ธุดงควัตร
๘ : ธุดงค์วัตร ๑๓ อยู่ป่าเป็นวัตร

ศ า ส น พิ ธี : ธุดงควัตร
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๘ : ธุดงค์วัตร ๑๓ อยู่ป่าเป็นวัตร



คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ อารัญญิกงฺคํ สมาทิยามิ
เรางดเสนาสนะชายบ้านเสีย สมาทานองค์แห่งผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร


วิธีปฏิบัติ พึงละเสนาสนะชายบ้านเสีย พักอยู่ในป่าจนถึงอรุณของวันใหม่ (ถ้าเราสมาทาน คืนเดียว) ต้องไกลบ้านคน ๕๐๐ เมตร เป็นอย่างน้อย

ประเภทของธุดงค์

๑. ผู้ถืออย่างอุกฤษฏ์ ต้องรับอรุณในป่าตลอดกาล ทั้งปวง
๒. ผู้ถืออย่างกลาง ย่อมได้เพื่อจะอยู่ตลอก ๔ เดือน ฤดูฝน
๓. ย่อมได้เพื่อจะอยู่ตลอด ๔ เดือน ฤดูเหมันต์ด้วย

ความแตกทำลายของธุดงค์ข้อนี้ ก็เมื่ออารัญญิกภิกษุทั้ง ๓ พวกนี้มาแต่ในเวลาที่ได้กำหนด ไว้แล้วอย่างไร ฟังธรรมอยู่ในเสนาสนะชาบบ้านแม้อรุณขึ้นธุดงค์ก็ไม่แตก ฟังธรรมแล้วไป แม้อรุณระหว่างทางธุดงค์ก็ไม่แตก แต่ถ้าเมื่อพระธรรมกถึกลุกขึ้นแล้วเธอคิดว่านอนสักครู่แล้ว จักไป ดังนี้ นอนเสียจนอรุณขึ้นหรือยังอรุณให้ตั้งงขึ้นในเสนาสนะชายบ้านตามชอบใจ ธุดงค์ ย่อมแตกขาดแล

อานิสงส์

๑. อารัญญิกภิกษุทำความสำคัญว่าป่าไว้ในใจอยู่ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อจะได้สมาธิที่ไม่ได้บ้าง เพื่อจะรักษาสมาธิที่ได้ไว้แล้วบ้าง
๒. แม้ศาสดาก็ชื่นชมต่อเธอ
๓. อันตรายทั้งหลาย มีรูปที่ไม่เป็นสัปปายะเป็นต้น ย่อมไม่รบกวนจิตของเธอผู้อยู่ในเสนา สนะอันสงัด
๔. เธอย่อมหายความสะดุ้งกลัว
๕. ย่อมละความเยื่อใยในชีวิตได้
๖. ย่อมยินดีรสแห่งความสุขอันเกิดแต่ความวิเวกนั้น
๗. แม้ความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นต้น ย่อมเป็นภาวะที่เหมาะแก่เธอด้วย




หัวข้อย่อย + ธุดงควัตร

อุปสมบทวิธีและการรักษาอุโบสถศีล



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย