"ท่านจึงทรงสอนลงที่ใจ" (หลวงปู่ทสก์ เทสรังสี)
.
"ท่านจึงทรงสอนลงที่ใจ"
" .. คนที่มีใจนั้นแหละ จึงค่อยฟ้งเรื่องราวต่าง ๆ ถูก "ฟ้งธรรมเทศนา ก็รู้เรื่องศาสนา" ถ้าหากว่าคนเราไม่มีใจจะเอาศาสนาไปไว้ที่ไหน "คนมีใจจึงเทศนาให้คนรักษาศาสนา" ศาสนาไม่ได้ไว้ในป่าในดง เอาไว้ในบุคคลผู้ที่มีใจนั้น
พระพุทธองค์ทรงประดิษฐานไว้ที่นั่น "ใจอันนั้นบริสุทธหมดจดปราศจากโทษ ปราศจากมลทิน" ปราศจากกิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ถึงที่สุดได้แก่พระอรหันต์ ก็ใจนั่นเองบริสุทธิ์ "ใจมัวหมอง เศร้าหมอง ขุ่นมัวด้วยกิเลสทั้งหลายก็ใจนั่นแหละ" ไม่ใช่อื่นไกลอะไร
เหตุนั้นพระองค์ "จึงทรงสอนลงที่ใจ" ใจที่ไม่บริสุทธนี่ "คนเราเกิดขึ้นมาแล้ว มาสะสมกองกิเลสไว้ที่ใจ" ตั้งแต่วันเกิดจนกระทั้งวันตาย "มีการชำระใจน้อยเหลือเกินมีแต่สะสมกิเลสรํ่าไป" ความคิดความนึก ถึงแม้จะไม่กระทำสิ่งนั้น ๆ ก็เรียกว่าสะสมกิเลส .. "
"วิธีภาวนา"
หลวงปู่ทสก์ เทสรังสี