กรรม

  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๑๔ : หลักกรรมสำหรับคนสมัยใหม่ ( ๑๕ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

"... สืบเนื่องจากเรื่องมโนกรรมนั้น ก็ทำให้ต้องมาศึกษาเรื่องจิต จิตใจของคนเรานี้ คิดนึกอะไรต่ออะไร สิ่งที่พูดและทำก็เป็นไปตามจิตใจ

แต่จิตใจเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อน บางครั้งและในเรื่องบางอย่าง เราบอกไม่ถูกด้วยซ้ำว่า ตัวเราเองเป็นอย่างไร บางทีเราทำอะไรไปสักอย่าง เราบอกไม่ถูก ว่าทำไมเราจึงทำอย่างนี้ เพราะ ว่าจิตใจนั้น มีความสลับซับซ้อนมากตามหลักพุทธศาสนานั้น มีการแบ่งจิตเป็น ๒ ระดับ คือ
จิตระดับวิถี กับ จิตระดับภวังค์

จิตระดับภวังค์ เป็นจิตที่เป็นองค์แห่งภพ เป็นระดับที่เราไม่รู้ตัว เรียกว่า จิตไร้สำนึกภพจะเป็นอย่างไร ชีวิตแท้ๆที่กรรมออกผลจะเป็นอย่างไรนั้น อยู่ที่ภวังค์ แม้แต่จุติ-ปฏิสนธิก็เป็นภวังคจิตฉะนั้น เราจะมาพิจารณา เฉพาะจิตในระดับที่เรารู้สำนึกกันนี้ไม่ได้

การพิจารณาเรื่องกรรมนี้ จะต้องลึกลงไปถึงขั้นจิตต่ำกว่าสำนึกลงไป อย่างที่เราใช้ศัพท์ว่า ภวังค์ ในจิตวิทยาสมัยนี้ ก็มีหลายสาขา หลายสำนัก ซึ่งมีกลุ่มสำคัญ ที่เขาศึกษาเรื่องจิตแบบนี้เหมือนกัน เขาแบ่งจิตเป็น จิตสำนึก กับ จิตไร้สำนึก จิตสำนึกก็คือจิตที่รู้ตัวที่พูดสิ่งต่างๆ ทำสิ่งต่างๆ อย่างที่รู้ๆกันอยู่ เรียกว่า "จิตสำนึก"

แต่มีจิตอีกส่วนหนึ่ง เป็นจิตไร้สำนึก ไม่รู้ตัว จิตที่ไร้สำนึกนี้ เป็นจิตส่วนใหญ่ของเราเขาเทียบเหมือนภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ในน้ำ น้ำแข็งส่วนที่อยู่ใต้น้ำมีมากกว่า และมากกว่าเยอะแยะด้วย ส่วนที่โผล่มามีนิดเดียว คือจิตสำนึกที่เรารู้ตัวกันอยู่พูดจากันอยู่นี้ แต่ส่วนที่ไม่รู้สำนึก หรือไร้สำนึกนั้น เหมือนก้อนน้ำแข็งที่อยู่ใต้พื้นน้ำ ซึ่งมีมากกว่าเยอะแยะ เป็นจิตส่วนใหญ่ของเราการศึกษาเรื่อง จิตนั้น จะต้องศึกษาไปถึงขั้นจิตไร้สำนึก ที่เป็นจิตส่วนใหญ่มิฉะนั้นแล้วจะรู้นิดเดียวเท่านั้นเอง

การพิจารณาเรื่องกรรมก็จะต้องเข้าไปให้ถึงจุดนี้ ในเรื่องไร้สำนึกนี้ มีแง่ที่เราควรรู้อะไรบ้าง ?

แง่ควรรู้ที่หนึ่ง คือที่บอกว่า สิ่งที่เราได้รับรู้เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เหล่านี้ จิตจะบันทึก เก็บไว้หมด ไม่มีลืมเลย นี้เป็นแง่ที่หนึ่ง ตามที่เข้าใจกันธรรมดานี้เราลืมสิ่งทั้งหลายที่ได้ประสบนั้น เราลืมเยอะแยะ ลืมแทบทั้งหมด จำได้นิดเดียวเท่านั้นเอง นี่เป็นเรื่องของจิตสำนึก แต่ตามความเป็นจริง ความจำเหล่านั้นยังคงอยู่ในจิตไร้สำนึก สิ่งที่ประสบทราบคิดนึกทุกอย่าง ตั้งแต่เกิดมา มันจำไว้หมด แล้วถ้ารู้จักทำดีๆ ก็ดึงเอามันออกมาได้ด้วยนักจิตวิทยาบางสมัยสนใจเรื่องการสะกดจิตมาก เพราะเหตุผลหลายอย่างเหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อสะกดจิตแล้ว ก็สามารถที่จะทำให้คนนั้นระลึกเอาเรื่องราวเก่าๆ สมัยเด็ก เช่น เมื่อ ๑ ขวบ ๒ ขวบ เอาออกมาได้ ซึ่งแสดงว่าประสบการณ์เหล่านั้น ไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่หมด นี้เป็นแง่ที่หนึ่ง" เมื่อเราพอเข้า ใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า "จิตไร้สำนึก" แล้ว






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย