ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

หมวด กรรม ๑๒ - กรรมกิเลส

กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ

หมวดที่ ๑ ว่าโดยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบันคือในภพนี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อ ๆ ไป
๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล

หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือ จำแนกการให้ผลตามหน้าที่ได้แก่
๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิดหรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือ เข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภก กรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาลงหรือสั้นเข้า
๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือ กรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว

หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
๙. ครุกกรรม กรรมหนักให้ผลก่อน
๑๐. พหุลกรรม หรืออาจิณณกรรม กรรม ทำมากหรือกรรมชินให้ผลรองลงมา
๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มีสองข้อ ก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
๑๒. กตัตตากรรม หรือกตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อนหรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

กรรมกรณ์ เครื่องลงอาชญา, ของสำหรับใช้ลงโทษ เช่น โซ่ ตรวน ขื่อ คา เป็นต้น

กรรมการ บุคคลในคณะซึ่งร่วมกันทำงานบางอย่างที่ได้รับมอบหมาย

กรรมกิเลส กรรมเครื่องเศร้าหมอง,การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี ๔ อย่างคือ ๑. ปาณาติบาต การทำชีวิตให้
ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติ
ผิดในกาม ๔. มุสาวาท พูดเท็จ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย