"ไปเกิดใหม่ทั้งที่ยังไม่ตาย" (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

 วิริยะ12  

.
 "ไปเกิดใหม่ทั้งที่ยังไม่ตาย"

" .. เรื่องมีอยู่ว่า "เมื่อหลวงปู่มั่นอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ มีคุณยายนุ่งห่มขาวมาเล่าเรื่องของแกถวายหลวงปู่" โดยมีพระเณรรับฟังเรื่องนี้ด้วยหลายองค์ แกเล่าว่า "ขณะที่แกนั่งภาวนาในยามดึกสงัด พอจิตรวมสงบนั่ง แกเห็นกระแสจิตที่ละเอียดออกจากดวงจิตของแกเป็นสายใยยาวเหยียดออกนอกกายนอกใจไปสู่ภายนอก" แกสงสัยจึงตามดูว่ากระแสจิตขโมยล่งออกไปแต่เมื่อไร ไปไหน ไปทำอะไร พอ ส่งจิตตามไปดูพบว่า "กระแสจิตนั้นไปจับจองที่เกิดเอาไว้ในท้องของหลานสาวของแก"

พอรู้เช่นนั้นก็ตกใจ "ย้อนจิตกลับคืนที่เดิมและถอนจิตออกจากสมาธิ" แกรู้สึกใจไม่ดี ตอนนั้นหลานสาวคนที่แกรักมากและเป็นห่วงมากตั้งท้องได้ประมาณ ๑ เดือนแล้ว พอตื่นเช้าแกรีบมาวัดเล่าเรื่องถวายหลวงปู่ พระเณรที่อยู่ที่นั่นให้ความสนใจมาก เรื่องแปลกดี

หลวงปู่ท่านหลับตานิ่งครู่หนึ่ง แล้วพูดกับคุณยายว่า "เมื่อจิตรวมสงบคราวต่อไป ให้โยมตรวจดูกระแสจิตด้วย ถ้ากระแสจิตส่งออกไปภายนอกดังที่ว่า ให้กำหนดจิตตัดกระแสนั้นให้ขาดด้วยปัญญา" ถ้ากำหนดดัดขาดด้วยปัญญาจริง ๆ ต่อไปกระแสนั้นจะไม่ปรากฏ

"แต่โยมต้องกำหนดดูกระแสจิตนั้นด้วยดีและกำหนดตัดให้ขาดด้วยปัญญาจริง ๆ อย่าทำเพียงสักแต่ว่าทำเท่านั้น" เดี๋ยวเวลาตาย โยมจะไปเกิดในท้องหลานสาวนะ จะหาว่าอาตมาไม่บอก จดจำคำอาตมาให้ดี "ถ้าโยมกำหนดตัดกระแสจิตนั้นไม่ขาด เวลาโยมตายต้องไปเกิดในห้องหลานสาวแน่ ๆ ไม่ต้องสงสัย"

สองวันต่อมา คุณยายแกมากราบเรียนหลวงปู่ด้วยหน้าตาแจ่มใสว่า "โยมตัดขาดแล้วในคืนแรก คือพอจิตรวมสงบแล้วกำหนดดูก็เห็นเด่นชัดดังที่เคยเห็นมาแล้ว โยมก็กำหนดตัดด้วยปัญญาตามที่หลวงพ่อบอก จนขาดกระเด็นไปเลย" คืนนี้โยมกำหนดดูอีกอย่างละเอียดเพื่อความแน่ใจ เมื่อวานนี้จึงยังไม่ออกมา ไม่ปรากฏว่ามีอีกหายเงียบไป วันนี้อยู่ไม่ได้ต้องออกมาเล่าถวายหลวงพ่อฟัง

หลวงปู่ตอบว่า "นี่แลความละเอียดของจิต จะทราบได้จากการภาวนาเท่านั้น วิธีอื่นไม่มีทางทราบได้" โยมเกือบเสียทีให้กิเลส ตัวนี้จับไสไปเกิดในท้องหลานสาวแบบไม่รู้สึกตัว แต่ยังดีที่ภาวนารู้เรื่องของมันเสียก่อน แล้วรีบแก้ไขกันทันเหตุการณ์ ฝ่ายทางหลานสาว "พอทางคุณยายกำหนดตัดกระแสจิตขาด" จากความสืบต่อ "เธอก็แท้งในระยะเวลาเดียวกัน" .. "

หนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๑ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
ประวัติ ข้อวัตรและปฏิปทา 

5,626







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย