กรรม

  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๗ : พุทธบุพกรรม ( ตอน ๑ )
  โ ด ย : ธ ร ร ม ะ ไ ท ย

พุทธบุพกรรมหมายถึงกรรมเก่าที่พระพุทธเจ้าได้เคยกระทำไว้ในสมัยที่บารมียังอ่อนอยู่ บางภพบางชาติพระองค์ก็เคยประมาทพลาดพลั้งทำกรรมอันเป็นบาปไว้ และพอมาชาตินี้ หลังจากที่ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเศษกรรมนั้นก็ยังตามมาให้ผลหลายครั้งหลายหนด้วยกัน

ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้มีปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย พุทธาปทาน ปุพพกรรมปิโลติที่ ๑๐ ข้อ ๓๙๒ แสดงไว้ว่า

ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สระใหญ่อโนดาต ได้ตรัสเล่าถึงอกุศลบุพกรรมโดยมีใจความว่า

"ภิกษุทั้งหลายเธอจงฟังกรรมที่เราได้ทำแล้วในอดีตในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาลต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัวจึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นมาในชาตินี้ แม้เรากระหายน้ำก็ไม่ได้ดื่มตามความปรารถนา"

เหตุการณ์ตอนนั้นก็คือตอนที่พระพุทธเจ้ากำลังจะเสด็จเพื่อไปปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ระหว่างทางรู้สึกกระหายน้ำเป็นกำลังจึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำที่ลำธารมาให้ แต่ก็ไม่สามารถได้ดื่มในทันทีทันใด เนื่องจากเกวียน ๕๐๐ เล่ม เพิ่งผ่านลำธารไป ทำให้น้ำบริเวณนั้นขุ่น

เราดูเหตุที่สร้างไว้เราอาจจะคิดว่าเป็นเหตุเพียงเล็กน้อย แต่ขึ้นชื่อว่าบาปกรรมแล้ว แม้เพียงเล็กน้อยก็ให้ผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อนเสมอ...






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย