"อารมณ์กรรมฐาน"
" .. อารมณ์ของสมถกรรมฐานนั้น
"ท่านให้กำหนดอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกนี้เป็นรากฐาน" ควบคุมจิตของเรา
"ให้อยู่ในกระแสของลมนี้" ให้มันแน่วแน่ นิ่งนอนอยู่ เมื่อเราพยายามทำตาม ดังนั้น จิตของเราก็จะสงบ
"นี่ท่านเรียกว่า อารมณ์ของกรรมฐาน"
"อารมณ์กรรมฐานนี้จะทำจิตให้สงบ" เพราะจิตมันวุ่นวายมาไม่รู้กี่ปีกี่ชาติแล้ว
"ลองนั่งดูเดี๋ยวนี้ก็ได้ อาการวุ่นวายจะเกิดขึ้นทันที" มันจะไม่ยอมให้เราสงบ ฉะนั้น
"ท่านจึงให้หาอารมณ์กรรมฐาน อารมณ์อันใดถูกใจ ถูกจริตของเราท่านให้พิจารณาอันนั้น"
เช่น
"เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ" ท่านให้พิจารณากลับไปกลับมา เมื่อทำอย่างนี้
"บางคนพิจารณาตโจ หนัง" รู้สึกพิจารณาได้สบาย เพราะถูกจริต
"ถ้าอันใดถูกจริตของเราอันนั้น ก็จะเป็นอารมณ์กรรมฐานของเรา" สำหรับปราบกิเลสทั้งหลายให้มันเบาบางลง
บางคน
"มีความโลภ โกรธ หลง อย่างแรงกล้า" ก็ไม่มีอะไรจะปราบเจ้ากิเลสนี้ได้
"พอพิจารณามรณสติ คือการระลึกถึงความตายอยู่บ่อย ๆ ก็เกิดความสลดสังเวช"
เพราะว่า
"จนมันก็ตาย รวยมันก็ตาย ดีมันก็ตาย ชั่วมันก็ตาย" อะไร ๆ มันก็ตายหมดทั้งนั้น ยิ่งพิจารณาไป
"จิตใจก็ยิ่งเกิดความสลดสังเวช พอนั่งสมาธิก็สงบได้ง่าย ๆ" เพราะมันถูกจริตของเรา .. "
หลวงปู่ชา สุภัทโท
http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/chahthai/Reading_the_Natural_Mind.php