ศาสนพิธีสำหรับพุทธศาสนิกชน
เรื่อง : การทำบุญเนื่องในงานมงคล ๒

ศาสนพิธีสำหรับพุทธศาสนิกชน
เรื่อง : การทำบุญเนื่องในงานมงคล ๒



๑๐. จุดธูปเทียนและเครื่องสักการะ ได้เวลาแล้วเจ้าภาพเริ่มต้นจุดเทียน ธูป ที่โต๊ะบูชาด้วย ตัวเอง ไม่ควรให้คนอื่นจุดแทน ให้ถือว่าเราทำเพื่อสิริมงคลของผู้ทำของเจ้าของงานนั้นๆ และ ควรจุดเทียนเล่มที่อยู่ทางซ้ายมือของเราก่อน เทียนไม่ควรให้เล่มเล็กเกินไป เสร็จแล้วจุดธูปจาก เทียน ธูปควรปักไว้ในกระถางธูป ให้ตั้งตรง ถ้าเป็นงานมงคลสมรสคู่บ่าวสาวจุดเทียนกันคนละ เล่ม ธูปคนละ ๓ ดอก ผู้หญิงให้นั่งทางซ้าย ผู้ชายนั่งทางขวา บูชาแล้วกราบลงพร้อมกัน ๓ ครั้ง ประเคนด้ายสายสิญจน์แก่พระเถระองค์ประธานในพิธี

๑๑. อาราธนาศีล ถ้าเจ้าภาพสามารถอาราธนาศีลได้ด้วยตนเองยิ่งดี ถ้าอาสนะสงฆ์สูง ยืนอา- ราธนาก็ได้ ถ้าพระสงฆ์นั่งกับพื้น ควรนั่งคุกเข่าประนมมืออาราธนาจบแล้ว พึงตั้งใจรับศีลด้วย การเปล่งวาจาว่าตามไป การเปล่งวาจานี้ควรให้พระเถระผู้ให้ศีลได้ยินด้วย ไม่ใช่รับศีลในใจ เมื่อพระท่านให้ศีลจบ พึงรับว่า อามะ ภันเต หรือว่า สาธุ ภันเต

๑๒. อาราธนาพระปริตต์ เมื่อรับศีลจบแล้ว พึงกราบลง ๓ ครั้ง หรือยืนไหว้แล้วแต่กรณี อารา- ธนาพระปริตมนต์ต่อไป ว่าดังนี้

วิปัตติ ปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ ทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง

ขอพระสงฆ์จงสวดพระปริตตะมงคล อันใดเพื่อป้องกันภัย อันเกิดแก่ความทุกข์ ความวิบัติทั้ง หลาย เพื่อความสำเร็จทั้งปวง เพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงจงหมดไป

วิปัตติ ปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ ภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง

ขอพระสงฆ์จงสวดพระปริตตะมงคล อันใดเพื่อป้องภัยพิบัติทั้งหลายอันเกิดจากภัยเวรทั้งสิ้น เพื่อความสำเร็จสมบัติทั้งปวง เพื่อให้ภัยเวรทั้งหลายจงหมดไป

วิปัตติ ปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ โรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง

ขอพระสงฆ์จงสวดพระปริตตะมงคล อันใดเพื่อป้องภัยอันเกิดแก่โรคาพยาธิทั้งหลาย เพื่อ ความสำเร็จในสมบัติทั้งหลาย เพื่อให้โรคาทั้งสิ้นจงหมดไป

๑๓. จุดเทียนน้ำมนต์ เพื่อพระสงฆ์สวดมนต์ถึงบทมงคลสูตร ขึ้นบทว่า อะเสวะนา จะ พาลา นัง เจ้าภาพรีบจุดเทียนน้ำมนต์ติดกับบาตรหรือขันน้ำมนต์แล้ว ยกขันน้ำมนต์ถวายพระเถระ เหตุที่จุดเทียนน้ำมนต์ตอนนี้ เพราะเทียนน้ำมนต์ใช้แทนเทียนมงคลจึงต้องจุด เมื่อพระท่าน สวดถึงบทมงคลสูตรก็เพื่อให้เป็นสิริมงคลในงานนั้น

๑๔. ถวายสำรับบูชาพระพุทธ ถ้ามีการฉันเช้าหรือฉันเพล หลังจากพระเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้ว เมื่อพระท่านสวดถึงบท พาหุงสะหัสสะมะ ภินิมมิตะสาวุธันตัง, ถ้าเป็นงานมงคล สมรส ให้คู่บ่าวสาวออกไปตักบาตร โดยจับด้ามทัพพีเดียวกัน มีคนคอยส่งข้างของใส่บาตร ให้ เมื่อใส่บาตรแล้ว ก็ควรนำสำรับบูชาพระพุทธมาถวายในขระนั้น คำบูชาว่าดังนี้

อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัญจะ
อุทะกัง วะรัง สัมพุทธัสสะ ปูเชมิ

ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธ ด้วยโภชนาหารอันประณีต ด้วยน้ำอันสะอาดประเสริฐแด่ พระพุทธ เจ้าฯ จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง โปรดจำไว้ด้วยว่า การทำบุญทุกครั้งต้องถวายสำรับบูชาพระพุทธ ก่อน จึงถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว พึงลาสำรับพระพุทธว่า ดังนี้ เสสัง มังคะลัง ยาจามิ๓ ครั้ง

๑๕. ประเคนอาหารพระสงฆ์ ขณะประเคนอาหาร ควรเข้าไปใกล้พระสงฆ์ประมาณ ๑ ศอก ยกของที่ประเคนให้สูงขึ้นจากพื้น ไม่ควรกระทบต่อสิ่งกีดขวางอย่างอื่นสูงพอประมาณ ของที่ ประเคนแล้วห้ามมิให้ถูกต้องอีก ถ้าถูกด้วยความพลาดพลั้งต้องรีบยกประเคนใหม่ ของประเคน ทีละอย่างๆ ถ้าเป็นของเล็กๆ จะประเคนด้วยมือเดียวก็ได้ แต่ต้องประเคนด้วยมือขวา ถ้าเป็น งานมงคลสมรส คู่สมรสประเคนวางลงบนผ้าที่พระท่านปูรับ และฝ่ายเจ้าบ่าวจะประเคนอีก ครั้งหนึ่ง เพราะ ๒ คนประเคนไม่ขึ้น ขัดกับพระวินัย

ขณะพระกำลังฉัน เจ้าภาพควรนั่งปฏิบัติด้วยการดูแลให้ทั่วถึง และควรปวารณา สิ่งใดขาด ตกบกพร่องขอได้เรียกได้ตามประสงค์ เมื่อพระฉันอาหารเสร็จแล้ว ถอนสำรับคาวออกก่อน นำของหวานประเคนต่อไป ถ้ามีน้ำชาก็ควรรีบถวายตอนนี้ด้วย ช้อนส้อมของหวานไม่ควรลืม




ศาสนพิธีสำหรับพุทธศาสนิกชน



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย