ค้นหาในเว็บไซต์ :

ศีล
โดย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์

เรื่องที่ ๑๒ : ใครได้ใครเสีย ? ( ๓ )


ตามที่ได้เกริ่นไว้ในตอนก่อนว่า สำหรับตอนต่อไป ท่าน พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ท่านจะแยกแยะ ให้ฟัง ถึงเรื่องบาปที่จะเริ่มเกิดขึ้นในจิตตอนไหน เรามาฟัง ท่านอธิบายกันเลยครับ

"เพื่อให้นักศึกษาสังเกตวาระจิตให้แน่ๆว่า บาปเริ่มเกิดขึ้นในจิตตอนไหน โปรดดูลำดับ ความเปลี่ยนแปลงของจิตต่อไปนี้
ลำดับ ๑ ของนั้นมีเจ้าของ ( ข้อนี้ไม่เกี่ยวกับบาปบุญ )
ลำดับ ๒ เรารู้ว่าของนั้นมีเจ้าของ ( บาปยังไม่เกิด เพราะการรู้นั้น เป็นความดีอยู่ )
ลำดับ ๓ เราคิดว่าจะลัก ( จิตเริ่มถูกกิเลสรบกวน ให้ละเมิดความรู้ของตนเอง )
ลำดับ ๔ เราพยายามจะลัก ( จิตเดินอยู่ในความชั่วตลอดเวลา )
ลำดับ ๕ รับรู้การได้ของนั้นมา ( เกิดบาปขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จิตตก ฐานะต่ำลง )

ตามลำดับที่แสดงนี้ เพียงชั่วระยะการทำโจรกรรมครั้งหนึ่งๆเท่านั้น ยิ่งถ้าเล็งถึงกฎเกณฑ์ ทางจิตต่อไป บาปยังจะเกิดขึ้นแก่จิตอีกหลายสิบหลายร้อยครั้งยกตัวอย่าง เราขโมยแหวน เขามาวงหนึ่ง ต่อมาอีก ๑๐ ปี เมื่อเราหยิบแหวนวงนั้นมาสวม เราจะเกิดความรู้สึกขึ้นอัน หนึ่ง เกี่ยวกับการได้แหวนวงนั้นมา เช่น นึกดีใจ ที่ขโมยเอามาได้ หรือภูมิใจที่ตู่เอามาได้ ความนึกคิดที่พอใจในความชั่วร้ายของตนเองนี้ เมื่อเกิดขึ้นในจิตทีไร ย่อมทำให้จิตเกิดการ เคลื่อนไหวในทางต่ำลงทุกครั้งทุกคราได้กล่าวมาแล้วว่า จิตของเรานี้ ถ้าคุณภาพต่ำลงไป มาก จิตก็หลุดจากภพที่สูง เข้าสู่ภพที่ต่ำลงๆ ตามที่อธิบายมาแล้วในตอนก่อน

คือตามหลักเกณฑ์ทางจิต จิตชนิดใด ก็ย่อมเข้าสู่ร่างที่เหมาะกับจิตชนิดนั้น ข้าพเจ้าอยาก จะพูดให้ขาวกระจ่าง แต่ก็เกรงว่า ท่านผู้อ่านจะคิดนอกเรื่อง เห็นไปว่าข้าพเจ้า พูดสูง พูดต่ำ แล้วก็จะมาหลงขัดใจกัน แต่มาคิดอีกทีว่า คนเรานี้ขัดใจกันไว้บ้างก็ดีเหมือนกัน เล่นไม่ขัดกัน เสียเลยประเดี๋ยวก็อับปางกันทั้งเมืองเท่านั้นเอง ขอโทษนะ คืออยากจะว่าบรรดาสัตว์โลก มีอยู่ ๓ ชั้นคือ
- เทวดา เป็นพวกจิตใจสูง
- มนุษย์ เป็นพวกจิตใจชั้นกลาง
- เดรัจฉาน เป็นพวกจิตใจต่ำที่สุด

ความรู้สึกนึกคิดที่จะหาเลี้ยงชีวิตของสัตว์โลก ๓ พวกนี้ ก็สูงต่ำต่างกัน

คือพวกเดรัจฉานไม่รับรู้สิทธิในทรัพย์ของกันเลย แต่มนุษย์รู้สิทธิของกัน แต่ยังมีบังอาจ ละเมิด ทั้งๆที่รู้ในบางครั้ง ส่วนพวกเทวดานั้น รู้ด้วย และไม่กล้าละเมิดด้วย นี่คือจิตที่สูง ขึ้นตามลำดับ ารที่เราเกิดมา ได้ร่างเป็นคนกับเขาในชาตินี้ ก็เพราะฐานะของจิตสูงขึ้นมาก แล้วซึ่งเป็นผลการฝึกหัดอบรมของเราเอง เป็นเวลานานเท่าไรแล้วก็ไม่รู้ทีนี้ ถ้าเราไปฝึกหัด จิตตัวเอง ให้เห็นไม่สำคัญในกรรมสิทธิ์ของคนอื่น ก็เท่ากับเรากลับหลังหันบ่ายหน้าลงไปหา พวกโน้น มันไปได้จริงๆ ไม่ใช่แกล้งว่า ใจเราเองนั่นแหละ จะเกิดพิศวาสในร่าง อย่างที่ว่านั้น เข้าเองดูง่ายๆ แม้แต่ในพวกคนเราด้วยกัน ซึ่งยังมีชีวิตอยู่นี่ คนที่ใจชอบละเมิดสิทธิของ คนอื่น ถ้าบังเอิญตัวไปตกอยู่ในกลุ่มที่เขาเคารพในสิทธิของกัน ใจเขาจะรู้สึกไม่สบาย คับแคบ รำคาญ อยากจะปลีกหนีไปอยู่กับกลุ่มที่เขาไม่นำพากับเรื่องเหล่านี้ ถ้าได้เพื่อนชนิดนั้น หรือ ไปอยู่ในสังคมชนิดนั้น ก็จะรู้สึกโล่งหัวอก ดีอกดีใจ นั่นแสดงว่า จิตหันลงต่ำ ประเภท "กลับหลังหัน" ที่ว่ามาแล้วนี่แหละท่าน

ชั่วชีวิตเดียว จิตยังเหหันไปได้อย่างนี้ ไม่ต้องสงสัยว่า ในการท่องเที่ยว จากภพ สู่ภพ เป็น เวลายาวนาน จิตจะทรุดต่ำลงเพียงใด" เรื่องของศีลข้อ ๒ ยังไม่จบนะครับ ตอนต่อไป ท่าน พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ จะพูดถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมท่านจึงห้ามการลักขโมย ผู้ที่สนใจ พลาดไม่ได้ ครับ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย