เชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารดินแพร่ธรรมจักร ขาดงบประมาณอีก 20 % จะแล้วเสร็จ

 phraedhammajak    31 ก.ค. 2561

เชิญร่วมทำบุญสร้างวิหารดินที่สำนักปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร ตำบลบ้านกวาง
อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 089 2137759

วิหารดินสำนักปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักรได้ดำเนินการก่อสร้าง ได้มา 80% ยังขาดงบประมาณที่จะดำเนินการต่อ อีกประมาณ 20 % (ประมาณ 2 แสนบาท) ที่ยังไม่มีงบประมาณ ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้า / ค่ากระจกประตูหน้าต่างพร้อมวัสดุ และมุ้งลวด / ค่าติดสันบัวหลังคา / ค่าทำสี / ค่าไม้เพดานบางส่วน / ค่าราวระเบียงบันได / ค่าปูน ทราย ปูกระเบื้อง / ค่าแรง ) เพื่อให้งานสร้างวิหารให้แล้วเสร็จไม่ขาดช่วง สามารถใช้บำเพ็ญบุญ เป็นที่เจริญสมาธิภาวนา และทำกิจของสงฆ์ต่อไปได้โดยเร็ว ทางสำนักแพร่ธรรมจักรจึงขอเชิญญาติโยมผู้ใจบุญร่วมทำบุญสร้างบารมี ได้ร่วมสร้างเสนาสนะทานในครั้งนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว สาธุ


ติดต่อสอบถามร่วมบุญได้ที่ พระอาจารย์กฤษกร กิตติปญโญ เจ้าสำนักสงฆ์แพร่ธรรมจักร บ้านน้ำพุ ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โทรสอบถาม 089 213759 หรือร่วมทำบุญได้ที่ธนาคารกรุงไทย โครงการสร้างวิหารดิน แพร่ธรรมจักร สาขาสูงเม่น เลขที่ 986-6-56142-9 ขออนุโมทนาบุญ สาธุ
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ เฟชบุ็ค แพร่ธรรมจักร https://cdn.jsdelivr.net/gh/tatikers/san/dhamma.js">   




อานิสงส์ของการสร้างพระวิหารถวาย ที่รวบรวมได้

1. เนื้อความในมิลินทปัญหา ตอนอนิเกตานาลยกรณปัญหา ความว่า พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามปัญหาซึ่งพระนาคเสนเกี่ยวกับการพักอาศัยของพระภิกษุในวิหารว่า
"บรรพชิตควรเป็นเพศที่หาที่อยู่มิได้ ไม่ควรอยู่เป็นหลักแหล่ง หาอาลัยที่อาศัยมิได้" พระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า
"สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามี พุทธฎีกาโปรดว่า พระองค์มิได้ทรงห้ามในเรื่องที่อยู่อาศัยของภิกษุ แต่ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุติดในที่อยู่อาศัย
เมื่อพำนักอยู่ชั่วคราวแล้วให้เที่ยวจาริกไป คือ สมควรแก่สมณะ เป็นสมณะสารูป ชอบแก่สมณะ ควรแก่สมณะ เป็นอารมณ์แก่สมณะ และเป็นที่ปรารถนาแก่สมณะ
การที่ทายกได้สร้างวิหารที่พำนักอาศัยแก่ภิกษุ เป็นที่สรรเสริญ ยินยอมแก่สมเด็จพระพุทธเจ้าแต่ก่อนมา
อานิสงส์ของผู้สร้างวิหารถวาย ย่อมส่งผลให้ผู้ถวายอาจสำเร็จ พระนิพพาน พ้นจากทุกข์ ๔ คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ และมรณะทุกข์
อานิสงส์อีกประการหนึ่งของการสร้างวิหารถวายย่อมทำให้ภิกษุที่เที่ยวจาริกไป ทำให้ผู้มีศรัทธาพบได้ด้วยยากนั้น เมื่อสร้างที่พำนักอาศัยถวายแก่พระภิกษุให้เป็นที่พำนักอาศัยแล้ว
ผู้มีจิตศรัทธาปสาทะย่อมไปพบเพื่อทำบุญให้ทานได้โดยง่าย นี้เป็นอานิสงส์ของการสร้างวิหารถวาย"

2. อานิสงส์การถวายสังฆทาน วิหารทาน และธรรมทาน

“ถวายทานกับพระอรหันต์ 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับ ถวายทานกับพระพุทธเจ้า 1 ครั้ง

ถวายทานกับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน 1 ครั้ง

และถ้าถวายสังฆทาน 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทาน 1 ครั้ง คือ สร้างวิหาร มีการก่อสร้าง เช่น สร้างสุขา ศาลาการเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น"

3. ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ท่านได้เกิดเป็นกุฎุมพีในกรุงพาราณสี เป็นหัวหน้าของช่างหูก อาศัยการทอผ้าเลี้ยงชีวิต มีอยู่วันหนึ่ง
มหาชนได้ป่าวประกาศให้ไปฟังธรรมกันในพระวิหาร กุฎุมพีท่านนี้ได้ยินแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส จึงชักชวนภรรยาและเพื่อนบ้านไปฟังธรรม ในขณะที่ท่านเดินทางไปนั้น
ฝนได้ตั้งเค้าขึ้นอย่างฉับพลันแล้วก็ตกลงมาโดยที่ยังไม่ทันได้ตั้งตัวญาติโยมที่มีความคุ้นเคยกับพระภิกษุสามเณรรูปไหน หรือเคยได้ร่วมบุญสร้างศาลาหลังไหนเอาไว้
ก็พากันเข้าไปพักพิงในกุฏิหรือศาลาเหล่านั้น เหลือแต่กุฎุมพีพร้อมด้วยภรรยาและเพื่อนๆ ที่ไม่กล้าเข้าไปหลบฝนในศาลาหลังไหน เพราะว่าตนเองไม่มีความคุ้นเคยและไม่รู้จักภิกษุสามเณรรูปใดเลย
อีกทั้งยังไม่เคยได้สร้างศาลาวิหารเอาไว้ จึงได้แต่ยืนกลางร่มอยู่กลางแจ้ง ต้องเปียกปอนไปตามๆ กัน หัวหน้าช่างหูกเป็นคนฉลาด ปรารภเหตุที่ตัวเองต้องมายืนตากฝนอย่างนี้ จึงได้เอ่ยขึ้นว่า
ที่เราต้องยืนตากฝนเปียกปอนไปตามๆ กัน ก็เพราะเราไม่เคยได้ทำบุญสร้างศาลาวิหารถวายวัดเลย เราควรร่วมมือร่วมใจกันสร้างวิหารหลังใหญ่สักหลังหนึ่ง จะได้อาศัยร่มเงาในบวรพระพุทธศาสนา
เพื่อสร้างบารมีอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องลำบากกันอย่างนี้ เกิดกี่ภพกี่ชาติจะได้มีที่อยู่อาศัย มีเสนาสนะไว้สำหรับประพฤติธรรมอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องมายืนเปียกฝนเช่นนี้อีกต่อไป
เพื่อนๆ ได้ฟังอย่างนั้นก็เห็นด้วย จึงร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างมหาวิหารให้ใหญ่กว่าของใครๆ ไว้ในบริเวณวัดนั้น หัวหน้าช่างหูกได้บริจาคทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะ คนที่เหลือก็บริจาคกันคนละ ๕๐๐
พวกผู้หญิงบริจาคคนละ ๒๕๐ แล้วเริ่มทำการก่อสร้าง หวังไว้ว่ามหาวิหารนี้จะเป็นที่สร้างบารมีและเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดา แต่เมื่อทรัพย์ไม่เพียงพอในการก่อสร้าง
หัวหน้าช่างหูกก็เทกระเป๋าทุ่มสุดตัวสุดหัวใจ อีกทั้งภรรยาและเพื่อนๆ ก็ได้ทุมเทเช่นนั้นตามด้วย เพื่อให้การก่อสร้างสำเร็จทันใช้งาน เมื่อสร้างสำเร็จก็ได้ทำการฉลองด้วยการถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน
แล้วจัดจีวรถวายพระทั้งสองหมื่นรูป ฝ่ายภรรยาของหัวหน้าช่างหูก นอกจากจะทำบุญเหมือนคนอื่นๆ แล้ว ยังตั้งใจจะถวายทานที่พิเศษกว่าใครๆ จึงได้ถือเอาผอบดอกอังกาบกับผ้าสาฎกที่มีสีเหลืองเหมือนดอกอังกาบน้อมเข้าไปถวายพระบรมศาสดา
แล้วตั้งความปรารถนาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอสรีระของหม่อมฉันจงมีสีดุจดอกอังกาบนี้ และขอให้หม่อมฉันจงมีนามว่าอโนชาด้วยเถิด” พระบรมศาสดาก็ได้ทรงอนุโมทนา
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา หัวหน้าช่างหูกและเพื่อนๆ ก็เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า และหาโอกาสสั่งสมบุญเรื่อยมา ทำให้จิตผูกพันกับพระรัตนตรัย เมื่อละโลกไปแล้ว
ด้วยอานิสงส์ที่ได้ทำบุญถวายวิหารในครั้งนั้น ทำให้ได้ไปเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลานานถึงหนึ่งพุทธันดร เมื่อจุติจากอัตภาพนั้น ก็มาบังเกิดในราชตระกูล ในกุกกุฏวดีนคร ได้เป็นพระราชา
พระนามว่ามหากัปปินะ พระองค์มีมเหสีคู่บุญชื่อว่า อโนชา ซึ่งมีผิวพรรณเหมือนดอกอังกาบตามที่ปรารถนาเอาไว้ ส่วนผู้ที่เคยร่วมบุญกันมา ก็ตามลงมาเกิดเป็นอำมาตย์ข้าราชบริพาร
มีอยู่วันหนึ่ง เพียงแค่ได้ยินถ้อยคำอันเป็นสิริมงคลว่า พุทฺโธ โลเก อุปฺปนฺโน พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วก็เกิดมหาปีติซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ทั้งพระราชา มเหสี รวมไปถึงเสนาอำมาตย์ข้าราชบริพาร
ต่างก็พร้อมใจกันเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทันที พระบรมศาสดาทรงเห็นว่าพระเทวีและบริวารได้สั่งสมบุญมาดี เคยถวายผ้าไตรจีวรเอาไว้มาก จึงประทานการบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
และในการฟังธรรมครั้งที่ ๒ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิตกันหมดทุกคน

เราจะเห็นว่าการทำบุญถวายวิหารทานนี้ เป็นบุญใหญ่จริงๆ เพราะเป็นสถานที่รองรับผู้มีบุญที่จะมาสร้างบารมี บุญนั้นเป็นบุญใหญ่ที่ส่งผลข้ามภพข้ามชาติ ทำให้ได้ทั้งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ เหมือนอย่างนายช่างหูก
ผู้พลิกผันชีวิตจากสามัญชนกลายมาเป็นพระราชา จากชีวิตของปุถุชนคนธรรมดากลายมาเป็นพระอริยเจ้าได้

4. เป็นอานิสงส์ยิ่งใหญ่ไพศาล เมื่อยังชีพอยู่ก็เจริญด้วยอายุวรรณะ สุขะ พละ มีผู้คนชื่นชมยกย่องอุดมไปด้วยเกียรติลาภยศ เต็มไปด้วยความองอาจกล้าหาญเสมอไปทุกที่
เมื่อสิ้นชีพดับขันธ์แล้วจะเสวยสุขอยู่ในสรวงสวรรค์อันเป็นบรมสุข


• การ์ตูนธรรมะ

• โครงการ “บวชพุทธสาวกสาวิกา” เจริญภาวนาตามหลัก“มหาสติปัฏฐานสูตร” ด้วยวิธี "ไตรสิกขา"

• วัดวังผาแดง ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

• "ทานกับความตระหนี่" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

• คนเรากำลังมีลักษณะเอาหัวลงเอาเท้าขึ้น บูชาวัตถุยิ่งกว่าจิตใจ

• วัดตันตยาภิรม

RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย