ตั้งจิตในกายคตาสติ เสมือนบุรุษถือผู้หม้อน้ำมัน
ตั้งจิตในกายคตาสติ เสมือนบุรุษถือผู้หม้อน้ำมัน
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า มีนางงามในชนบทพึงประชุมกัน ก็นางงาม
ในชนบทนั้น น่าดูอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่งในการขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่านางงามใน
ชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย ปรารถนา
ความสุข เกลียดทุกข์ พึงมากล่าวกะหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอันเต็ม
เปี่ยมนี้ ไปในระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท และจักมีบุรุษเงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไป
ข้างหลัง ๆ บอกว่า ท่านจักทำน้ำมันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว”
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร ? บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจภาชนะน้ำมันโน้น
แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ
ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !
ภิกษุ ท. ! เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้มีอย่างนี้แล คำว่า
ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของ กายคตาสติ.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ จักเป็นของ
อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดี
แล้ว. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ. ภิกษุ ท. !
ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ ;
ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ ภิกษุ ท. ! ชนเหล่า
ใด ไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ ดังนี้ แล.
มหาวาร. สํ ๑๙ / ๒๒๖-๒๒๗ / ๗๖๓–๗๖๖.
เอก.อํ ๒๐ / ๕๙ / ๒๓๕,๒๓๙.
ที่มา : พุทธวจน มหาวาร. สํ ๑๙ / ๒๒๖-๒๒๗ / ๗๖๓–๗๖๖. เอก.อํ ๒๐ / ๕๙ / ๒๓๕,๒๓๙.