หมวดที่ ๑๖ สามัคคี
สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข
สมคฺคา สขิลา โหถ
จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน
สมคฺคานํ ตโป สุโข
ความเพียรของหมู่ชน ผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข
สูกเรหิ สมคฺเคหิ พฺยคฺโฆ เอกายเน หโต
สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสื้อโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว
สามคฺยเมว สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ
สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสตํ
พึงศึกษาความสามัคคี , ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว , ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และ ความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี
เอโส หิ อุตฺตริตโร ภาราวโห ธุรนฺธโร
โย ปเรสาธิปนฺนานํ สยํ สนฺธาตุมรหติ
ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม
สเจปิ สนฺโต วิวทนฺติ ขิปฺปํ สนฺธียเร ปุน
พาลา ปตฺตาว ภิชฺชนฺติ น เต สมถมชฺฌคู
ถ้าแม้นสัตบุรุษวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนชนะดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย