ความหมาย
พิธีกรรมที่จะกล่าวในบทนี้เป็นพิธีเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการ ในการ ประกอบพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วในหมวดต้น ๆ มาชี้แจงเพื่อความรู้ และเพื่อเป็นทางปฏิบัติ แต่จะกล่าวเฉพาะเรื่องที่มิได้ชี้แจงไว้ข้างต้นเพียง ๕ เรื่องเท่านั้น คือ
๑. วิธีแสดงความเคารพพระ
๒. วิธีประเคนของพระ
๓. วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม
๕. วิธีกรวดน้ำ
จะได้แสดงวิธีปฏิบัติต่อไปตามลำดับ
ก. ประนมมือ
ข. ไหว้
ค. กราบ
ประนมมือ ตรงกับหลักที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “ทำอัญชลี” คือ การกระพุ่มมือทั้งสอง ประนม ให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดตรงกัน ไม่มีเหลื่อมล้ำกว่ากัน หรือกางให้ห่าง ตั้งกระพุ่มมือ ที่ประนมด้วยอาการนี้ไว้ในระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบน มีลักษณะ คล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้าง ชิดชายโครง ไม่ให้กางห่างออกไป แสดงอาการอย่างนี้ เรียกว่าประนมมือ เป็นการแสดง ความเคารพ เวลาสวดมนต์ หรือฟังพระสวดและฟังเทศน์ เป็นต้น แสดงอย่างเดียวกัน ทั้งชายทั้งหญิง
ไหว้ ตรงกับที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “นมัสการ” หรือ “วันทา” คือการยกมือที่ประนม แล้วขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้มือประนมจดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือ ทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว อย่างนี้เรียกว่า ไหว้ ใช้แสดงความเคารพพระ ในขณะนั่งเก้าอี้ หรือยืนอยู่ ไม่ใช่นั่งราบกับพื้น แสดงอย่างเดียวกันทั้งชายและหญิง
ก. พึงนำของประเคนเข้าไปให้ใกล้พระผู้รับ ประมาณ ๑ ศอก (ไม่ถึงศอก หรือไม่ เกินศอกคืบก็ได้) จะนั่งหรือยืนแล้วแต่สถานที่ที่พระนั่งอยู่นั้นอำนวย
ข. จับของที่ประเคนด้วยมือทั้งสองก็ได้ มือเดียวก็ได้ ยกให้สูงขึ้นเล็กน้อย แล้วน้อม ถวายพระซึ่งท่านจะยื่นมือทั้งสองออกมาจับ ถ้าผู้ถวายเป็นสตรี พึงวางของลงบนผ้ากราบ ที่พระปูรับอยู่ข้างหน้า เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี หนหนึ่ง
หลักสำคัญของการประเคนนี้ ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ ไม่ใช่เสือกไส หรือทิ้ง ให้โดยไม่เคารพ
“ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก...รูป) เจริญพระพุทธมนต์ (หรือสวดพระพุทธมนต์ หรือแสดงพระธรรมเทศนาแล้วแต่กรณี) ในงาน.....ที่บ้านเลขที่..... ตำบล.....อำเภอ......กำหนดวันที่.....เดือน......พ.ศ.......เวลา.....น.
(หากจะอาราธนาให้รับอาหารบิณฑบาต เช้า หรือ เพล ให้บอกด้วย ถ้าต้องการ ตักบาตรหรือปิ่นโต ก็ต้องบอกไว้ในฎีกาให้นำไปด้วย)
ถ้างานนั้นมีเรือหรือรถรับส่ง ก็ให้หมายเหตุบอกไว้ท้ายฎีกานั้น เพื่อพระจะได้ทราบ ล่วงหน้า การวางฎีกานิมนต์พระนี้ ถ้าเป็นพระวัดเดียวกัน ไม่ต้องทำฎีกานิมนต์ เป็นรายองค์ ก็ได้ เป็นแต่ระบุจำนวนพระหรือรายชื่อพระที่ต้องการให้ทางวัดจัดนิมนต์ ต่อให้ก็ได้
และในการถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ ที่นิมนต์มาประกอบพิธีต่าง ๆ ก็มี นิยมถวายค่า จตุปัจจัยเป็นพิเศษจากไทยธรรมอีกส่วนหนึ่งด้วยในการถวายค่าจตุปัจจัยนี้ นิยมทำใบปวารณา ถวาย คือ ถวายด้วยใบปวารณาความมุ่งหมายก็เพื่อสงเคราะห์ ให้ภิกษุได้รับค่าจตุปัจจัยนั้น โดยชอบด้วยวินัย ใบปวารณานี้ มีแบบนิยมเป็นฉบับ ดังนี้
“ขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้าเป็น มูลค่า.....บาท ....สต. หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ”
ใบปวารณานี้ นิยมกลัดติดกับผ้าที่ทอดในงานอวมงคล หรือถวายเฉพาะใบ หรือไม่ ก็ใส่ซองแล้วรวมถวายไปกับเครื่องไทยธรรมในทุก ๆ งาน ส่วนเงินค่าจตุปัจจัยนั้น มอบไปกับ กัปปิยการก คือศิษย์ผู้มากับพระนั้น
การอาราธนา คือ การเชื้อเชิญพระสงฆ์ในพิธีให้ศีล ให้สวดพระปริตร หรือให้แสดงธรรม เป็นธรรมเนียมมีมาแต่ดั้งเดิมที่จะต้องอาราธนาก่อน พระสงฆ์จึงจะประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ และการอาราธนาที่ถือเป็นธรรมเนียมกันมาก็มี ๓ กรณีเท่านั้น
วิธีอาราธนา นิยมกันว่า ถ้าพระสงฆ์นั่งบนอาสนะยกสูงเจ้าภาพและแขกนั่งเก้าอี้ ผู้อาราธนาเข้าไปยืนระหว่างเจ้าภาพกับแถวพระสงฆ์ตรงกับรูปที่ ๓ หรือที่ ๔ ห่างแถวพระสงฆ์ พอสมควรหันหน้าไปทางโต๊ะที่บูชา ประนมมือไหว้พระพุทธรูปก่อนแล้วยืนประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาตามแบบที่ต้องการ ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะต่ำธรรมดา เจ้าภาพและแขกอื่น ก็นั่งกับพื้น ผู้อาราธนาต้องเข้าไปนั่งคุกเข่าต่อหน้าแถวพระสงฆ์ตรงหัวหน้า กราบพระที่โต๊ะบูชา ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาที่ต้องการตามแบบ คือ
พิธีสวดมนต์เย็น อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร
พิธีเลี้ยงพระ อาราธนาศีล
พิธีถวายทานทุกอย่าง อาราธนาศีล
พิธีเทศน์ ถ้าเทศน์ต่อจากสวดมนต์ ตอนสวดมนต์ไม่ต้องอาราธนาศีล เริ่มต้นด้วย อาราธนาพระปริตร แล้วอาราธนาศีล ตอนพระขึ้นเทศน์ รับศีลแล้วอาราธนาธรรมต่อ แต่ถ้า สวดมนต์กับเทศน์ไม่ได้ต่อเนื่องกัน ถือว่าเป็นคนละพิธี ตอนสวดมนต์ก็อาราธนา ตามแบบ พิธีสวดมนต์เย็นที่กล่าวแล้ว ตอนเทศน์ก็เริ่มต้น ด้วยอาราธนาศีลก่อน จบรับศีลแล้วจึงอาราธนา ธรรม
พิธีสวดศพต่าง ๆ เช่น สวดแจง สวดพระอภิธรรม เป็นต้น ถ้าไม่มีพิธีอื่นนำ หน้าให้ อาราธนาศีลก่อน ถ้ามีพิธีอื่นนำหน้าแล้วไม่ต้องอาราธนาศีล
คำอาราธนาศีล ๕ ในพิธีการ
มยํ ภนฺเต
วิสุํ วิสุํ รกฺขนตฺถาย
ติสรเณน สห
ปญฺจ สีลานิ ยาจาม
ทุติยมฺปิ..........
ตติยมฺปิ..........
คำอาราธนาพระปริตร
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพโรควินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ ฯ
คำอาราธนาธรรม
พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ
๕. วิธีกรวดน้ำ
เมื่อจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วยวิธีนิยม ทำกันดังนี้ คือ เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะไว้พอสมควร จะเป็นคณฑี ขวดเล็ก แก้วน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ พอพระสงฆ์เริ่ม อนุโมทนาด้วยบท ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำ โดยตั้งใจ นึกอุทิศส่วนบุญ มือขวาจับ ภาชนะน้ำริน ใช้มือซ้ายประคอง แล้วว่าบทกรวดน้ำในใจไปจนจบ การหลั่งน้ำกรวด ถ้าเป็นพื้นดินควรหลั่งลงในที่สะอาดหมดจด ถ้าอยู่บนเรือนหรือสถานที่ ที่ไม่ใช่พื้นดิน ต้องหาภาชนะอื่นที่สมควร เช่น ถาดหรือขัน เป็นต้น รองน้ำกรวดไว้เสร็จแล้วจึงนำไป เทลงดินตรงที่สะอาด อย่าใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองเป็นอันขาด เพราะน้ำที่กรวดเป็น สักขีพยานในการทำบุญของตนว่าทำด้วยใจสะอาดจริง ๆ
คำกรวดน้ำที่นิยมว่ากันในเวลากรวดทั่ว ๆ ไป มีอยู่ ๓ แบบ คือ แบบสั้น แบบย่อ และแบบยาว ว่าเฉพาะคำบาลีเท่านั้น ดังนี้
คำกรวดน้ำแบบสั้น (คำอุทิศของพระเจ้าพิมพิสาร)
อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ (ว่า ๓ จบ)
หากจะเดิมพุทธภาษิตต่อว่า “สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย” ก็ได้
คำแปล
ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด
“ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด”
คำกรวดน้ำแบบย่อ เรียกคาถาติโลกวิชัย
ยงฺกิญฺจิ กุสลํ กมฺมํ กตฺตพฺพํ กิริยํ มม
กาเยน วาจามนสา ติทเส สุคตํ กตํ
เย สตฺตา สญฺญิโน อตฺถิ เย จ สตฺตา อสญฺิโน
กตํ ปุญฺผลํ มยฺหํ สพฺเพ ภาคี ภวนฺตุ เต
เย ตํ กตํ สุวิทิตํ ทินฺนํ ปุญฺผลํ มยา
เย จ ตตฺถ น ชานนฺติ เทวา คนฺตฺวา นิเวทยุํ
สพฺเพ โลกมฺหิ เย สตฺตา ชีวนฺตาหารเหตุกา
มนุญฺํ โภชนํ สพฺเพ ลภนฺตุ มม เจตสา.
คำแปล
กุศลกรรมซึ่งเป็นกิริยาควรทำอันหนึ่งด้วยกายวาจาใจ อันจะเป็นเหตุนำไปให้เกิดใน สวรรค์ชั้นไตรทศเทพ ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ขอสัตว์ซึ่งมีสัญญา และไม่มี สัญญาทุกหมู่เหล่า จงเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วนั้น เหล่าสัตว์ที่รู้ผลบุญอันที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ขอจงเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้าอุทิศให้ ในบรรดาสรรพสัตว์จำพวกใด ไม่รู้ข่าวถึง บุญข้าพเจ้ากระทำแล้ว ขอเทพยดาทั้งหลายจงนำไปบอกแก่สัตว์จำพวกนั้น ขอสัตว์ทุกหมู่ ในชีวโลก ซึ่งเสพอาหารเป็นเครื่องเลี้ยงชีพ จงได้เสวยซึ่งโภชนะอันพึงใจ ด้วยอำนาจเจตนา อุทิศของ ข้าพเจ้านี้เถิด ฯ
คำกรวดน้ำแบบยาว เป็นคาถาของเก่า
อิมินา ปุญฺญกมฺเมน อุปชฺฌายา คุณุตฺตรา
อาจริยูปการา จ มาตา ปิตา จ ญาตกา (ปิยา มมํ)
สุริโย จนฺทิมา ราชา คุณวนฺตา นราปิ จ
พฺรหฺมมารา จ อินฺทา จ โลกปาลา จ เทวตา
ยโม มิตฺตา มนุสฺสา จ มชฺฌตฺตา เวริกาปิ จ
สพฺเพ สตฺตา สุขี โหนฺตุ ปุญฺญานิ ปกตานิ เม
สุขญฺจ ติวิธํ เทนฺตุ ขิปฺปํ ปาเปถ โว มตํ
อิมินา ปุญฺญกมฺเมน อิมินา อุทฺทิเสน จ
ขิปฺปาหํ สุลเภ เจว ตณฺหุปาทานเฉทนํ
เย สนฺตาเน หินา ธมฺมา ยาว นิพฺพานโต มมํ
นสฺสนฺตุ สพฺพทาเยว ยตฺถ ชาโต ภเว ภเว
อุชุจิตฺตํ สติปญฺญา สลฺเลโข วิริยมฺหินา
มารา ลภนฺตุ โนกาสํ กาตุญฺจ วิริเยสุ เม
พุทฺธาธิปวโร นาโถ ธมฺโม นาโถ วรุตฺตโม
นาโถ ปจฺเจกพุทฺโธ จ สงฺโฆ นาโถตฺตโร มมํ
เตโสตฺตมานุภาเวน มาโรกาสํ ลภนฺตุ มา.
คำแปล
ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำนี้ ขอพระอุปัชฌาย์ผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล อีกทั้ง อาจารย์ผู้ได้สั่งสอนข้าพเจ้ามา ทั้งมารดาบิดาและคณาญาติทั้งสิ้น ตลอดจน พระอาทิตย์พระจันทร์ และพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ในเอกเทศแห่งเมทนีดล และนรชนผู้มีคุณงามความดี ทั้งหลาย ทุกถิ่นฐาน อีกท้าวมหาพรหมกับหมู่มาร และท้าวมัฆวานเทวราช ทั้งเทพเจ้าผู้ฉกาจรักษา โลกทั้ง สี่ทิศ และพญายามราชอีกมวล มิตรสหาย ทั้งผู้ขวนขวายวางตนเป็นกลาง และผู้เป็นศัตรู ของข้าพเจ้าทุก ๆ เหล่า จงมีความเกษมสุขนิราศภัย ขอบุญที่ข้าพเจ้ากระทำไว้ด้วยไตรทวาร จงบันดาลให้สำเร็จไตรพิธสุข ถึงความเกษมปราศจากทุกข์ คือ พระอมตมหานฤพานโดยพลัน อีกโสดหนึ่งนั้น ด้วยบุญกรรมนี้และอุทิศเจตนานี้ ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุทันทีซึ่งการตัดขาด ตัณหาอุปาทาน ธรรมอันชั่วในสันดานจงพินาศไปหมด จนตราบเท่าถึงนิพพาน สิ้นกาลทุกเมื่อ เทียว แม้ว่าข้าพเจ้ายังจะท่องเที่ยวไปเกิดในภพใด ๆ ก็ขอให้มีจิตซื่อตรง ดำรงสติปัญญาไว ชาญฉลาด ให้มีความเพียรกล้าสามารถขัดเกลากิเลสให้สูญหาย ขอหมู่มารเหล่าร้ายอย่าได้ กล้ำกรายสบโอกาส เพื่อทำให้ข้าพเจ้าพินาศคลายความ เพียรได้ อนึ่งไซร้ พระพุทธเจ้าผู้เป็น ที่พึ่งอันยิ่งอย่างประเสริฐ พระธรรมเป็นที่พึ่งอัน ล้ำเลิศยิ่งประมาณ พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง อันไพศาล และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอัน อุดมยิ่งประมาณของข้าพเจ้านี้ ด้วยอานุภาพอันอุดมดีพิเศษ สูงสุดของพระรัตนตรัย ขออย่าให้หมู่มารได้โอกาสทุกเมื่อไป เทอญ ฯ
นอกจากคำกรวดน้ำทั้ง ๓ แบบตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคำกรวดน้ำอีกแบบหนึ่ง เป็น พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ เรียก ปัตติทานคาถา ดังนี้
ปุญฺสฺสิทานิ กตสฺส ยานญฺานิ กตานิ เม
เตสญฺจ ภาคิโน โหนฺตุ สตฺตานนฺตาปฺปมาณกา
เย ปิยา คุณวนฺตา จ มยฺหํ มาตาปิตาทโย
ทิฏฺฐา เม จาปฺยทิฏฺฐา วา อญฺเ มชฺฌตฺตเวริโน
สตฺตา ติฏฺฐนฺติ โลกสฺมึ เตภุมฺมา จตุโยนิกา
ปญฺเจกจตุโวการา สํสรนฺตา ภวาภเว
าตํ เย ปตฺติทานมฺเม อนุโมทนฺตุ เต สยํ
เย จิมํ นปฺปชานนฺติ เทวา เตสํ นิเวทยุํ
มยา ทินฺนาน ปุญฺานํ อนุโมทนเหตุนา
สพฺเพ สตฺตา สทา โหนฺตุ อเวรา สุขชีวิโน
เขมปฺปทญฺจ ปปฺโปนฺตุ เตสาสา สิชฺฌตํ สุภา.
คำแปล
สัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ จงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญอันข้าพเจ้าทำแล้ว ณ บัดนี้ ด้วย แห่งบุญทั้งหลายอื่นอันข้าพเจ้าทำแล้วด้วย เหล่าใดเป็นที่รักและมีคุณ มีมารดาและบิดา ของข้าพเจ้าเป็นต้น เหล่าที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว หรือแม้ที่ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น แล้วเหล่าอื่น ที่เป็น ผู้มัธยัสถ์เป็นปานกลางและเป็นผู้มีเวร สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโลก เป็นไปในภูมิสาม เป็นไป ในกำเนิดสี่ มีขันธ์ห้า มีขันธ์หนึ่ง มีขันธ์สี่ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยและภพใหญ่ ความให้ส่วนบุญ ของข้าพเจ้าอันสัตว์ทั้งหลายเหล่าใดรู้แล้ว สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงอนุโมทนาเองเถิด ส่วนสัตว์ ทั้งหลายเหล่าใดยังไม่รู้ซึ่ง ความให้ส่วนบุญของข้าพเจ้านี้ ขอเทพยดาทั้งหลาย พึงบอกแก่สัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้นให้รู้ (แล้วอนุโมทนา) เพราะเหตุคืออนุโมทนาซึ่งบุญทั้งหลายอันข้าพเจ้าได้ให้แล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร เป็นผู้ดำรงชีพโดยสุขทุกเมื่อเถิด จงถึงซึ่งบทอันเกษม คือพระนิพพาน ขอความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นจงสำเร็จ เถิด ฯ