ค้นหาในเว็บไซต์ :

อุปสมบทวิธีและการรักษาอุโบสถศีล
การบรรพชา

ศ า ส น พิ ธี : การบรรพชา
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๑ : การบวชเป็นสามเณร


การบรรพชา ก็คือ การละด้วยการงดเว้นจากสิ่งที่เป็นโทษต่อกุศล บุคคลที่บรรพชาเป็นสามเณรจึงเป็นเหล่ากอของสมณะ เป็นผู้สละตนจากฆราวาสวิสัย ออกมาเป็นบรรพชิตถือศีล ๑๐
ดังต่อไปนี้ คือ
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ทั้งที่เป็นมนุษย์และเดรัจฉาน
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการเสพเมถุน
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
๗. เว้นจากการฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรีและดูการละเล่น
๘. เว้นจากการตกแต่งทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ของหอม
๙. เว้นจากการนั่งการนอนในที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดนุ่นและสำลี อันมีลายวิจิตรตระการตา
๑๐. เว้นจากการรับเงินและทองของมีค่าไว้ในครอบครอง

นอกจากนั้นแล้ว ผู้เป็นสามเณรยังต้องมีสติดำรงอยู่ในปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาซึ่งจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา อยู่เนืองๆ

ในเรื่องของวัตรที่ควรแก่การศึกษาคือ เสขิยวัตร ๗๕ ข้อ สามเณรก็ต้องมีการศึกษา ต้องมีการนำมาปฏิบัติด้วยการมีสติเป็นเครื่องสำนึกอยู่เสมอเช่นกัน สำหรับสถานที่ประกอบพิธีบรรพชาเป็นสามเณรนั้น จะเป็นกุฏิวิหาร ศาลาการเปรียญ หรือโรงพระอุโบสถก็ได้ มีพระอันดับตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป หรือไม่มีเลยก็ได้



หัวข้อย่อย + การบรรพชา

อุปสมบทวิธีและการรักษาอุโบสถศีล



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย