ปาจิตตีย์ แปลว่า ผู้มีจิตเสื่อม


นัยของพระธรรมเทศนา ปาจิตตีย์วรรค คัมภีร์ปาจิตตีย์ภิกขุวิภังค์
เกี่ยวกับอาบัติปาจิตตีย์ ต้นเหตุชาวบ้านติเตียน คำว่าชาวบ้านติเตียนนี้จะมีอยู่เยอะทีเดียวแหละ
หมายถึงว่าทำอะไรที่เหมือน ๆ ชาวบ้าน
คำติเตียนลักษณะที่บ่งบอกถึงพฤติกรรม พฤติกรรมที่เหมือนชาวบ้าน
พฤติกรรมที่เหมือนคฤหัสถ์ การขุดดินปลูกต้นไม้ การนุ่งการห่ม
การใช้คำพูดการเดินแสดงอากัปกิริยา การขบฉัน การดื่ม
ทั้งนี้ทั้งนั้นเขาเพียงแต่ตำหนิ แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าละเลย
คือที่เขาตำหนิเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็แล้วแต่แหละ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ทรงบัญญัติเป็นข้อห้ามเบื้องต้น แต่นั้นเมื่อมี ข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่มันขัด
ก็จะทรงอนุญาติ ทรงบัญญัติเป็นอนุบัญญัติเพิ่มเติมเข้ามา
เหมือนอย่างที่ว่า ห้ามขุดดินนี่แหละ อย่างห้ามขุดดินนี้
ก็มีสิกขาบทอื่น ที่เป็นข้อยกเว้น ข้อยกเว้นพิเศษ
เช่นภิกษุถูกงูกัดไม่มีบุคคลที่จะมาหายา หารากยา ภิกษุขุดเองได้ไม่ต้องประเคน
ทำเป็นยาดื่มหรือพอกทาเวลาถูกงูสัตว์กัดตอยอย่างเนี้ย
อันนี้เรียกว่าเป็นข้อยกเว้น หรือเหมือนกับในนิสสัคคียปาจิตตีย์
ที่กล่าวถึงเรื่องของสันถัต สันถัต ก็หมายถึงผ้าปูนั่งที่หล่อด้วยขนแกะ
หล่อด้วยขนสัตว์ต่าง ๆ ก็เป็นอาสนะนั้นแหละ แต่ว่าอาสนะนั่งมันหนา
ไม่ใช่อาสนะผืนบาง ๆ อย่างนิสีทนะ ที่เราใช้อยู่นี้
อาสนะหนา หล่อเรียกว่าสันถัต เขาเรียกว่าสันถัต
ภิกษุเมื่อหล่อแล้วต้องใช้ให้ได้ 6 ปี อย่างนี้ ถ้าไม่ถึง 6 ปี
ห้ามเปลี่ยน ! ทีนี้พอบัญญัติว่าไม่ให้เปลี่ยน มีพระป่วย พระป่วยอยู่ในป่า
ญาติต้องการอยากจะให้อยู่ใกล้ ๆ เพื่อที่จะได้พยาบาล
ดูแลแต่พระท่านไม่ไป เพราะท่านบอกว่าพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า
เมื่อทำสันถัตแล้วให้ใช้ให้ได้ถึง 6 ปี ถึงจะเปลี่ยนใหม่ได้
ทีนี้ท่านทำแล้วท่านใช้ได้ยังไม่ถึง 6 ปี
แต่ว่าท่านป่วย ถ้าไม่มีสันถัตนั่งก็นั่งไม่สะดวก คงเป็นลักษณะกระดูกเคลื่อน
หรือสะโพกเป็นบาดเป็นแผลทำนองนี้ ถ้าไม่มีอาสนะหรือสันถัตท่านนั่งไม่ได้
นั่งไม่สะดวก แล้วถ้าจะให้เอาไปด้วยก็เอาไปไม่ไหว เพราะว่ามันหนัก
ท่านก็เลยไม่ไป ขออยู่ขออยู่ใช้สันถัตนั้นต่อไป ภิกษุทั้งหลายไปเห็น
ทราบเรื่องก็ไปกราบเรียนพระพุทธเจ้าว่ามีพระป่วย ลักษณะอย่างนี้
พระพุทธองค์ก็ทรงบัญญัติเป็นอนุบัญญัติขึ้นมานั้นแหละ
เรียกว่า อัญญัตระ สัมมทิยา ต้องให้สงฆ์นี้ประกาศ
ว่าภิกษุรูปนี้ป่วยไม่สามารถที่จะเอาสันถัตไม่ได้
ถ้าไปแล้วไปทำสันถัตใหม่นี้ได้
สันถัตนั้นใช้ไม่ถึง 6 เดือน ก็ให้เปลี่ยน
เพราะว่าไม่สามารถที่จะเอาติดตัวไปได้
ก็ให้ไปทำใหม่ นิเรียกว่าทรงบัญญัติเป็นอนุบัญญัติ
เป็นข้อยกเว้นให้เฉพาะ พระเมตตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงบัญญัติเพื่อที่จะให้กุลบุตรผู้ที่เข้ามาบรรพชาอุปสมบท
ประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยความศรัทธาด้วยความเลื่อมใส
ด้วยความเอื้อเฟื้อด้วยความเคารพนั้นแหละ
เรียกว่าพระพุทธเจ้าทรงพระเมตตาขนาดไหน
การเข้ามาบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยของพระพุทธองค์นี้
เราจึงเพียรพยายามที่จะประพฤติตาม
ปฏิบัติตาม
เรียกว่าไม่บัญญัติกฎระเบียบกติกาหรือหาลู่ทาง
แนวทางการประพฤติปฏิบัติหลีกเลี่ยงจากข้อที่พระองค์
ทรงบัญญัติไว้แล้วด้วยดีนี้
เรียกว่าหาทางธรรมเพื่อที่จะให้มัน รอดพ้นจากจากคำว่าต้อง
คำว่าต้องหมายถึงอาบัติ หรือ ต้อง
ถ้าคนมีความคิดเห็นอย่างนี้ก็จะแสดงให้ความคิดเห็น สภาพทางด้านจิตใจ
ที่เริ่มตกต่ำ หรือเริ่มเสื่อมนั้นแหละ
อาบัติปาจิตตีย์นี้ทั้งหลาทั้งปวงที่ทรงบัญญัติ ปาจิตตีย์
จิตติ ก็แปลว่า จิต
ปา ก็แปลว่า เสื่อม แปลว่า บาป แปลว่า อกุศลก็ได้
ปา - ทั่ว,ยิ่ง,กลับความ
ปา แปลว่าทั่ว แปลว่ายิ่ง แปลว่ากลับความ
แต่ท่านให้ความหมายสั้น ๆ ว่า ปาจิตตีย์หมายถึง
ผู้มีจิตเสื่อม ผู้มีจิตตกต่ำ เพราะว่าเมื่อไม่เอื้อเฟื้อต่อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ
ก็แสดงให้เห็นว่าจิตตกต่ำ หรือจิตออกห่างก็ได้ จิตออกห่างจากพระพุทธเจ้า
ขาดความเคารพต่อพระพุทธเจ้า เมื่อขาดความเคารพต่อบรมครู
การที่จะประพฤติวัตร ปฏิบัติธรรม มุ่งหวังต่อมรรคต่อผลแนวทางที่พระพุทธองค์พาเดิน
ก็เดินตามไม่ได้เดินตามไม่ทันเดินตามไม่ถูก
เมื่อเดินตามไม่ถูก ทางนี้มีอยู่ทางเดียว ไม่มีทางอื่น ก็ไปไม่ถึง
ความหมายคืออย่างนั้น ดังนั้นอาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่กล่าวถึงนี้
ปาจิตตีย์ก็ไม่ใช่ว่าเล็ก ๆ น้อย ๆ นะ
บางที่บางแห่งเขาถือว่าไม่สำคัญเลยแหละ ตัดต้นไม้
ขุดดิน โดยความพอใจสมัครใจ ตามความคิดความเห็นของตนเองเลยแหละ
ลักษณะอย่างนี้แหละเป็นการย้ำยี เหยียดหยาม ดูถูกดูแคลน
พระประสงค์ของพระพุทธเจ้า สภาพจิตนั้นเสื่อมก็หาความเจริญนั้นได้ยาก
เรียกว่าประมาทต่อคำสอนของพ่อ ของสมเด็จพ่อ พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นสมเด็จพ่อ
เราจะทำอะไรก็แล้วแต่ นึกถึงพระองค์อยู่เสมอ จะพูดจะทำจะคิด
นึกถึงพระประสงค์ของพระพุทธองค์ ที่ทรงพระเมตตาแนะนำพร่ำสอน
เพื่อที่จะจูงพวกเราจูงจิตใจของพวกเรา จูงพฤติกรรม
จูงแนวทางต่าง ๆ หรือ ตะล่อมให้เข้าไปหาแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องดีงาม
สำคัญนะ การประพฤติปฏิบัติตาม ธรรมวินัยนี้ ก็จะทำให้เกิดความรุ่งเรือง
ทางการเจริญสมณะธรรม ดังนั้นพระวินัยจึงเป็นของละเอียด
บางทีถ้ามองว่าไม่ใช้เป็นของสำคัญ มันก็เหมือนกับเป็นการประกาศตัวเราเองว่า
ไม่ได้เคารพพระพุทธเจ้า ไม่เคารพในบรมครู ก็ไม่ถูกต้องแหละ
ก็แสดงให้เห็นถึงจิตดวงนั้นเสื่อม หรือออกห่างจากที่พระพุทธองค์
ทรงแนะนำพร่ำสอนว่าให้มีความเคารพ สิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ นิ
ที่กล่าวไว้ในโอวาทะปาฏิโมกข์นั่น ที่ว่า สำรวมในพระปาฏิโมกข์
เห็นภัยต่อความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ภะยะทัส สีวา เห็นภัย
เห็นภัยในสิกขาบทข้อบัญญัติเล็ก ๆ น้อย ๆ คำว่าเห็นภัยก็หมายถึงว่ากลัว
ภะยะนี้แปลว่ากลัว ภะยะนี้แปลว่ากลัว ถ้าไม่เห็นภัยก็แปลว่าไม่เคารพ
ไม่กลัวต่อสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ท่านสอนไว้ว่าเห็นภัยในสิกขาบทเล็ก ๆน้อย ๆ
ถึงจะเรียกว่าเป็นภิกษุ หรือเป็นผู้มีศีล ภิกขุสีลวาโหติ แปลว่า ภิกษุผู้มีศีลหรืออย่างไร
คือเป็นผู้สำรวมในพระปาฏิโมกข์ สำรวมอินทรีย์แล้วเห็นประพฤติปฏิบัติในข้อบัญญัติ
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ และเห็นภัยต่อข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ละเมิด
ต่อข้อบัญญัตินั้น ๆ ปฏิบัติตามข้อที่ทรงอนุญาตินั้น ๆ อันนี้ก็จัดว่าเป็น มรรค คือแนวทางการปฏิบัติ
ที่ถูกต้องดีงาม ที่เราจะต้องพยายามรักษาไว้ มันแสดงออกถึงความเคารพ ความเอื้อเฟื้อนั้้นแหละ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พ่อแม่ครูอาจารย์พาประพฤติปฏิบัติ เช่นการไม่สวมรองเท้าเข้าระแวกบ้านอย่างนี้
การซ้อนสังฆาฏิ เวลาไปภิกขาจารย์บิณฑบาต หรือซ้อนผ้า 2 ชั้นไปในกิจ
หรือไปในบ้าน ไปในกิจนิมนต์ เหล่านี้ล้วนเป็นแต่ข้อปฏิบัติที่ดี ๆ ทั้งนั้น
บ่งบอกถึงความเอื้อเฟื้อที่มีต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การขบฉันการเดินการพูดการจา การใช้เวจกุฎี หรือ ห้องน้ำ เหล่านี้
สำคัญทั้งหมดนั้นแหละ
ฉะนั้นเราฟังบ่อย ๆ มันก็จะทำให้เราเหมือนกับถูกเตือน
ถูกใครเตือนก็ถูกพระพุทธเจ้านั้นแหละเตือน เพราะพระพุทธเจ้าบัญญัติ
เราฟังบ่อย ๆ เราอ่านบ่อย ๆ เราทบทวนบ่อย ๆ ก็เหมือนกับเราถูกพระพุทธเจ้าเตือนบ่อย ๆ นะ
ขนาดเตือนบ่อย ๆ แล้วจิตมันยังไม่ลง มันยังไม่ยอม ยังไม่เคารพยังไม่สงบ ยังจะพยศ
ดื้อด้านต่อคำสอนคำสั่งบรมครูอยู่มันก็แสดงให้เห็นถึงว่า ดื้อด้านพอควรแหละ
เพราะว่าวินัยที่ทรงบัญญัติเพื่อบังคับควบคุม ผู้หัวดื้อคนหัวดื้อ
ถ้าหัวดื้อก็จะไม่ยอมประพฤติตามปฏิบัติตาม ก็ต้องมีข้อบังคับอื่น ๆ
อย่างในข้อที่กล่าวถึงนี้ โย ปะนะ ภิกขุ ปะฐะวิง ขะเณยยะ วา ขะณาเปยยะ วา
ปาจิตตียัง
ก็ภิกษุใดขุดเองก็ดี ยังบุคคลอื่นให้ขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดินต้องปาจิตตีย์
แผ่นดินก็มีหลายระดับที่ท่านอธิบายขยายความไว้
ฉะนั้นการใช้กัปปิยโวหาร แปลว่าคำพูดที่สมควร
เท่ากับใช้ว่าพิจารณา หรือจัดการจัดแจง ก็เป็นการเอื้อเฟื้อ
ท่านว่าไม่ให้ใช้ตรง ๆ ใช้แต่เพียงบอกว่า ผู้ที่ทำนั้นเกิดความเข้าใจ เกิดความฉลาดในการที่จะทำ
เช่นอยากจะได้คลองตรงนี้นะ มันยังไงมันถึงจะเป็นไปได้นิ
ผู้ฉลาดเขาก็ทำให้ ไปลงมือทำเองก็ไม่ได้ถ้าใช้เขาตรง ๆ ก็ไม่ได้
ก็ต้องบอกอุบาย นั้นละ คือความเอื้อเฟื้อต่อพระวินัย
เหมือนที่เราเรียกกัปปิยะ ทำกัปปิยะ หรือเรียกรูปียะว่า ปัจจัยอย่างนี้
ใช้กัปปิยะโวหารให้เหมาะให้ควร เป็นการแสดงความเคารพ
ถ้าว่าตรง ๆ ทำตรง ๆ เขาเรียกว่าไม่มีความละอาย ขาดหิริโอตัปปะ
กล้าในทางที่ผิด อันนี้ก็พากันพึ่งระมัดระวัง ...

ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
ศุกร์ที่ 21 มกราคม 65   

ที่มา : https://youtu.be/KBHP8NdJADE

7,782







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย