ขออนุญาติกราบเรียนเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีบุญใหญ่สมทบทุนสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีพุทธปาพจน์ วัดสระกะเทียม

 ภัทรกัปป์    28 ก.ย. 2556

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีประจำปี 2556
วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2556

เพื่อสมทบทุนบุญใหญ่สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีพุทธปาพจน์
ครั้งหนึ่งในชีวิต จะได้สร้างบุญใหญ่ ฝากไว้ในแผ่นดิน
ในการนี้ จึงขอเชิญชวน ท่านผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมอาคารแสดงพุทธศิลป์วัดสระกะเทียม บุญสถาน ฝากไว้เป็นอนุสรณ์ชีวิตบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

ร่วมกองบุญกฐินใหญ่นี้ได้ตามกำลังศรัทธาของท่าน
โอนเงินผ่านบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแคว์ กรุงเทพ
เลขที่บัญชีออมทรัพย์ 026-2-35147-7
ชื่อ กนกรักษ์ พุทธจรรยาวงศ์
จะขออนุญาติปิดยอดบัญชีกฐินเพื่อรวบรวมนำส่งก่อนวันกฐินหนึ่งวันจ๊ะ ขออนุโมทนาสาธุบุญมากับทุกท่านด้วย สาธุๆๆๆ


ท่านที่ต้องการใบอนุโมทนาบัตร
กรุณาส่งสำเนาเอกสารการโอนการทำบุญพร้อม ชื่อ สกุล+เบอร์โทรศัพท์ที่อยู่จัดส่งทางกล่องได้เลย จะจัดส่งทางไปรษณีย์ไปยังท่านต่อไป หรือโทร แจ้งหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0877637040

เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมอาคารแสดงพุทธศิลป์ เป็นอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีทางขึ้น ๓ ทาง คือ ด้านหลังพระอุโบสถ ๑ ทาง, ด้านข้างเจดีย์ ๒ ทาง โดยทางขึ้นด้านข้างพระเจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา และพระสีวลี พระเจดีย์แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น ๔ ชั้น โดยชั้นลานประทักษิณ ยกระดับลานประทักษิณโดยรอบใช้เป็นห้องเก็บวัตถุจัดแสดงภายใน ชั้นที่ ๑ เป็นห้องจัดแสดงที่มาของโครงการ, ประวัติบูรพาจารย์ผู้มอบศิลปะวัตถุให้ทางวัด, พุทธศิลป์และศิลปะเกี่ยวเนื่อง ชั้นที่ ๒ เป็นห้องจัดแสดงพุทธศิลป์และศิลปะเกี่ยวเนื่องซึ่งต่อเนื่องจากชั้นที่ ๑ ชั้นบนสุดของเจดีย์เป็นห้องประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีซุ้มจรณัมทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะต่างๆ

ที่ตั้งโครงการ ตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาสของวัดสระกะเทียม อยู่ด้านหลังพระอุโบสถเป็นแกนเดียวกัน โดยถือว่าเมื่อสักการะพระพุทธรูปในพระอุโบสถก็เสมือนกราบพระบรมสารีริกธาตุ ภายในองค์เจดีย์ในคราวเดียว

มูลเหตุการณ์ดำริสร้างพระมหาธาตุเจดีย์

สมเด็จพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากรมหาเถร)

เนื่องด้วยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ทางวัดสระกะเทียมได้รับมอบพระพุทธรูปต่างๆ จากสมเด็จพุทธปาพจนบดี(ทองเจือ จินฺตากรมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม(ปัจจุบัน มรณภาพแล้ว) จำนวนประมาณ ๓๐๐๐ องค์ ให้มาดูแลรักษา ทางวัดสระกะเทียมจึงดำริจะจัดสร้างอาคารเพื่อเก็บดูแลรักษาพระพุทธรูปดัง กล่าว ซึ่งเป็นอาคารสูงสองชั้น บนชั้นที่สองตรงกลางสร้างเป็นเจดีย์ ภายในยอดพระเจดีย์สร้างเป็นบุษบก ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมอาคารแสดงพุทธศิลป์ เป็นอาคารที่มีรูปแบบการใช้สอยใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ ใช้สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อให้ประชาชนสามารถสักการะพระบรมสารีริกธาตุได้อย่างใกล้ชิด อีกทั้งใช้ในการจัดแสดงให้ความรู้เกี่ยวกับพุทธศิลป์และศิลปะเกี่ยวเนื่อง ซึ่งต้องใช้พื้นที่มากพอสมควร อีกทั้งทางวัดมีความประสงค์ในการเก็บพื้นที่สีเขียวให้ได้มากที่สุด ผู้ออกแบบจึงมีแนวความคิดที่ใช้รูปแบบอาคารซ้อนชั้นสูงลดหลั่นกันไป โดยออกแบบเป็นหมู่เจดีย์ และใช้รูปแบบเจดีย์ทรงลังกาเป็นต้นเค้าความคิด อันเป็นพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นองค์สถาปนา ธรรมยุตินิกาย รวมทั้งเครื่องลำยองที่เลือกใช้ประดับเป็น “หัวนกเจ่า” ซึ่งเป็นพระราชนิยมในรัชกาลเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ออกแบบได้ประยุกต์เป็นหัวนาค เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกับองค์ประกอบโดยรวมของทางวัด และเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จึงได้ออกแบบเป็นหมู่เจดีย์ มีเจดีย์ประธาน ๑ เจดีย์บนซุ้มจรณัม ๔ องค์ และเจดีย์มุม ๔ องค์ รวม ๙ องค์ ซึ่งแต่ละองค์มีปล้องไฉน ๙ ชั้น เมื่อรวมกันแล้วทั้งหมด ๘๑ ชั้น อันเป็นคติเลขมงคลแบบไทยในการเฉลิมพระชนมพรรษา

โดยหน้าบันที่มุขประดิษฐานตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา เจดีย์ประธานประดิษฐานบนฐาน ๘ เหลี่ยม สื่อถึงพระบรมโพธิสมภารแผ่ไพศาลไปทั่ว ๘ ทิศ การเลือกใช้สีอาคาร ลานประทักษิณใช้ไม้พุ่มเตี้ยให้ดอกสีเหลือง เพื่อสื่อถึงสีประจำวันพระราชสมภพและให้ต่อเนื่องกับงานภูมิทัศน์โดยรอบ


ชั้นล่างของพระเจดีย์ใช้สีครีมเพื่อให้เข้ากับพระอุโบสถ และค่อยไล่สีให้ขาวขึ้นเมื่ออยู่ชั้นสูงขึ้น จนพระเจดีย์เป็นสีขาว เป็นให้รู้สึกถึงความเบาสบาย ทั้งนี้องค์เจดีย์ประธานประดับโมเสกสีทองเพื่อเน้นความสำคัญขององค์ประธาน เนื่องจากในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่ต้องคำนึงถึงการดูแลรักษาและความปลอดภัยของอาคาร จึงเลือกใช้ลวดบัวเป็นการสร้างรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย ไม่ใช้ซุ้มหน้าต่างที่มีการประดับตกแต่งมาก เลือกใช้เพียงกรอบเช็ดหน้าประดับด้วยลูกกรงภายนอกเพื่อความปลอดภัยของวัตถุ จัดแสดงไปพร้อมกัน มีการประดับตกแต่งขององค์ประกอบองค์เจดีย์ประธานที่ต้องเน้นความสำคัญเท่านั้น

การตกแต่งภายในห้องประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ออกแบบให้จุดศูนย์กลางของห้องประดิษฐานบุษบก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์บุษบกออกแบบเป็นบุษบกยอดมงกุฏจำหลักไม้ปิดทอง เหตุที่ใช้ยอดเป็นมงกุฏเนื่องจากต้องการสื่อถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวซึ่งเป็นองค์สถาปนาธรรมยุตินิกาย ที่ซุ้มจรณัมทั้ง ๔ ด้าน ออกแบบเป็นห้องประดิษฐานพระพุทธรูปรูปแบบศิลปะต่างๆ โดยถือประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ซุ้มจรณัมทางทิศเหนือ เป็นพระพุทธรูปศิลปะพม่า, ทางทิศตะวันตก เป็นพระพุทธรูปศิลปะอินเดีย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสื่อให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวของพุทธศาสนิกชนโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับดังต่อไปนี้ คือ

๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็น้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมี น้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

๒. ให้ทานแก่มนุษย์ ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะถวายทานดังกล่าว แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๕. ถวายทานแก่สามเณร ซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ถวายทาน ดังกล่าวแก่พระสมมติสงฆ์ ซึ่งมีปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ

พระด้วยกัน ก็มีคุณธรรม แตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมติ-สงฆ์"

พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวช หรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกัน หลายระดับชั้น จากน้อยไปหามาก ดังนี้คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

๖. ถวายทานแก่พระสมมติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแก่ พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็น พระโสดาบันปัตติมรรค และพระโสดาบันปัตติผล เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อ พอให้ได้ความเท่านั้น)

๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานดังกล่าว แก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานดังกล่าว แก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานดังกล่าวแก่ พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแด่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายสังฆทาน ที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้าง โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่านํ้า ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาง อันเป็นสาธารณประโยชน์ ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่งการสร้าง สิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ หรือสิ่งที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจ ในพระพุทธศาสนา เช่นโรงพยาบาล โรงเรียน บ่อนํ้า แท็งค์นํ้า ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ( ๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทาน ก็คือ การเทศน์ การสอนธรรมะ แก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจใน มรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้กลับใจมาเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์แจกหนังสือธรรมะ

๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียว ก็ตาม การให้อภัยทานก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่น แม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะการให้อภัยทาน เป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ "โทสกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหาร ข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคล ที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ ย่อมเป็นผู้ทรงญาณ ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรม ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท""ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทาน จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าทานทั้งปวง

อย่างไรก็ดี การให้อภัยทาน แม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่นๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้น ก็ยังอยู่ในระดับที่ตํ่ากว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการทำบุญบารมีคนละขั้นต่างกัน

อานิสงส์การสร้างมหาธาตุเจดีย์

การสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือ อัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชา
ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นการสร้างมงคลให้กับตนเองอย่างสูงสุด เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย การมีส่วนร่วมสร้างพระเจดีย์จะมากหรือน้อย ถ้าทำด้วยความเลื่อมใส ก็ย่อมได้อานิสงส์มากมาย ดังตัวอย่างที่หยิบยกมาให้ท่านได้อ่านต่อไปนี้

พระเถระรูปนี้ในชาติก่อนมีส่วนร่วมสร้างเจดีย์ เพียงท่านใส่ก้อนปูนขาวลงใน
ช่องแผ่นอิฐ ซื่งประชาชนกำลังก่ออิฐสร้างเจดีย์อยู่ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยจิตใจที่เลื่อมใส อำนาจแห่งบุญนั้นได้บันดาลให้ท่านไปเกิดในสวรรค์ และโลกมนุษย์ถึง ๙๔ กัปป์ พอมาถึงสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม ท่านได้มาบวชในพระพุทธศาสนาท่านคือ พระสุธาบิณฑิยเถระ

และยังมีเรื่องเล่าจาก พระมหาโมคคัลลานะเถระ ว่าท่านได้พบเทพบุตรตนหนึ่ง
มีวิมานสวยงามวิจิตรตระการตา แวดล้อมด้วยนางฟ้าจำนวนมาก มาฟ้อนรำขับร้องให้เบิกบานใจ และเทพบุตรตนนี้มีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือเทพบุตรทั้งปวง ท่านจึงถาเทพบุตรตนนั้นว่า เมื่อท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้หรือ ท่านถึงมีอานุภาพมากมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เทพบุตรตนนั้นตอบว่า แต่ก่อนเมื่อเป็นมนุษย์ได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ออกบวชอยู่ ๗ พรรษา และเป็นสาวกของพระศาสดานามว่า สุเมธ

ต่อมาได้ดับขันธปรินิพพานแล้ว พระบรมสารีริกธาตุของท่านบรรจุไว้ในรัตนเจดีย์ซึ่งห่อหุ้มด้วยข่ายทองคำ ท่านได้ชักชวนประชาชนให้ไปสักการบูชาด้วยความเลื่อมใส กุศลจะส่งผลให้ขึ้นสวรรค์ ด้วยบุญนี้เองทำให้ข้าพเจ้าได้มาเสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานนี้เอง

ส่วนพระมหากัสสปะเถระนั้น ท่านได้พบเปรตตนหนึ่งมีกลิ่นเหม็นเน่า มีหนอนกินปาก นอกจากนี้ยังถูกยมบาลเฉือนปาก แล้วลาดน้ำให้แสบร้อน จึงถามถึงผลกรรมของเปรตนั้น ทราบว่าแต่ก่อนตอนเป็นมนุษย์ ตนเป็นชาวนครราชคฤห์ได้ห้ามมิให้บุตร ภรรยา บูชาพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมกับเล่าถึงพวกที่มีความคิดและกระทำเหมือนตน ส่วนภรรยา และบุตรของตนได้ไปเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ มีวิมานสวยสดงดงาม เพราอานิสงส์ที่ได้ไปใหว้พระบรมสารีริกธาตุ สำหรับตนเองนั้นตั้งใจไว้ว่า หากได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง จะทำการบูชาพระสถูปเจดีย์ให้มากอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ในครั้งพุทธกาล พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถี
พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารเป็นอันมาก ครั้นถึงหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นทรายขาวผ่องบริสุทธิ์ยิ่งนัก ทรงมีพระทัยเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ได้รับสั่งให้ช่วยกันก่อกองทรายให้เป็นรูปเจดีย์ถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ มองดูเป็นทิวแถวสวยงาม เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เสร็จแล้วได้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่บุบผารามมหาวิหาร แล้วได้ทูลถามถึงอานิสงส์ แห่งการก่อเจดีย์ทรายพระพุทธเจ้าตรัสว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ผู้มีศรัทธาแรงกล้าได้ก่อเจดีย์ทรายถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ หรือแม้แต่องค์เดียว ก็ย่อมได้รับอานิสงส์มาก จะไม่ตกนรกตลอดร้อยชาติ

ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ จะอุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง มีชื่อเสียงเกียรติยศไปทั่วทุกทิศ จากนั้นจะได้ไปสวรรค์เวยทิพย์สมบัติ การก่อเจดีย์ทรายเป็นเรื่องของผู้มีความฉลาด มีความคิดดี ได้ทำเป็นประเพณีมาแล้วในอดีต แม้พระตถาคตเองก็เคยทำมาแล้วในครั้งเป็นพระโพธิ์สัตว์

ในครั้งนั้นตถาคตยากจนมาก มีอาชีพตัดฟืนขาย วันหนึ่งได้พบทรายขาวสะอาดมากในราวป่า ก็มีจิตใจศรัทธาผ่องใส วันนั้นได้หยุดตัดฟืนทั้งวัน ได้กวาดทรายก่อเป็นเจดีย์โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก แล้วเปลื้องผ้าห่มของตน ฉีกทำเป็นธงประดับไว้ เพื่อบูชาพระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วอฐิษฐานจิตขอให้เป็นปัจจัยแห่งพระโพธิ์ญาณในอนาคตกาล ครั้นเมื่อตายไปแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่ ๒ พันปีพิพย์ เมื่อสิ้นอายุขัย ได้อุบัติมาเกิดเป็นพระตถาคตนี้เอง สำหรับพระเจ้าปัสเสนทิโกศลนั้น ก็ได้รับพยากรณ์ว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า

และพระมหากัสสปเถระ ยังได้กล่าวถึงประวัติและผลบุญแห่งการสร้างพุทธเจดีย์
ของท่านไว้ดังนี้ ในครั้งที่พระพุทธเจ้ามีนามว่าปทุมมุตตระ พระองค์ได้ปรินิพพานแล้ว

พระมหากัสสปเถระได้ชักชวนหมู่ญาติมิตร และประชาชน ให้มาร่วมกันสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้ากันเถิด ทุกคนมีจิตเลื่อมใส ปิติอิ่มเอมใจ จึงได้ช่วยกันสร้างเจดีย์สูงค่าเสร็จลงด้วยความเรียบร้อย เจดีย์สูงร้อยศอก สร้างปราสาทห้าร้อยศอก สูงตระหง่านจรดท้องฟ้า ทุกคนมีจิตปิติเบิกบานในอานิสงส์บุญที่ได้พากันทำไว้ เมื่อท่านตายไปแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่บนยานทิพย์เทียมด้วยม้าสินธพพันตัว วิมานของท่านสูงตระหง่านเจ็ดชั้น มีปราสาทหนึ่งพันองค์ ซึ่งสร้างด้วยทองคำ ศาลาหน้ามุขสร้างด้วยแก้วมณี ส่องแสงสว่างเจิดจ้าไปทั่วสารทิศ ทั้งยังมีอำนาจเหนือเทวดาทั้งปวง เมื่อลงมาเกิดในโลกมนุษย์ ในกัปป์ที่หกหมื่นในภัทรกัปป์นี้ ได้เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ ครอบครองอานาเขตไปถึง ๔ ทวีป มีแก้วแหวนเงินทองมากมาย ประชาชนมีความสุขสำราญเหมือนดั่งเมืองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และชาติสุดท้ายได้มาเกิดในสกุลพราหมณ์ที่ร่ำรวย แต่สละทรัพย์ออกบวช จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผู้เลิศด้วยปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖


การสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรืออัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าพระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิเป็นการสร้างมงคลให้กับตนเองอย่างสูงสุดเมื่อตายไปย่อมสูสุขคติโลกสวรรค์ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรมและบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย การมีส่วนร่วมสร้างพระเจดีย์จะมากหรือน้อยถ้าทำด้วยความเลื่อมใสก็ย่อมได้รับอานิสงส์มากมายดังตัวอย่างจากพระไตรปิฎกสุตตันตปิฎกในมังคลัตถทีปนีว่าด้วยการบูชา ดังนี้..... "พระสุธาปิณฑิยเถระพระเถระรูปนี้ในชาติก่อนมีใจเลื่อมใสได้ใส่ก้อนปูนขาวในระหว่างแผ่นอิฐซึ่งประชาชนกำลังก่ออิฐสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะด้วยอำนาจแห่งบุญนั้นได้บันดาลให้ท่านได้ไปเกิดในสวรรค์และโลกมนุษย์ถึง 94 กัปป์" ..... พระมหากัสสปเถระยังได้กล่าวถึงประวัติและผลบุญแห่งการสร้างพุทธเจดีย์ของท่านไว้ดังนี้ในครั้งที่พระพุทธเจ้ามีนามว่าปทุมมุตตระ พระองค์ได้ปรินิพพานแล้วพระมหากัสสปเถระได้ชักชวนหมู่ญาติมิตรและประชาชนให้มาร่วมกันสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้ากันเถิดทุกคนมีจิตเลื่อมใสปิติอิ่มเอมใจจึงได้ช่วยกันสร้างเจดีย์สูงค่าเสร็จลงด้วยความเรียบร้อย เจดีย์สูงร้อยศอกสร้างปราสาทห้าร้อยศอกสูงตระหง่านจรดท้องฟ้าทุกคนมีจิตปิติเบิกบานในอานิสงส์ผลบุญที่ได้พากันทำไว้เมื่อท่านตายไปแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่บนยานทิพย์เทียวด้วยม้าสินธพพันตัววิมานของท่านสูงตระหง่านเจ็ดชั้นมีปราสาทหนึ่งพันองค์ ซึ่งสร้างด้วยทองคำศาลาหน้ามุขสร้างด้วยแก้วมณีส่องแสงสว่างเจิดจ้าไปทั่วสารทิศ ทั้งยังมีอำนาจเหนือเทวดาทั้งปวงเมื่อลงมาเกิดในโลกมนุษย์ในกัปป์ที่หกหมื่นในภัทรกัปป์นี้ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ครอบครองอาณาเขตไปถึง 4 ทวีปมีแก้วแหวนเงินทองมากมายประชาชนมีความสุขสำราญเหมือนดั่งบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งท่านเป็นอย่างนี้ถึง 33 ครั้งทั้งหมดเกิดจากผลบุญที่ได้ทำไว้จากการสร้างเจดีย์และชาติสุดท้ายได้มาเกิดในสกุลพราหมณ์ที่ร่ำรวยแต่สละทรัพย์ออกบวชจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผู้เลิศด้วยปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6 การสร้างเจดีย์มีอานิสงส์มากมายเกินกว่าจะพรรณนาการได้มาซึ่งโอกาสพิเศษที่จะสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น นับเรื่องที่กระทำได้ยากยิ่ง    






• มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ

• วัดนางนอง วรวิหาร

• ความสุขไม่ได้อยู่ที่จุดหมายปลายทางของการปฏิบัติเท่านั้น เราต้องหาความสุขระหว่างการเดินทางไปด้วย

• 06 (18/01/2566) ธรรมบรรยาย (ภาคเช้า)

• ฝึกจิตให้มีกำลังตั้งมั่น :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 11 ธันวาคม 2565

• ปรทัตตูปชีวีเปรต เขียนโดย สืบ ธรรมไทย

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย