เรื่องของศีลข้อที่ ๒ ท่าน พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ได้ชี้แจงแสดงเหตุผล มาให้ฟัง หลายแง่หลาย
ประเด็นแล้ว สำหรับในตอนนี้ เป็นตอนสุดท้ายของศีลข้อนี้ ท่าน พ.อ.ปิ่น จะพูดในหัวข้อที่
เกี่ยวกับ "ศีล กับความเจริญของชาติ" เนื้อหาจะเป็นอย่างไร เชิญติดตามครับ
"ถอยออกมาพูดเรื่องนอกๆดูบ้าง คือปัญหาทางสังคม ศีลข้อนี้ ทำให้สังคมดีขึ้น หรือเสื่อม
ลงพูดกันง่ายๆดีกว่า ที่พระห้ามลักทรัพย์นี้ ทำให้ประเทศชาติเสื่อมโทรม หรือเจริญขึ้น...
ขอให้เราวิจารณ์กันอย่างเสรี เพราะพระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการวิจารณ์ ว่าอย่างโบราณก็
ว่าไม่มีหม้อนรก ไว้สำหรับคนคิดหาเหตุผลในธรรมะของพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง ผมได้เผชิญ
กับปัญหาเรื่องศีลกับสังคม ในสถาบันชั้นสูงแห่งหนึ่งขณะกำลังทำ การบรรยายวิชา พุทธ
ศาสตร์ มีผู้ฟังท่านหนึ่ง ขออนุญาตลุกขึ้นถาม เป็น ; เชิงอภิปรายโจมตี ใจความก็ว่าการที่
ศาสนาบัญญัติศีลห้าและสั่งสอนให้ ประชาชนรักษาศีลเหล่านี้ ทำให้ประเทศชาติล้าหลัง
การห้ามฆ่าทำให้คนไทย ขี้ขลาด เป็นทหารที่ดีไม่ได้การห้ามขโมย ทำให้ขาดความกระตือ
รือร้น
ในการลักลอบฉกชิงเอาแผนการของชาติอื่นมาใช้ ฯลฯ และประเด็นอื่นๆ อีกหลายประเด็น
นักศึกษาทั่วห้องเงียบกริบ และยิ่งเงียบเชียบเพิ่มขึ้นอีก เมื่อท่านเจ้าของญัตติจบอภิปราย ดู
เหมือนจะรอฟังว่า ผมจะทำอย่างไร กับปัญหารุนแรงเหล่านั้นแทนคำตอบ ผมได้โยนญัตตินั้น
ให้ที่ประชุม โดยวิธีตั้งญัตติให้ลงคะแนนทีละประเด็นผมกล่าวว่า
"ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ศีลห้าไม่ใช่ของผมคนเดียว เป็นสมบัติชิ้นหนึ่ง ในศาสนา ที่เรา
ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน ประเทศชาติก็เป็นของเราทุกคน บัดนี้มีปัญหาว่า ข้อห้ามต่างๆใน
ศีลห้านั้นทำให้ชาติบ้านเมืองของเราเสื่อม โทรม จึงขอให้ทุกท่านวินิจฉัยดูว่า ถ้าท่านเป็นผู้
มีอำนาจใหญ่ยิ่งในแผ่นดิน ไทย สามารถจะเพิกถอนธรรมเนียมประเพณีได้ทุกอย่าง ขอถาม
ว่า ในกรณี ต่อไปนี้ ท่านผู้ใดจะเลือกเอาทางไหน ? โปรดยกมือ
"เกี่ยวกับการฆ่า"
วิธีที่ ๑ ห้ามคนไว้ไม่ให้ฆ่ากัน
วิธีที่ ๒ เปิดให้คนฆ่ากันโดยเสรี
( ผลการยกมือ วิธีที่ ๑ ชนะคะแนน )
"เกี่ยวกับการลักทรัพย์"
วิธีที่ ๑ ห้ามไม่ให้คนลักขโมยของกัน
วิธีที่ ๒ เปิดให้คนขโมยของกันโดยเสรี
( ผลการยกมือ วิธีที่ ๑ ชนะคะแนน )
ฯลฯ
ปรากฏชัดเจนว่า นักศึกษาชั้นสูง ขนาดที่จะเป็นสมองของประเทศเหล่านั้น ได้ลงคะแนน
สอดคล้องกับศีลห้าทุกคนแต่มีคนหนึ่งที่งดลงคะแนน คือท่าน เจ้าของญัตตินั้นเป็นอันว่า
ผมพบทางออกที่เปลืองแรงน้อยที่สุด
ว่าเฉพาะเรื่องการลักขโมย ที่บางท่านคิดวิตกกังวลว่า ถ้าคนไทยมัวถือ ศีลแล้ว จะขโมย
ไปไม่เป็น ทำให้บ้านเมืองไม่เจริญก้าวหน้านั้นคิดถึงแต่ใน แง่ที่ว่า ในการรบกับข้าศึกนั้น
อาจต้องขโมยแผนการหรือข่าวของฝ่าย ตรงข้าม เพื่อให้ได้เปรียบในการรบ ซึ่งความจริง
ก็เป็นความคิดที่มอง เห็นการณ์ไกล แต่ไม่รอบคอบ ทำไมไม่นึกบ้างว่า ถ้าไม่มีข้อห้ามไม่ให้
คน ลักขโมยของกันไว้เลย ทุกคนหยิบและฉกชิงของคนอื่นได้ ตามใจชอบ ลักขโมยของ
กันไว้เลย ทุกคนหยิบและฉกชิงของคนอื่นได้ตามใจชอบ แล้วจะเกิดอะไร ขึ้นในเมืองไทย ?
ถ้าให้มีนิสัยขโมยแล้ว
- จะเอาเงินที่ไหนมาสร้างคุกเพียงพอ ?
- จะเอาเงินที่ไหนมาขยายกำลังตำรวจ ?
- จะทำอย่างไร เบี้ยเลี้ยงเงินเดือนทหารจึงจะถึงมือทหาร ?
- ทำอย่างไร อาวุธยุทธภัณฑ์จึงจะมีอยู่ในคลัง จนถึงวันรบกับข้าศึก ?
และปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ ทำอย่างไร คนไทยเอง จึงจะไม่ขโมย แผนการของกองทัพ
ไทยไปขายให้ข้าศึก ?การที่จะยอมเลิกศีลข้อสองเสีย เพื่อฝึกคนไทยให้กล้าลักแผนการของ
ข้าศึกนั้น ควรทำแน่หรือใครๆก็ตอบได้"ตอนหน้า ท่าน พ.อ.ปิ่น จะเริ่มอธิบายในเรื่องของ
ศีลข้อที่ ๓ เป็นลำดับต่อไป ผู้สนใจโปรดติดตาม