ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

หมวด กายทวาร - กายสังสัคคะ


กายทวาร - กายสังสัคคะ

กายทวาร ทวารคือกาย, กายในฐานเป็นทางทำกรรม, ทางกาย

กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย, ประพฤติชั่วทางกายมี ๓ อย่างคือ ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ดู ทุจริต

กายบริหาร การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ เช่นไม่ไว้ผมยาวเกินไป ไม่ไว้หนวดเครา ไม่ไว้เล็บยาว
ไม่ผัดหน้า ไม่แต่งเครื่องประดับกาย ไม่เปลือยกาย เป็นต้น

กายประโยค การประกอบทางกาย, การกระทำทางกาย

กายปัสสัทธิ ความสงบระงับแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือเจตสิกทั้งหลายให้สงบเย็น (ข้อ ๘ ในโสภณ
เจตสิก ๒๕)

กายปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลาย ให้แคล่วคล่องว่องไวรวดเร็ว
(ข้อ ๑๖ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายมุทุตา ความอ่อนโยนแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๒ ใน
โสภณเจตสิก ๒๕)

กายลหุตา ความเบาแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือ กองเจตสิกให้เบา (ข้อ ๑๐ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายวิญญัติ ความเคลื่อนไหวร่างกายให้รู้ความหมายเช่น สั่นศีรษะ โบกมือขยิบตา ดีดนิ้ว เป็นต้น

กายวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะโผฏฐัพพะกระทบกาย, โผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น

กายสมาจาร ความประพฤติทางกาย

กายสักขี “ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย”, “ผู้ประจักษ์กับตัว”, พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปจนถึงผู้ตั้งอยู่ใน
อรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มีสมาธินทรีย์แรงกล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นอุภโตภาควิมุต) ดู
อริยบุคคล ๗

กายสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ลมหายใจเข้า หายใจออก 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กาย
สัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม

กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย, การเคล้าคลึงร่างกาย, เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๒ ที่ว่าภิกษุมีความกำหนัด
ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม, การจับต้องกายหญิงโดยมีจิตกำหนัด




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย