ค้นหาในเว็บไซต์ :

ศีล
โดย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์

เรื่องที่ ๓๔ : วิรัติ ๓


ศีลทั้ง ๕ เราได้ว่ามาหมดทั้ง ๕ ข้อแล้ว ทีนี้ ก็จะพูดถึงประเด็นปลีกย่อยที่ควรรู้ เรื่องแรก ท่าน พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ท่านจะให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง วิรัติ วิรัติ คำนี้ จะมีความหมายอย่างไร เรามาฟังคำเฉลย จากท่าน พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ กันดีกว่าครับ "วิรัติ" แปลว่า ความงดเว้น หรือเจตนางดเว้น ดังคำที่เราเคยใช้กันทั่วไปว่า

มังสวิรัติ หมายถึง การเว้นรับประทานเนื้อสัตว์
มัชชวิรัติ เว้นจากการดื่มน้ำเมา
ปาปวิรัติ เว้นจากการทำบาป... เหล่านี้เป็นต้น แต่ที่จะกล่าวในที่นี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับศีลห้า

- ของอย่างอื่น เราจะมีได้ ด้วยการทำเป็นส่วนมาก
- อยากมีเงิน ต้องทำงาน
- อยากมีความรู้ ต้องเรียน
- อยากมีบุญวาสนา ก็ต้องสร้างความดี
- แต่ศีลนี้แปลก ถ้าอยากมี ต้องงด ต้องเว้น ต้องไม่ทำ คืองดเว้นการทำชั่ว ๕ ทางนั้น จึงจะเป็นผู้มีศีล ๕
- การที่ตั้งใจงดเว้นนั่นแหละ เรียกว่า วิรัติ เป็นการทำเหมือนกัน แต่ทำการงดเว้น

เราจะทำการวิรัติได้ ๓ ทาง หรือ ๓ วิธี คือ
- สัมปัตตวิรัติ งดเว้นขณะประจวบ
- สมาทานวิรัติ งดเว้นด้วยสมาทาน
- สมุจเฉทวิรัติ งดเว้นอย่างเด็ดขาด

ถ้าผู้ใดมีวิรัติ ๓ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นก็มีศีล ถ้าไม่มีวิรัติ ก็หมายความว่า ศีล ไม่มีในผู้นั้น" ทีนี้ ลองมาฟังคำอธิบายของวิรัติแต่ละประเภทดู




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย