"อธิบายพระไตรสรณคมน์" (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
.
"อธิบายพระไตรสรณคมน์"
" .. พระรัตนตรัยนี้เป็นที่พึ่งอันศักดสิทธิ์แก่ผู้ถือมั่นเชื่อมั่นและกระทำให้เกิดขึ้นพร้อมทั้งกาย วาจา จิต "คือให้เห็นคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในจิตจริง ๆ"
เดี๋ยวนี้คนเราโดยส่วนมาก "ถึงพระพุทธเจ้าแต่เงา" คือไหว้กันแต่รูปที่เปรียบ ถึงพระธรรม ก็แต่นึกเห็นแต่ชั้นปริยัติไม่ค่อยปฏิบัติให้ถึงปฏิเวธ ถึงพระสงฆ์ก็เสมอเห็นโกนผมห่มผ้าเหลืองเท่านั้น ถ้าถึงกันเสมอเท่านี้ก็ไม่อาจจะปิดอบายได้
ฉะนั้น "ผู้นับถือจริง ๆ แล้ว จงให้เข้าถึงจิตใจ จึงจะเป็นผู้เชื่อมั่นไม่งมงาย" อีกนัยหนึ่งแก้ว ๓ ประการนี้ ถ้าใครเชื่อมั่นด้วยดีแล้ว จักก้นภัยที่ตนหวาดเสียวได้จริง ๆ ในปัจจุบันนี้คนเราโดยมาก "ความรู้ความเห็นเลยของดีไปเสีย" เพราะยังตื่นข่าวก้นไปต่าง ๆ "ถ้าเอะอะลืมพระรัตนตรัยแล้ว ขนลุกตาใสใบหูชัน หวั่นไหว ไปเหมือนกระต่ายตื่นตูม" วิ่งไปกระโดดไป
ฉะนั้น "พูดถึงข้างหน้า ถ้าใคร ๆ มีความเชื่อมั่นแล้วในจิตใจ บุคคลผู้นั้นชื่อว่าได้ที่พึ่งอัน ประเสริฐ จักไม่ไปเกิดในอบายภูมิ ๔ เป็นเด็ดขาด" สมกับบาท พระคาถา ที่มาในมหาสมัยสูตรว่า : -
"เยเกจิ พุทฺธํ สรณํ คตาเส นเต คมิสฺสนฺติ อปายภูมํ ปหาย เมนุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺตีติ"
แปลความว่า "นรชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะที่พึ่ง (ภายในใจ) ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักไม่ได้ไปเกิดในอบายสี่" คือ (นรก เปรต อสูรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน) เมื่อละ กายเป็นของมนุษย์แล้ว จักได้ยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์ ดังนี้
ถ้าเราเชื่อมั่นแล้ว "ไม่ควรไปเชื่อถือของศักดสิทธิ์ที่สมมติก้นขึ้นภายนอก" โดยหาเหตุผลมิได้ เห็นคนอื่นเขาพาทำมา ก็หลับตาทำไปโดย อาการต่าง ๆ แล้ว "อาจทำให้พระไตรสรณาคมณ์เสี่อมและเศร้า หมองไป" ใจเราก็จะหมดหลักฐานที่พึ่งอาศัย ก็จะเกิดความสงสัย ฟังซ่าน "ไปนับถือนอกรีตนอกรอย" พลอยลุ่มหลงไปต่าง ๆ
ลักษณะ ของผู้มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งแล้ว "ย่อมมีกายอ่อนน้อม มีวาจาอ่อนน้อม" ย่อมปรารภเสมอพร้อมทั้งนํ้าใจ ประกอบด้วย ปัญญา พิจารณารู้เห็นความจริงของตนว่า "เราเกิดมานี้เพราะกรรม เราเป็นอยู่นี้เพราะกรรม" เราตายไปนี้เพราะกรรม
"เราท่าดีได้ดี เราท่าชั่วได้ชั่ว" ด้งนี้ ใคร ๆ จะช่วยความเป็นตายให้เราได้ เมื่อมีความเชื่อมั่นหมั่นระลึกศึกษาภาวนาอยู่เป็นนิตย์แล้ว "เท่ากับสาธยายมนต์ทิพย์อันประเสริฐ" นับเป็นหลักทางใจในทางพุทธศาสนาส่วนหนึ่ง .. "
"จิตตวิชา"
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร