ศีล ๕ ข้อเป็นอารมณ์ของกรรมฐานเหมือนกัน
ก็จัดเป็นศีลและสมาธิอยู่ในตัว
เพราะตัดสินลงใน ณ ที่นั้นแล้วทีนี้
ผู้ไม่มีปัญญาก็รักษาศีลไม่คุ้ม... ก็มีทั้งสติ ทั้งปัญญาในชั้นนั้น
ก็เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา รวมลงในขณะเดียว อยู่แห่งเดียวกัน
เพราะเป็นของอัญญะมัญญะเสมอกัน
หน้าก็ดี ตาก็ดี จมูกก็ดี เป็นพลังรวมอยู่ที่แห่งเดียวกัน
หนังก็ดีเนื้อก็ดี เอ็นก็ดี ก็เป็นพลังอยู่ที่แห่งเดียวกัน
อัญญะมัญญะซึ่งกันและกัน อยู่อาศัยซึ่งกันและกัน
เป็นน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอยู่ ในขณะเดียวกัน
ศีลเป็นของสำคัญในทางพระพุทธศาสนา
เมื่อศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิก็เป็นเบื้องต้น ปัญญาก็เป็นเบื้องต้น
เบื้องต้นของพรหมจรรย์ในทางพระพุทธศาสนา
พรหมจรรย์ในทางพระพุทธศาสนาเบื้องต้น หมายถึงศีลห้า
เป็นแก่นของพรหมจรรย์เป็นรากแก้ว
เหตุฉะนั้น สังคายนาครั้งที่ ๑ พระมหากัสสปะมหาเถระ
ซึ่งเป็นพระอรหันต์จึงทรงพระมติว่า ควรสังคายนาพระวินัยก่อน
เพราะพระวินัยเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา
จึงให้พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนา เพราะท่านเป็นผู้แตกฉาน
รักษาศีลก็คือ รักษาตัวเอง
ก็คือรักษาพระพุทธศาสนา ธรรมศาสนา สังฆศาสนา
สมาธิปัญญาหรือจาคะ ก็มีความหมายอันเดียวกัน
ให้ทานรักษาศีลภาวนาเพื่อหวังจะชำระโลภ โกรธ หลงของตน
ให้หายไปทีละเล็กละน้อยจนถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ
: หลวงปู่หล้า เขมปัตโต :