วิธีการบวชในครั้งนั้น เป็นวิธีการบวชแบบง่ายๆ โดยการบวชด้วย "เอหิภิกขุ จะระ พรหมมะ
จะริยัง ทุกขัสสะ อันตะกิริยายะ" บอกว่าเธอจงเป็นพระภิกษุ เธอจงปฏิบัติพรหมจรรย์เพื่อหลุด
พ้นจากความทุกข์เถิด
การบวชนี้ เป็นการบวชครั้งแรกในองค์การพระพุทธศาสนา เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสมบท แล้ว
ต่อมาพระองค์ก็ทรงสอนให้ปัญจวัคคีย์ อีก ๔ รูป ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้บรรลุ ผล และมี
สานุศิษย์เพิ่มอีก ๖๐ รูป
เมื่อพระองค์ทรงแลเห็นว่า มีสานุศิษย์พอที่จะออกปฏิบัติงานเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ได้แล้ว พระองค์ก็กล่าวกับเหล่าสานุศิษย์นั้นว่า "เธอทั้งหลาย พ้นจากบ่วงอันเป็นของทิพย์ พ้น
จากบ่วงอันเป็นของมนุษย์ เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชนเพื่อ
อนุเคราะห์แก่ชาวโลก จงสอนธรรมอันไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแก่เขา"
เหล่าสานุศิษย์ทั้งหลาย เมื่อได้รับคำสั่งก็ออกไปสั่งสอนประชาชนจนมีประชาชนหลายคนอยาก
บวช ท่านเหล่านั้นไม่รู้จะบวชให้โดยวิธีใดจึงพากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอให้พระองค์ทรง
บวชให้ พระองค์เห็นว่ามันเป็นเรื่องที่ลำบากในการที่จะต้องพากันเดินทางมาพบพระองค์ จึง
อนุญาตการบวชไปว่า "ต่อไปนี้ผู้ที่ศรัทธาจะบวชในพระพุทธศาสนา ให้โกนผม โกนหนวด ตัด
เล็บมือ เล็บเท้า แล้วเข้ากราบอาจารย์ เปล่งวาจาว่า ..พุทธธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง
คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ... สามครั้ง" ชื่อว่ารับรองให้เป็นพระแล้ว นี่ถือเป็นการบวช
ประเภทที่ ๒ เรียกว่าการบวชด้วยวิธี "ติสรณคมนูปสัมปทา"
อยู่ต่อมาวันหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรวจดูว่ามีผู้ใดเป็นทุกข์บ้าง ซึ่งเป็นกิจวัตรของพระองค์ที่ต้อง
ทำทุกวันตอนใกล้รุ่ง ก็พบว่ามีพราหมณ์อยู่คนหนึ่งอยากที่จะบวช แต่ไม่มีผู้ใดบวชให้ พระองค์
จึงเดินทางไปพบกับพราหมณ์ผู้นั้นและถามไถ่ถึงความทุกข์ของพราหมณ์ผู้นั้น และเมื่อพระ
องค์ได้ทราบถึงถึงความทุกข์นั้นแล้ว จึงเรียกประชุมสงฆ์พร้อมกันทั้งหมด และถามว่าผู้ใดเคย
ได้รับการอุปการะพราหมณ์ผู้นี้บ้าง พระสาลีบุตรได้ตอบว่า ตนเองนั้นได้รับความอุปการะจาก
พราหมณ์ผู้นี้ พระองค์จึงทรงให้พระสาลีบุตรบวชให้พราหมณ์ผู้นั้น พระสาลีบุตรถามว่า จะ
ให้บวชในรูปใด? พระองค์ทรงตอบว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะบัญญัติวิธีการบวชไว้ให้
คณะสงฆ์เป็นผู้ทำได้ ซึ่งบัญญัตินั้นก็มีว่า "ในกาลต่อไป ให้พระสงฆ์ทั้งหลายประชุมกัน ถ้าใน
ถิ่นที่มีพระมากกว่า ๑๐ รูป ถ้ามีพระน้อย อย่างน้อยก็ ๕ รูป ประชุมกัน แล้วให้พระรูปหนึ่งเป็น
พระอุปัชฌาย์เป็นผู้นำเข้ามาให้สงฆ์พิจรณารับรองการบวช และเมื่อได้พิจรณาแล้วไม่มีข้อควร
ตำหนิ ไม่มีข้อบกพร่องด้วยประการใดๆ ก็ให้รับไปบวชเป็นพระได้ การบวชแบบนี้เรียกว่า
"ญัตติจตุตถกรรม" แต่ถ้ามีพระภิกษุองค์ใดเกิดคัดค้านขึ้นว่าไม่ได้ ก็บวชไม่ได้
เมื่อพระองค์ทรงเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ พระญาติได้ขอบวชด้วยหลายคน อานนท์ซึ่งเป็นน้อง
ชายก็ถูกพระองค์นำมาบวชด้วย ทั้งๆที่ไม่ได้ตั้งใจ ทำให้พระสุทโธทนะผิดหวังเนื่องจากพระ
องค์ต้องการที่จะให้อานนท์นันทะเป็นพระราชาสืบต่อจากพระองค์ แต่ก็มิได้กล่าวว่าอะไร คิด
ในใจว่ายังมีราหุลอีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นหลาน จะให้เป็นพระราชาแทนต่อไป
ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงออกบิณฑบาตที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาได้ให้ราหุลไปขอราช
สมบัติจากพระองค์ พระองค์ทรงนึกในพระทัยว่า จะมอบราชสมบัติที่เป็นวัตถุเงินทองก็เป็น
ความทุกข์แก่บุตร ควรให้อริยทรัพย์แก่บุตรจะดีกว่าเพราะจะไม่ทำให้มีความทุกข์ ซึ่งถือว่า
เป็นการมอบทรัพย์อันยิ่งใหญ่แก่บุตร จึงบอกพระสาลีบุตรว่าให้นำราหุลไปบวชเป็นสามเณร
ถือเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา
พระเจ้าสุทโธทนะจึงร้อนใจเป็นอย่างมาก จึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าขอพรจากพระองค์ พระ
พุทธเจ้าถามว่าขอพรอะไร พระเจ้าสุทโธทนะก็ว่าต่อไปนี้จะบวชให้ใครก็ขอให้พ่อแม่เขาอนุ
ญาตเสียก่อน พระองค์ก็ทรงอนุญาติและได้บัญญัติว่า "ผู้บวชต้องได้รับอนุญาติจากพ่อแม่ก่อน
ผู้ใดมาบวชต้องถูกถามว่า "อนุญญาโตสิ... พ่อแม่อนุญาตหรือเปล่า" ถ้าพ่อแม่ไม่อนุญาตก็บวช
ไม่ได้ นี่เป็นการบวชอย่างที่ ๓