...ต่อจากนั้น คือ กุสลสฺสูปสมฺปทา = การทำแต่ความดี การทำความดีซึ่งดีสำหรับผู้อื่น และ
ดีสำหรับตัวท่านเอง
ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านไม่สร้างกิเลส คือความขุ่นมัวให้เกิดขึ้นในจิตของท่าน ท่านก็จะรู้สึกมี
ความสงบสุขอยู่ภายในถ้าท่านละความโกรธ ความเกลียด ความมุ่งร้าย ฯลฯ ออกไปเสียจาก
จิตใจของท่านได้ ท่านจะพบว่า จิตของท่านจะเต็มไปด้วยความรักความกรุณาปรานี ความ
ปรารถนาดี ฯลฯ กฎแห่งธรรมชาติก็จะให้ผลตอบแทนที่ดีแต่หากผู้ใด มีแต่ความโกรธ ความ
เกลียดชัง ผู้นั้นก็ย่อมจะมีแต่ความทุกข์ ความกระวนกระวายใจ ในขณะที่ผู้ใด ที่ในจิตใจมีแต่
ความรัก ความเมตตาปรานี ผู้นั้นก็จะมีแต่ความสุขสงบ เมื่อใดก็ตาม ที่ท่านสร้างความรัก
ความเมตตาปรานีให้เกิดขึ้นในจิตใจ ความรู้สึกที่ดีก็เกิดขึ้นและจะเป็นกุศลสำหรับตัวท่านเอง
กฎแห่งธรรมชาตินี้ หากคิดดูแล้ว ก็จะเห็นว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจได้โดยง่ายหากแต่เมื่อจะ
ปฏิบัติจริงๆ กลับเป็นเรื่องที่ยากมาก เมื่อไรที่มีสิ่งไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้นในชีวิต เราก็มักจะลืม
คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เราจะสร้างความโกรธความเกลียดขึ้นมาในจิตใจ และทำร้ายผู้อื่น
ซึ่งมิใช่เป็นวิธีการปฏิบัติ เราเป็นชาวพุทธแต่เพียงในนามเรามีศรัทธาอันยิ่งใหญ่ต่อคำสอนของ
พระพุทธองค์ แต่เราไม่ได้ ปฏิบัติตามคำสอนนั้นเราเป็นทาสจิตใจของตัวเอง ในขณะที่พระ
พุทธองค์ทรงต้องการให้เราเป็นนายของจิตใจ ของเราในบรรดากุศลกรรมทั้งปวง กุศลกรรม
สูงสุด คือการรู้จักควบคุมจิตใจของตนเอง
ดังนั้น เมื่อ พระพุทธองค์ตรัสว่า กุสลสฺสูปสมฺปทา ทรงหมายถึง การรู้จักควบคุมจิตใจเพื่อ
พัฒนาสมาธิ ถ้าท่านสามารถควบคุมจิตใจของตัวเองได้ เท่ากับท่านได้ผ่านขั้นตอนที่ หนึ่งและ
สองไปแล้ว สพฺพปาปสฺส อกรณํ ท่านจะไม่กระทำสิ่งที่ไม่ดี เพราะท่านสามารถควบคุมจิตใจ
ของท่านได้ กุสลสฺสูปสมฺปทา ท่านมีสมาธิ คือรู้จักควบคุมจิตใจ ทั้งศีล และสมาธิ เป็นบันได
ถึง ๒ ขั้น ของการปฏิบัติ หากแต่พระพุทธองค์มิได้ทรงหยุดอยู่แค่นั้น ทรงปรารถนาที่จะให้
เราก้าวเดินต่อไปอีก ด้วยเหตุนี้จึงทรงสอนเราถึงปฏิเวธ ปฏิเวธคืออะไร ? ปฏิเวธ ก็คือการรู้
แจ้งแทงตลอด และการขุดรากเหง้าของความไม่บริสุทธิ์ ออกจากส่วนลึกที่สุด ของจิต ซึ่ง
จะสามารถทำได้ด้วยปัญญา ปัญญา ซึ่งงอาจจะเป็นได้ทั้ง สุตมยปัญญา หรือ จินตามยปัญญา
แต่ปัญญาก็ยังหมายถึง ภาวนามยปัญญา ด้วย สุตมยปัญญา เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะจะช่วยให้
เราเกิดความบันดาลใจ และมีความเข้าใจว่า เราจะปฏิบัติขั้นปฏิเวธได้อย่างไร ?
หากแต่ภาวนามยปัญญานั้น คือการที่จะแทงให้ทะลุ ลึกเข้าไปข้างใน และสำหรับ ภาวนามย
ปัญญา นี้ พระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า "สัมปชัญญะ"