วิธีที่เราจะพ้นจากความไม่พอใจและความอิจฉาในสุขและความสำเร็จของคนอื่น ไม่ใช่การสู้กับตัวเอง วิธีที่แยบคายคือฝึกสร้างมุมมองใหม่ให้เปลี่ยนจุดเน้นจาก ฉัน มาเป็น เรา’


ปกติแล้ว การมีมุทิตาหรือยินดีในสุขหรือความสำเร็จของคนอื่นไม่ใช่ของง่าย ที่ยากเป็นพิเศษคือ เมื่อความสุขความสำเร็จนั้นเป็นสิ่งที่เราเองก็ปรารถนาแต่ยังไม่ได้ ที่ยากสุดคือเมื่อคนที่กำลังยิ้มร่าในสุขและความสำเร็จเป็นคนที่เรามองเป็นศัตรูคู่แข่ง

แต่บางครั้ง การยินดีในสุขหรือความสำเร็จของคนอื่นกลับเป็นเรื่องง่าย ความปลื้มใจเกิดขึ้นเอง ยกตัวอย่าง เมื่อนักกีฬาที่เป็นตัวแทนของประเทศทำผลงานได้ดีในการแข่งขัน ไม่มีใครรู้สึกอิจฉา (อาจจะยกเว้นเพื่อนนักกีฬาบางคน) เมื่อนักกีฬาจากประเทศของตนได้เหรียญรางวัลในกีฬาโอลิมปิค และความปิติเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เวลาพ่อแม่เห็นความสุขหรือความสำเร็จของลูก

การพิจารณาคุณธรรมที่เราอยากพัฒนาในลักษณะนี้ คือ ดูกรณีที่ปลูกฝังคุณธรรมได้ง่ายเทียบกับกรณีอื่นที่ทำได้ยาก เราจะได้แนวทางในการพัฒนาคุณธรรมให้ก้าวหน้า ลองสังเกตว่าเวลามุทิตาเกิดได้ยาก จุดเน้นจะอยู่ที่ ‘ตัวฉัน’ แต่เวลาที่มุทิตาเกิดขึ้นได้ง่าย จะเน้นจะอยู่ที่ ‘พวกเรา’

วิธีที่เราจะพ้นจากความไม่พอใจและความอิจฉาในสุขและความสำเร็จของคนอื่น ไม่ใช่การสู้กับตัวเอง วิธีที่แยบคายคือฝึกสร้างมุมมองใหม่ให้เปลี่ยนจุดเน้นจาก ‘ฉัน’ มาเป็น ‘เรา’ ความเป็น ‘เรา’ ในรูปแบบใดที่สร้างขึ้นในใจโดยรวมถึงคนที่เราบอกตัวเองให้เห็นเป็นคู่แข่งไว้ด้วย นี่คือโจทย์ที่อาตมาฝากให้ทุกคนคิดในวันนี้

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ

3,186







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย