ค้นหาในเว็บไซต์ :

วิปัสสนา

เรื่องที่ ๙ : ศิลปะในการดำเนินชีวิตด้วยวิปัสสนา ( ๙ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


ตามความเป็นจริงแล้ว จิตไร้สำนึกนั้น มิใช่ว่าจะไร้สำนึก ตลอดเวลาจิตไร้สำนึกจะทำปฏิกิริยา อยู่เสมอ หากแต่จะมีปฏิกิริยาอยู่เฉพาะแต่กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในร่างกายเท่านั้นเมื่อเกิดความ รู้สึกไม่พอใจ ก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยโทสะเช่นนี้คือแบบแผนพฤติกรรมของจิตไร้สำนึก หรือภวังคจิต และถ้าภวังคจิตยังคงถูกคุมขังอยู่ ด้วยกิเลสตัณหาของความโลภ ความโกรธ แล้วเราจะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไร ตัวอย่างต่อไปนี้ จะแสดงให้ท่านเห็นถึงการทำงาน ของจิตสำนึก และจิตไร้สำนึก ในเวลากลางคืน ขณะที่ท่านนอนหลับอยู่นั้น สิ่งที่หลับอยู่จริงๆ แล้ว คือจิตสำนึกของท่าน จิตไร้สำนึกไม่เคยหลับตลอดเวลา จิตไร้สำนึกจะตื่นอยู่ และรับรู้ ความรู้สึกบนร่างกายเสมอ ไม่ว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน และจะทำปฏิกิริยาตอบสนอง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในร่างกาย ด้วยความพอใจหรือความไม่พอใจ โลภะ หรือ โทสะ อยู่ตลอด เวลา

สมมุติว่าท่านกำลังหลับอยู่ และมียุงมากัดท่าน ความรู้สึกในร่างกาย คือความไม่สบาย ความ ไม่พอใจ จิตสำนึกของท่าน ไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้น แต่จิตไร้สำนึกหรือภวังคจิตรู้ได้ทันที เมื่อ มีความรู้สึกไม่สบายเกิดขึ้น โทสะก็เกิดขึ้นความไม่พอใจก็เกิดขึ้น จิตไร้สำนึกจะสั่งการให้ไล่ยุง ไป หรือตบยุงให้ตายแต่ความรู้สึกไม่สบายนั้นยังอยู่ และจิตไร้สำนึกก็จะสั่งร่างกาย เกาที่ตรง นั้นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในระหว่างที่ท่านหลับ แต่เมื่อท่านตื่นขึ้นมา ถ้ามีใครสักคนถามท่านว่า เมื่อ คืนยุงกัดท่านกี่ครั้ง ท่านจะตอบไม่ได้ เพราะไม่ทราบ เนื่องจากจิตสำนึกของท่านไม่ทราบ ทั้ง ที่ยุงได้กัดท่านหลายครั้งหลายหน และจิตไร้สำนึกของท่านก็ได้ตอบโต้อยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง สมมุติว่าท่านกำลังนอนหลับสนิทอยู่ในท่านอนหงายน้ำหนักตัวของ ท่านกดลงไป ทำให้เกิดความเมื่อย และให้เปลี่ยนท่า ซึ่งทำให้ท่านต้องพลิกตัว นอนตะแคง ท่านนอนตะแคงอยู่ราว ๑๐ - ๑๕ นาที แรงกดของน้ำหนักตัวก็จะเกิดขึ้นอีก และจิตไร้สำนึก ก็จะสั่งให้ท่านพลิกตัว เปลี่ยนท่านอนอีก เป็นเช่นนี้ทั้งคืนในตอนเช้า หากมีใครมาถามท่านว่า พลิกตัวสักกี่ครั้ง ท่านก็ตอบไม่ได้ ทั้งนี้เพราะกำแพงขวางกั้น ของจิตสำนึกและจิตไร้สำนึกมี อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่ากลางคืนหรือกลางวัน ยกตัวอย่างอีกอันหนึ่ง ถ้าตัวข้าพเจ้ามิได้ปฏิบัติ ภาวนา ตามหลักการของพระพุทธเจ้า ในขณะนี้ปริตตจิต หรือจิตสำนึกของข้าพเจ้าจะเตือน ว่า ข้าพเจ้าพูดมากไปแล้ว ควรจะจบเสียที และควรจะสรุปอย่างนี้ๆ และจิตสำนึกของข้าพเจ้า ก็จะคอยมองดูใบหน้าท่านผู้ฟัง เพื่อสำรวจดูว่า ผู้ฟังสนใจในสิ่งที่กำลังพูดหรือไม่ หรือว่า กำลังเบื่อหน่าย ควรที่จะหยุดพูดหรือไม่ ในขณะเดียวกันนั้น จิตไร้สำนึกซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ หน้าที่นี้ จะคอยติดต่ออยู่แต่กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในร่างกาย การที่นั่งอยู่กับที่ เป็นเวลากว่า ครึ่งชั่วโมง หรือหนึ่งชั่วโมงนั้น ทำให้เกิดแรงกดของน้ำหนักตัวจิตไร้สำนึกจะบอกว่า มีแรง กดของน้ำหนักตัว ทำให้เมื่อย ต้องเปลี่ยนท่านั่ง เพราะฉะนั้นท่านั่งก็เปลี่ยนไปแล้ว หลังจาก นั้นอีกหน่อยก็เมื่อยอีก ท่านั่งก็จะเปลี่ยนอีก

ถ้าท่านคอยสังเกตดูใครสักคนที่นั่งอยู่ในที่เดียวสัก ๑๐ - ๑๕ นาที ท่านจะเห็นว่าบุคคล ผู้นั้น ต้องขยับเนื้อขยับตัวอยู่เสมอ โดยที่เขาไม่รู้ตัวเลย ทั้งนี้เพราะเขาไม่รู้ว่าเวทนาคืออะไร ? เขาไม่รู้ว่าเขามีปฏิกิริยาตอบสนองเวทนาด้วยความไม่พอใจกำแพงที่ขวางกั้นนี้ เรียกว่า อวิชชา เราไม่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น แต่การปฏิบัติวิปัสสนา คือการทำลายสิ่งกีดขวาง หรืออวิชชานั้น





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย