กตัตตากรรม - กบิลดาบส
กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ,
กรรมที่เป็นกุศลก็ตามอกุศลก็ตาม สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง
หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร
ย่อมไม่มีความหมายจะให้
ถูกใคร ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน ดู กรรม ๑๒
กตัตตาวาปนกรรม
ดู กตัตตากรรม
กติกา (ในคำว่า
“ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”) ข้อตกลง, ข้อบังคับ, กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้
คือข้อที่สงฆ์ ๒
อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมี ส่วนได้รับแจกด้วย
ทายกกล่าวคำถวายว่า
“ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์” ลาภที่ทายกถวายนั้น ย่อมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย
กถา ถ้อยคำ, เรื่อง,
คำกล่าว, คำ อธิบาย
กถาวัตถุ ถ้อยคำที่ควรพูด,
เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ ๑. อัปปิจฉกถา
ถ้อยคำที่ชักนำให้มี
ความปรารถนาน้อย ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ๓.
ปวิเวกกถาถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกาย
สงัดใจ ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ๕.
วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น
๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิด
ปัญญา ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำ
ให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์
กนิฏฐภาดา, กนิษฐภาดา น้องชาย
กบิลดาบส ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะประเทศหิมพานต์
พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกกากราชพา
กันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า
กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดิน
ของกบิลดาบส