หมวดที่ ๖ ความเพียร
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์
หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ
คนที่ผลัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม
กาลคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ
คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า
โภคา สนฺนิตยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ
ค่อยๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก
อตีตํ นานฺวาคเมยฺนย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต
อโหรตฺตมตนฺทิตํ ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ
คนขยันทั้งคืนทั้งวัน จักไม่ซึมเซา เรียกว่าแต่ละวันมีแต่นำโชค
อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํ ตานิ กมฺมานิ ตปฺเปนฺติ อุณฺหํ วชฺโฌหิตํ มุเขํ
ผู้ที่ทำการงานลวกๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือดร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก
อชฺช สุวติ ปุริโส สทตฺทํ นาวพุชฺฌติ โอวชฺชมาโน กุปฺปติ เสยฺยโส อติมญฺญติ ฯลฯ
คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรทำพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของ กาฬกิณี
โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรว่าเป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็น พุทธานุศาสนี
หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ อนาคตํ เนตมตฺถีติ ญตฺวา อุปฺปนฺนจฺฉนฺทํ โก ปนุเทยฺย ธีโร
มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า