กบิลพัสดุ์ - กรรม๓
กบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ
ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส บัดนี้อยู่ใน
เขตประเทศเนปาล
กปิสีสะ ไม้ที่ทำเป็นรูปหัวลิง
ในวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนทเถระ ยืนเหนี่ยวไม้นี้ร้องไห้เสียใจ
ว่าตนยังไม่สำเร็จพระอรหัต พระพุทธเจ้าก็จักปรินิพพานเสียแล้ว
กพฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว
ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ
กรณียะ เรื่องที่ควรทำ,
ข้อที่พึงทำ, กิจ
กรมการ เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่งๆ
เช่น กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ เป็นต้น
กรมพระสุรัสวดี ชื่อกรมสมัยโบราณ
มีหน้าที่เกี่ยวกับการรวบรวมบัญชีเลขหรือชายฉกรรจ์
กรรโชก ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว
(แผลงมาจาก กระโชก)
กรรณ หู
กรรม การกระทำ
หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม
ชั่วก็ตาม เช่น
ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง
ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้
อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย
มีคนตกลงไปตายก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การ
กระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี” ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว”
กรรม ๒ กรรมจำแนกตามคุณภาพหรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุมี
๒ คือ ๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรม ชั่ว
คือเกิดจากอกุศลมูล ๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล
กรรม ๓ กรรมจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรมมี
๓ คือ ๑. กายกรรม การกระทำทางกาย ๒. วจีกรรม การ
กระทำทางวาจา ๓. มโนกรรม การกระทำทางใจ