ค้นหาในเว็บไซต์ :

วิปัสสนา

เรื่องที่ ๑๕ : ๑๑ วัน ธรรรมบรรยาย
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


" ๑๑ วัน ธรรมบรรยาย " ที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ ได้แปลมาจากหนังสือ "The Discou rse Summaries" ซึ่งเป็นหนังสือที่วิลเลี่ยม ฮาร์ท ( William Hart ) ได้เรียบเรียงย่อ บทธรรมบรรยาย ของ ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า จากการที่ท่านได้บรรยายไว้ ในหลักสูตรการ อบรมวิปัสสนากรรมฐานขั้นพื้นฐาน ๑๐ วัน เพื่อเผยแพร่แก่คนทั่วไป ธรรมบรรยายของท่าน อาจารย์โกเอ็นก้า มีรากฐานมาจากพุทธธรรมของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน ได้นำวิธีถ่ายทอด ในลักษณะเหตุผล สอดคล้องกับกาลสมัย ช่วยให้อรรถรสของธรรรมะ มี ความลึกซึ้ง ดื่มด่ำ และมีพลังปลูกฝังศรัทธา ให้แก่ผู้อ่าน ให้เข้าใจในพุทธศาสนาและแนวทาง ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ดียิ่งขึ้น

ธรรมบรรยาย วันที่ ๑

วันแรกนี้ จะเป็นวันที่ยากลำบาก เต็มไปด้วยความไม่สะดวกสบายนานาประการซึ่งส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะความไม่คุ้นเคยกับการที่ต้องนั่งตลอดวัน เพื่อปฏิบัติกรรมฐาน แต่ส่วนใหญ่แล้ว ความลำบากคงเกิดจากการที่ให้สังเกตดูแต่เฉพาะลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียว ถ้าใน ระหว่างที่นั่งสังเกตดูลมหายใจอยู่นั้นเราได้รับอนุญาตให้สวดมนต์ หรือได้รับอนุญาตให้บริ กรรมชื่อของเทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์องค์ใดองค์หนึ่ง หรือได้รับอนุญาตให้สร้างจินตนาการ ให้ จิตจดจ่ออยู่ที่รูปของเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งพร้อมกันไปแล้ว ก็จะทำให้การฝึกสมาธิสามารถ ทำได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า เพราะจิตไปจดจ่ออยู่ที่สิ่งเหล่านั้น และในขณะเดียวกัน จิตก็จะลืม นึกถึงความไม่สบายกายต่างๆอีกด้วย แต่การที่กำหนดให้ท่านต้องนั่งสังเกตดู แต่เฉพาะลมหาย ใจที่เข้าออกตามธรรมชาติ โดยไม่ฝืนและไม่มีการท่องบ่นภาวนา หรือไม่มีการสร้างจินตนาการ ให้จิตจดจ่ออยู่ที่รูปของเทพเจ้าองค์ใดๆประกอบด้วยนั้น ก็เนื่องด้วยจุดมุ่งหมายของวิปัสสนา กรรมฐาน มิใช่อยู่ที่แค่การทำสมาธิ จิตที่เป็นสมาธินั้นจะเป็นแต่เพียงบันไดที่จะนำขึ้นไปสู่จุด หมายที่สูงกว่า นั่นก็คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์ โดยการกำจัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองที่อยู่ภาย ในใจ อันจะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล และได้บรรลุมรรคผลนิพพาน

เมื่อใดที่กิเลส เช่นความโกรธ ความเกลียด ความหลง ความกลัว เกิดขึ้นในจิตของผู้ใดบุคคล ผู้นั้นก็จะตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ และเมื่อใดที่เกิดเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นในชีวิต คนเราก็จะมี ความทุกข์และมีอาการเครียด ทำให้เกิดปมจิตขึ้น รวมทั้งเมื่อใด ที่ปรารถนาอะไร แล้วไม่สม ความปรารถนา เราก็จะมีความทุกข์ และเกิดอารมณ์เครียดขึ้นเช่นกัน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำ แล้วซ้ำเล่า ตลอดชีวิตของเรา ก่อเป็นปมจิตอันยุ่งเหยิง และสับสนจนสางไม่ออก นอกจากนี้เรา ยังมักไม่เก็บงำความทุกข์และความเครียดไว้แต่ภายในใจ หากแต่กลับสะท้อนเอาความทุกข์ เหล่านั้น ไปถ่ายทอดให้กับคนรอบข้าง ซึ่งการกระทำเช่นว่านี้ มิใช่เป็นการดำเนินชีวิตที่ถูก ต้องเลย

การที่ท่านมาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะเรียนรู้ศิลปะของการดำเนินชีวิต ให้อยู่ได้อย่างสงบสุข และกลมกลืนไปกับสภาวะภายในตนเอง ได้เรียนรู้ถึงการสร้างสันติสุข และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับบุคคลอื่นๆ ตลอดจนได้เรียนรู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิต อยู่ได้อย่างมี ความสุขในแต่ ละวัน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาตนเองไปสู่ความสุขอันสูงสุด อันเกิด จากการมีจิตที่สะอาดผ่องใส จิตที่เต็มไปด้วยความรักอันบริสุทธิ์ มีเมตตากรุณา ยินดีในความ สำเร็จของผู้อื่น ด้วยจิตอันเป็นอุเบกขา





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย