งในที่ลับหูกับสตรี
4 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ รับเงินและทอง ซื้อขายด้วยเงินทอง ขอบาตร
5 ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ พูดปด ด่า ส่อเสียด ขุดดิน ทำลายต้นไม้
6 ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ ห้ามรับอาหารในบางกรณี
7 เสขิยะ สารูป มี ๒๖ ข้อ เรื่องความสำรวม ไม่เวิกผ้า ไม่พูดดัง หัวเราะดัง
8 โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อ หลักในการฉันท์อาหาร ไม่ฉันท์ดัง ไม่เลียมือ
9 ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ ๑๖ ข้อ เรื่องการแสดงธรรม เช่นไม่แสดงแก่คนนอน
10 ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ ไม่ยืนปัสสาวะ ถ่ายอุจจาระ ไม่บ้วนน้ำลายลงน้ำ
11 อธิกรณ์สมณะ การพิจารณาความของสงฆ์
รวมสิกขาบท 227

หนังสือภิกขุปาฏิโมกข์-บาลี-ไทย



ที่มา : พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) - พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, http://anakame.com/page/1_Sutas/400/467.htm






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย