12 หมวดตน - THE SELF

๑. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา 
รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ 
ติณฺณมญฺญตรํ ยามํ 
ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๑๕๗ ฯ


ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก 
พึงรักษาตนไว้ให้ดี 
บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้ 
ไม่ทั้งสามวัยใดวัยหนึ่ง

If one holds oneself dear, 
One should protect oneself well. 
During any of the three watches (of life) 
The wise should keep vigil.


๒. อตฺตานเมว ปฐมํ 
ปฏิรูเป นิเวสเย 
อถญฺญมนุสาเสยฺย 
น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๑๕๘ ฯ


ควรปฏิบัติตนให้ดีก่อน 
แล้วค่อยสอนคนอื่น 
บัณฑิตเมื่อทำได้อย่างนี้ 
จึงจะไม่สร้างมลทินแก่ตน

One should first establish oneself 
In what is proper, 
And then instruct others. 
A wise man who acts in this way 
Shall never get defiled.


๓. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา 
ยถญฺญมนุสาสติ 
สุทนฺโต วต ทเมถ 
อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ฯ ๑๕๙ ฯ


สอนคนอื่นอย่างใด 
ควรทำตนอย่างนั้น 
ฝึกตนเองแล้วค่อยฝึกคนอื่น 
เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่งนัก

As he instructs others 
He should himself act. 
Himself fully controlled, 
He should control others. 
Difficult indeed is to control oneself.



๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ 
โก หิ นาโถ ปโร สิยา 
อตฺตนา หิ สุทนฺตน 
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ ฯ ๑๖๐ ฯ


เราต้องพึ่งตัวเราเอง 
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ 
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว 
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself ideeed is master of oneself, 
Who else could other master be? 
With oneself perfectedly trained, 
One obtains a refuge hard to gain.



๕. อตฺตนาว กตํ ปาปํ 
อตฺรชํ อตฺตสมฺภวํ 
อภิมตฺถติ ทุมฺเมธํ 
วชิรํวมฺหยํ มณึ ฯ ๑๖๑ ฯ


บาปที่ตนทำเอง เกิดในตนเอง 
และตนเองเป็นผู้สร้างไว้ 
ย่อมทำลายคนโง่ให้ย่อยยับ 
เหมือนเพชร ทำลายแก้วมณี

The evil, done by oneself, 
Self-begotten and self-produced, 
Crushes the witless one, 
As the diamond grinds a hard gem.



๖. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ 
มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ 
กโรติ โส ตถตฺตานํ 
ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส ฯ ๑๖๒ ฯ


คนทุศีล ก็เหมือนกับต้นไม้ 
ที่เถาวัลย์ขึ้นจนรก 
เขาทำตัวให้วอดวายเอง 
มิจำต้องรอให้ศัตรูมาคอยกระทำให้


An exceedingly corrupted man is like 
A creeper strangling a tree. 
Surely, he does unto himself 
What his enemy would wish for him.



๗. สุกรานิ อสธูนิ 
อตฺตโน อหิตานิ จ 
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ 
ตํ เว ปรมทุกฺกรํ ฯ ๑๖๓ ฯ


กรรมไม่ดี ทั้งไม่มีประโยชน์แก่ตน ทำง่าย 
แต่กรรมดีและมีประโยชน์ ทำได้ยากยิ่ง

Easy to do are those karmas 
Which are bad and not benefitting oneself. 
But those which are good and beneficial 
Are dificult indeed to be performed.


๘. โย สาสนํ อรหตํ 
อริยานํ ธมฺมชีวินํ 
ปฏิกฺโกสติ ทุมฺเมโธ 
ทิฏฺฐึ นิสฺสาย ปาปิกํ 
ผลานิ กณฺฏกสฺเสว 
อตฺตฆญฺญาย ผลฺลติ ฯ ๑๖๔ ฯ


คนทรามปัญญา มีความเห็นผิด ติเตียนคำสอน 
ของเหล่าพระอริยะผู้อรหันต์ ผู้มีชีวิตอยู่โดยธรรม 
เขาย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตัวเขาเอง 
เหมือนชุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น

Whoso on account of false views 
Scorns the teaching of the Noble Ones, 
The Worhty and Righteous Ones. 
He, the foolish man, destroys himself 
Like the bamboo, seeding, finds its end.


๙. อตฺตนาว กตํ ปาปํ 
อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ 
อตฺตนา อกตํ ปาปํ 
อตฺตนาว วิสุชฺฌติ 
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ 
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ฯ ๑๖๕ ฯ


ตนทำบาปเอง ตนก็เศร้าหมองเอง 
ตนไม่ทำบาปตนก็บริสุทธิ์เอง 
ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน 
คนอื่นจะให้คนอื่นบริสุทธิ์แทนไม่ได้

By oneself is evil done, 
By oneself does one get defiled. 
By oneself is evil left undone, 
By oneself is one purified. 
Purity or impurity depends on oneself, 
No one can purify anther.


๑๐. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน 
พหุนาปิ น หาปเย 
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย 
สทตฺถปสุโต สิยา ฯ ๑๖๖ ฯ


ถึงจะทำประโยชน์แก่คนอื่นมากมาย 
ก็ไม่ควรละทิ้งจุดหมายปลายทางของตน 
เมื่อรู้ว่าอะไรคือจุดหมายปลายทางของตนแล้ว 
ก็ควรใฝ่ใจขวนขวาย

Fall not away from one's own purpose 
For the sake of another, however great, 
When once one has seen one's own goal, 
One should hold to it fast and firm.


ที่มา : หนังสือพุทธวจนในธรรมบท โดย อ.เสถียรพงศ์ วรรณปก




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย