กราบเรียนถามเรื่องการนั่งกรรมฐาน

 asd    

ขอกราบเรียนถาม ดังนี้ครับ
(1) กรรมฐานคืออะไรครับ
(2) การนั่งกรรมฐานเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ถึงแก่กรรมไปแล้วทำอย่างไรครับ จะได้ไปฝึกทำครับ

ขอท่านผู้รู้ได้เมตตาให้ความรู้จากถามทั้ง 2 ข้อด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ




ขอตอบอย่างง่าย ๆ ดังนี้นะคะ

กรรมฐานก็คือการกระทำใด ๆ ที่เอาจิตไปจดจ่ออยู่ที่ฐานที่ตั้งใดที่ตั้งหนึ่งในอารมณ์ต่าง ๆ ของจิต เพื่อผลแห่งกุศลเพียงฝ่ายเดียว อานิสงส์ที่ได้จากการเจริญกรรมฐานคือจิตที่ปราศจากอารมณ์ขุ่นมัว เศร้าหมองหรือจากกิเลสต่าง ๆ ที่มารบกวนจิตใจเรา รวมทั้งเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ปัญญาได้ง่ายด้วยค่ะ

เพราะฉะนั้นผู้ใดเจริญกรรมฐานขณะใด จิตจะมีอารมณ์อันปราศจากกิเลสขณะนั้น บุญก็เกิดขึ้นทันทีค่ะ หลังจากนั่งสมาธิกรรมฐานเรียบร้อยแล้วท่านก็สามารถตั้งจิตตั้งใจอุทิศบุญจากการที่นั่งกรรมฐานนั้น ๆ ให้แก่บุคคลที่ต้องการได้เลยค่ะ จะคิดเป็นภาษาไทย ภาษาบาลีก็ได้เหมือนกันหมด ขอแค่ว่าขณะอุทิศให้ก็เพียงตั้งใจให้ด้วยค่ะ

อันนี้ขอแนะเพิ่มเติมนะคะ หากอยากให้ได้อานิสงส์เพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกนั้น ในชีวิตประจำปกติก็เพียรลดละเลิกกิเลสในชีวิตประจำวันลงไปด้วย ทำได้เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งวันละเรื่อง อานิสงส์นั้นได้มากกว่ากรรมฐานเป็นร้อยเท่า พันเท่าเลยนะคะ ยกตัวอย่างเช่น เพียรตั้งใจว่าจะไม่โกรธและพูดจาไม่ดีกับใคร หรือเพียรตั้งใจจะงดรับประทานอาหารที่ชอบและรับประทานอะไรก็ได้ง่าย ๆ แบบนี้เป็นต้นค่ะ แบบนี้ก็ทำได้ง่ายนะคะ ได้อานิสงส์มากมายด้วย ลองไปคิด ๆ ดูค่ะว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างรึเปล่านะคะ

อนุโมทนาค่ะ



ขอกราบเรียนถาม ดังนี้ครับ
(1) กรรมฐานคืออะไรครับ
(2) การนั่งกรรมฐานเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ถึงแก่กรรมไปแล้วทำอย่างไรครับ จะได้ไปฝึกทำครับ

ขอท่านผู้รู้ได้เมตตาให้ความรู้จากถามทั้ง 2 ข้อด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ


โดย : asd [DT07489] 7 ธ.ค. 2551 23:57 น


(1)
     กัมมัฏฐาน      การกระทำ      นำจิตตั้ง
เป็นการยัง      ให้บรรลุ      จิตกุศล
สงัดกาม      สงัดบาป      หยาบเปื้อนปน
ฝึกจิตตน      มั่นคง      ลุองค์ฌาน

     กัมมัฏฐาน      บันดาลฌาน      ท่านสองอย่าง
หนึ่งคือสร้าง      โลกียะ      ตบะฐาน
กุศลจิต      อย่างนี้เรียก      โลกียะฌาน
สังโยชน์ท่าน      สิบอย่างมี      ที่มัดใจ

     สองคือสร้าง      ปัญญา      ละสังโยชน์
ละโลภโกรธ      และหลง      ลงเสียได้
เรียกว่าฌาน      โลกุตตระ      รัตนตรัย
พ้นทุกข์ภัย      เพราะดับขันธ์      ปรินิพพพาน


(2)
     กัมมัฏฐาน      ที่ท่านทำ      นำลดละ
เป็นตบะ      กุศลธรรม      นำสุขสานต์
กุศลนี้      ย่อมแผ่สู่      หมู่วงศ์วาน
ให้ทุกท่าน      อนุโมทนา      สาธุการ

     การสาธุ      กรรมดี      ที่หมู่ญาติ
ได้ประกาศ      อุทิศ      จิตสื่อสาร
คือมีธรรม      เป็นอารมณ์      เพาะบ่มญาณ
เกิดศีลทาน      ภาวนา      รักษาใจ

     อันผู้ถึง      แก่กรรม      ธรรมลิขิต
การอุทิศ      มิใช่การ      ยกทานให้
แต่เป็นการ      สร้างกุศล      ดลจิตใจ
ให้ผ่องใส      แช่มชื่น      ทุกคืนวัน

     จิตผู้ใด      ใสแจ่ม      และแช่มชื่น
ยามผู้อื่น      ภาวนา      ส่งมานั้น
เรียกว่าแผ่      อุทิศบุญ      เจือจุนกัน
เธอและฉัน      หมั่นภาวนา      ดีกว่าเอย ฯลฯ


เจริญในธรรมเจ้าค่ะ



จากคำตอบนั้นกระผมจึงเข้าใจว่า การนั่งกรรมฐานกับการนั่งทำสมาธิก็คืออันเดียวกัน ความเข้าใจของกระผมถูกต้องหรือไม่ครับ ถ้าไม่ถูกต้องมันเหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับจะได้นำไปปฏิบัติให้ถูกต้องครับ กราบขอบคุณมากๆครับ


คือความจริงแล้วเรื่องกรรมฐานกับสมาธิก็เป็นการกล่าวถึงเรื่อง ๆ เดียวกันนั่นแหละค่ะ แต่ขออธิบายง่าย ๆ ตามความเข้าใจดังนี้นะคะ

กรรมฐานเป็นเรื่องของการนำจิตที่ตั้งมั่นไปกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยเหตุเพื่อสงบจากบาป อกุศลในใจเราค่ะ เมื่อจิตที่ตั้งมั่นไว้ดีแล้ว จิตนั้นจึงเรียกว่าเป็นจิตที่มีสมาธิอ่ะค่ะ

แต่กรณีของสมาธิที่ต่างกันในประเด็นนี้ก็มีนะคะ พิจารณาง่าย ๆ เวลาเราทำการงานอันเป็นกิจวัตรประจำวันทั่ว ๆ ไป เราก็สามารถมีสมาธิได้เสมอนะคะ กรณีอย่างที่เราตั้งใจอ่านกระทู้แบบนี้ จิตก็เกิดเป็นสมาธิแล้วค่ะ แต่ก็มีกรณีของสมาธิในแง่อื่นเช่น โจรที่กำลังคิดหาอุบายในการลักขโมย จิตของโจรนั้นก็เป็นจิตที่มีสมาธิในระหว่างการคิดได้เหมือนกันค่ะ

เห็นมั๊ยคะ จิตที่มีสมาธินั้นมีทั้งในแบบมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ แต่อย่างที่พูดถึงกรรมฐานเป็นจิตเพื่อก่อให้เกิดสัมมาสมาธิล้วน ๆ คือเพื่อเป็นไปเพื่อการละบาป อกุศลเท่านั้นอ่ะค่ะ เพราะฉะนั้นของให้ท่านผู้สนใจลองพิจารณาดูให้ดีนะคะ สนใจจริง ๆ กรรมฐานมีถึง 40 ประการที่ท่านแยกไว้ให้เหมาะกับจริตนิสัยของคนแต่ละประเภท ลองค้นหาอ่านดูเอานะคะ

เจริญในธรรมทุกท่านเลยค่ะ...




กัมมัฏฐาน คือการกระทำเป็นที่ตั้งของกุศลจิต ที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยการเจริญสมถะและวิปัสสนาในจิต

การเจริญกัมมัฏฐานให้ผลดังนี้คือ
1.รูปาวจรกุศลจิต ได้แก่
1.1.ปฐมฌานรูปาวจรกุศลจิต
1.2.ทุติยฌานรูปาวจรกุศลจิต
1.3.ตติยฌานรูปาวจรกุศลจิต
1.4.จตุตถฌานรูปาวจรกุศลจิต
1.5.ปัญจมฌานรูปาวจรกุศลจิต

2.อรูปาวจรกุศลจิต ได้แก่
2.1.อากาสานัญจายตนฌาน อรูปาวจรกุศลจิต
2.2.วิญญานัญจายตนฌาน อรูปาวจรกุศลจิต
2.3.อากิญจัญญายตนฌาน อรูปาวจรกุศลจิต
2.4.เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อรูปาวจรกุศลจิต

3.อภิญญาจิต ได้แก่
3.1.กามมหากุศลจิต คือ อภิญญาจิตของผู้บรรลุอภิญญา 5 ฌานสมาบัติ 8
อภิญญา 5 ได้แก่
1.อิทธิวิธีญาณ
2.ทิพย์โสตญาณ
3.ทิพย์จักษุญาณ
4.เจโตปริยญาณ
5.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ

3.2.กามกิริยาจิต คือ อภิญญาจิตของพระอรหันต์


4.อริยะมัคคจิต 4 ได้แก่
4.1.โสดาปัตติมัคคจิต
4.2.สกทาคามีมัคคจิต
4.3.อนาคามีมัคคจิต
4.4.อรหัตตมัคคจิต

5.อริยะผลจิต 4 ได้แก่
5.1.โสดาปัตติผลจิต
5.2.สกทาคามีผลจิต
5.3.อนาคามีผลจิต
5.4.อรหัตตผลจิต

6.วิชชา 3 ได้แก่
6.1.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติได้
6.2.จุตูปปาตญาณ คือรู้จักจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย
6.3.อาสาวกขยญาณ คือญาณปัญญาในการกำจัดอาสาวกิเลสให้หมดสิ้น

7.อภิญญา 6 ได้แก่
7.1.อิทธิวิธีญาณ
7.2.ทิพย์โสตญาณ
7.3.ทิพย์จักษุญาณ
7.4.เจโตปริยญาณ
7.5.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
7.6.อาสาวกขยญาณ


8.วิชชา 8 ได้แก่
8.1.วิปัสสนาญาณ
8.2.มโนมยิทธิญาณ
8.3.อิทธิวิธ๊ญาณ
8.4.ทิพยโสตญาณ
8.5.เจโตปริยญาณ
8.6.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
8.7.จุตูปปาตญาณ
8.8.อาสวักขยญาณ



9.ปฏิสัมภิทา 4 ได้แก่
9.1.อรรถปฏิสัมภิทา
9.2.ธรรมปฏิสัมภิทา
9.3.นิรุตติปฏิสัมภิทา
9.4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

10.วิโมกข์ 8 ได้แก่
10.1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 1
10.2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอกว่าไม่งาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 2
10.3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า รูปที่ไม่งามว่าเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 3
10.4. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 4
10.5. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ 5
10.6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 6
10.7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 7
10.8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 8

11.บรรลุพระปัจเจกโพธิ์ญาณ

12.บรรลุพระสัมมาสัมโพธิ์ญาณ



เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.




อนุโมทนาในธรรมทานค่ะ
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
อย่าคิดว่าคนที่ปฏิบัติธรรมจะเป็นบ้า
เพราะเราทำแต่กุศลกรรมทำความดี
น่ะค่ะ


1.กรรมฐานมี
สมถกรรมฐาน สมถเพื่อให้จิตนิ่ง..สงบ มีความสุขเหนือสิ่งอื่นใด แต่เมื่อใดก็ตามเราออกจากสมาธิ จะใช้สมาธิที่เรานั่งนั้นทำประโยชน์อะไรได้ยากพอสมควรเพราะว่าเราจะนิ่ง..อาจจะไม่พูดไม่จากับใคร คนทั่วไปเห็นอาจจะมองว่าคนนี้ดูเหมอ เบลอ ก็เป็นไปได้ ถ้าจิตหลุดจากสมถกรรมฐานเมื่อไหร่...กิเลสครอบคลุมแน่นอน และยากที่จะทำให้หายไปได้ง่ายๆเพราะว่าเขาคนนั้นอาจจะไม่รู้ตัวว่ากิเลสเข้าครอบคลุม(เหมือนคนที่ไม่เคยปฏิบัติกรรมฐาน)

จึงต้องมีวิปัสสนากรรมฐานเข้ามาใช้เพื่อให้รู้ตัวทั่วพร้อม ทุกๆอิริยาบทที่ได้ทำไปนั้นเป็นอะไร ถ้าหมั่นเจริญๆก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า สติ ไว้เตือนใจเราว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี อาจจะไวจนแทบไม่ทันได้พิจารณาก็ได้เพียงแค่ รู้ เท่านั้นแล้วก็ละกิเลสนั้นไปได้แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่า ถ้าเราไม่รักษาศีล 5 ก็อยากที่จะมาทำทางนี้

แต่ถึงอย่างไรก็ตามทุกสิ่งอยู่ที่จิต ไม่จำเป็นต้องบวชเสมอไป แค่การบวชเป็นทางเลือกว่าเราจะไปสังคมของทางธรรมเต็มตัวตัดขาดทางโลกเท่านั้นเอง แต่ใช่ว่าคนที่ไม่บวชจะเจริญกรรมได้ด้อยกว่าคนที่บวช ทุกคนเสมอไป

2.หมั่นแผ่เมตตา อุทิศกุศลที่เราได้ทำมาได้มานั้นให้แก่เขา ถ้าเราเพิ่งทำสดๆร้อนๆหรือทำอยู่ก็ อุทิศไปเลย เช่น ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้... ขอให้...มีความสุข หรือจะอะไรก็ว่ากันไป

หรือถ้าทำวันนี้เมื่อเช้า ขออุทิศบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำดีแล้วในวันนี้ ขอให้.....(ว่ากันไปเหมือนข้างบน)แต่ถ้าทำไว้นานแล้วหรือสะสมมานานหรืออะไรตาม
เราก็ต้องเบิกบุญก่อน(อ้าวยาวแล้ว)การเบิกบุญเหมือนเบิกธนาคาร บุญเราไปฝากไว้ ไม่รู้ฝากไว้ที่ไหนอ่ะแต่มีอ้างคุณพระศรีรัตนตรัย หรือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเราเป็นเหมือนพนักงานธนาคาร ช่วยเบิกให้นำบุญนั้นมาใช้ก็แผ่ไปว่า
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย (หรืออาจจะเป็น ขออำนาจคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้....(อาจจะเป็น ด้วยการบุญที่ข้าพเจ้าได้รักษาศีล5 สม่ำเสมอ) ขออุทิศบุญกุศลนี้...(เหมือนข้างบน)

อย่าลืมว่าบางที อาจจะไม่จำเป็นต้องพิธีการขนาดนั้นก็ได้ เจตนาเป็นหลัก ถ้าถึงขั้นนึกคำพูดหรือภาษาไม่ออกก็ไม่ต้องลำบากขนาดนั้น เอาให้ว่าตอนเราอุทิศไป จิตใจเรานั้นสะอาดบริสุทธิ์(อยากอุทิศให้อ่ะ แต่นึกไม่ออก) จิตตอนบริสุทธิ์นั้น คิดสุดยอดแล้ว คิดอุทิศบุญให้ก็ดี OK แล้ว แต่ถ้าทำให้มันเรียบร้อยตามพิธี มันก็จะ OK กว่า

สุดท้าย อย่าคาดหวังว่า...บุคคลนั้น...จะได้บุญนี้ เพราะเรายากที่จะหยั่งรู้ได้ชัดแจ้งว่า บุญนี้นะถึงแล้วตอน 11โมงเช้า ช้าเร็วถ้าเราหมั่นอุทิศไป ไงก็ได้แน่นอน เช่นๆๆๆ ถ้าคนนั้นกรรมเก่าเขาเข้ามาอย่างหนัก...ประมาณว่าสุดๆไปเลยอ่ะ กรรมมันก็จะบังบุญ แต่ไม่หายไปไหน สักวันถ้าเราหมั่นอุทิศ เดี๋ยวได้เอง

ถ้าหวังมาก เดี๋ยวจะเครียด เอ๊ะ ได้บุญเรายังน๊า ถ้าไม่ได้ตอนนี้อยู่ไหน ทำอะไรอยู่ ลำบากเปล่าน๊า.. ยาวครับ กล่าวเป็น ฟุ้งซ่านหนอ ทันที ^^


 3,960 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย