กายสัมผัส - กาลทาน
กายสัมผัส สัมผัสทางกาย,
อาการที่กาย โผฏฐัพพะ และ กายวิญญาณ ประจวบกัน
กายสัมผัสสชาเวทนา
เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่กาย
โผฏฐัพพะและกาย
วิญญาณประจวบกัน
กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย,
ประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่างคือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจาก
ประพฤติผิดในกาม ดู กายทุจริต, สุจริต
กายานุปัสสนา สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า
กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นสติปัฏฐานข้อ
หนึ่ง ดู สติปัฏฐาน
กายิกสุข สุขทางกาย
เช่น ได้ยินเสียงไพเราะ ลิ้มรสอร่อย ถูกต้องสิ่งที่อ่อนนุ่ม เป็นต้น
กายุชุกตา ความซื่อตรงแห่งนามกาย,
ธรรมชาติที่ทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลายให้ซื่อตรง (ข้อ ๑๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
การก ผู้กระทำกรรมได้ตามพระวินัยมี
๓ คือ สงฆ์ คณะ และ บุคคล เช่นในการทำอุโบสถ ภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปเรียก
สงฆ์ สวดปาฏิโมกข์ได้ ภิกษุสองหรือสามรูป เรียก คณะ ให้บอกความบริสุทธิ์ได้
ภิกษุรูปเดียวเรียกว่า บุคคล ให้อธิษฐาน
การกสงฆ์ สงฆ์ผู้กระทำ
หมายถึงสงฆ์หมู่หนึ่งผู้ดำเนินการในกิจสำคัญ เช่น การสังคายนา หรือในสังฆกรรมต่าง
ๆ
การงานชอบ ดู สัมมากัมมันตะ
กาล เวลา
กาละ เวลา, คราว,
ครั้ง, หน
กาลกิริยา “การกระทำกาละ”,
การตาย, มรณะ
กาลทาน ทานที่ให้ตามกาล,
ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา เช่นการ
ถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น
ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้