"การสมาทานศีล ก็คือ ตั้งใจว่า จะรักษาศีล การตั้งใจนั่นแหละ เรียกว่า สมาทาน มี ๒ วิธี คือ
๑. ปัจเจกสมาทาน สมาทานเฉพาะข้อ
๒. อัชเฌกสมาทาน สมาทานรวมทุกข้อ
โปรดทราบว่า ที่แยกวิธีสมาทานเป็น ๒ อย่างเช่นนี้ พูดง่ายๆ ก็คือ ตั้งใจ นั่นเอง
หมายความว่า ตั้งใจในขณะรับศีล จะตั้งใจอย่างไหนก็ได้ ใน ๒ อย่างนี้
ปัจเจกสมาทาน คือตั้งใจว่า เราจะรักษาศีล แยกเป็นข้อๆ ข้อไหนข้อนั้น โดยวิธีนี้ ถ้าศีลข้อ
ใดขาด ก็ขาดเฉพาะข้อนั้น ข้ออื่นๆคงบริสุทธิ์บริบูรณ์ ขาด ๑ ข้อ ก็เหลือ ๔ ,ขาด ๒ ข้อ ก็
เหลือ ๓
อัชเฌกสมาทาน คือตั้งใจรับศีลรวมหมดทั้งชุด แทนที่จะตั้งใจว่า จะเว้นจากฆ่าสัตว์ จะเว้น
จากละทรัพย์ ฯลฯ ก็ไม่ต้อง แต่ตั้งใจว่า "เราจะรักษาศีลห้า" ดังนี้ เรียกว่า อัชเฌกสมาทาน
อัชเฌกะ ก็แปลว่า รวมเป็นหนึ่ง คือหัวข้อนั้นรวมเป็นหนึ่ง สมาทานแบบนี้ ถ้าศีลขาดแม้ข้อ
เดียว ก็เป็นอันขาดหมดทั้งห้า
เกี่ยวกับการกำหนดอาการของจิต จึงอธิบายยาก เหตุใดสมาทานอย่างนั้น ศีลขาดทีละ ข้อ
สมาทานอย่างนี้ ถ้าศีลขาด ก็ขาดหมด อธิบายยาก ขอให้นึกว่าอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าเรามีธนบัตร
ใบละ ๑๐๐ อยู่ ๕ ใบ เวลามันตกหาย มันก็หายเป็นใบๆ หาย ๑ ใบ ก็เหลือ ๔ ,หาย ๒ ก็เหลือ
๓ , หาย ๓ ก็เหลือ ๒ , หาย ๔ ก็เหลือ ๑ , ถ้าหาย ๕ ก็หมดเลย
ทีนี้อีกวิธีหนึ่ง เรามีเงินอยู่ ๕๐๐ บาทเหมือนกัน แต่เป็นธนบัตรใบละ ๕๐๐ บาทใบเดียว ถ้า
ลงได้หาย ก็หายหมดทั้ง ๕๐๐ บาท ปัจเจกสมาทาน นั่นเหมือนแบงค์ย่อย ใบละ ๑๐๐ บาท
ส่วนอัชเฌกสมาทาน เหมือนแบงค์ใหญ่ ใบละ ๑๐๐ นั่นเอง ท่านนักศึกษา คงอยากจะทราบ
ว่าใน ๒ วิธีนี้ วิธีไหน จะมีผลดีกว่ากัน ?
ผมจำได้ว่า ไม่เคยพบคำอธิบายเปรียบเทียบไว้ มีความเห็นเป็นส่วนตัวว่า อัชเฌกสมาทาน
มีผลทางฟอกจิตได้ดีกว่า เพราะความตั้งใจแรงกว่า ส่วนการสมาทานแยกองค์นั้น ดูเป็นการ
หาทางเอาตัวรอด หรือสร้างข้อแก้ตัวไว้ล่วงหน้า ความตั้งใจจึงไม่เด็ดเดี่ยวแท้ และยังคิดต่อ
ไปว่าปัจเจกสมาทาน เป็นวิธีเก็บตก เหมาะสำหรับคนที่บังคับตัวไม่ค่อยจะได้" ท่าน พ.อ.ปิ่น
มุทุกันต์ ได้สรุปเป็นการปิดท้ายว่า "การสมาทานนั้น สำคัญอยู่ที่การตั้งใจ คือตั้งใจไปตามที่
ปากว่า ปากว่า ใจต้องว่าด้วย คนที่ปากว่าตามพระ แต่ใจโลเลไปทางอื่น ไม่เป็นอันได้สมาทาน
ศีล แต่คนที่ตั้งใจจริง แม้ไม่เปล่งวาจาให้พระได้ยิน ก็เป็นอันได้สมาทานแท้."