"ความแยบคาย - ไม่แยบคายของใจ" (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

 วิริยะ12  

.
 "ความแยบคาย - ไม่แยบคายของใจ"

ถามว่า : "อโยนิโสมนสิกาโร" ความทำในใจไม่แยบคาย "โยนิโสมนสิกาโร" ความทำในใจแยบคาย ๒ อย่างนั้น คือ ทำอย่างไรจึงชื่อว่า ไม่แยบคาบ ทำอย่างไรจึงชื่อว่า แยบคาย?

ตอบว่า :
- "ความทำสุภนิมิต(ความสวยงาม น่ารัก น่าใคร่)ไว้ในใจ" กามฉันทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงาม "ความทำปฏิฆะนิมิต(ความขุ่นเคืองใจ)ไว้ในใจ" พยาบาทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงามอย่างนี้ "ชื่อว่าทำในใจไม่แยบคาย"

- "การทำอสุภสัญญา(ไม่สวยงาม ของสกปรก)ไว้ในใจ" กามฉันทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป "การทำเมตตาไว้ในใจ" พยาบาทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป เช่นนี้เป็นตัวอย่าง

- หรือความทำในใจอย่างไรก็ตาม "อกุศลที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงาม ก็ชื่อว่าทำในใจไม่แยบคาย" หรือจะคิดนึกอย่างไรก็ตาม "กุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็บริบูรณ์ อย่างนี้ชื่อว่าทำในใจแยบคาย" .."

"ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา"
พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ถาม :
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตอบ: 

5,616







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย