วิธีการที่ท่านกำลังเรียนรู้ และฝึกปฏิบัตินี้ เรียกว่า ศิลปะแห่งการดำรงชีวิตซึ่งสอนให้ท่าน
อยู่กับความเป็นจริง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ก้าวแรกที่จะต้องเรียนรู้ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะ
อยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งจะทำได้ก็โดยการทำจิตให้อยู่กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน
ปัจจุบัน นั่นก็คือการระลึกรู้ถึงลมหายใจที่เข้าออกผ่านช่องจมูก หรืออานาปานสติ ซึ่งเป็นสภาพ
ความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นในทุกขณะเมื่อใดที่จิตหลุดลอยออกไปคิดถึงเรื่องอื่น ก็ขอให้ยิ้มรับกับ
ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ขุ่นข้อง เพราะนิสัยดั้งเดิมของจิต นี่มักจะเป็นเช่นนี้เสมอทันทีที่
เรารู้ว่า จิตหลุดลอยออกไปท่องเที่ยว จิตก็จะกลับมาระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออก อย่างเป็น
ธรรมชาติโดยอัตโนมัติตามที่ได้ทราบแล้วว่า จิตมีนิสัยชอบท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ โดยรู้สึก
นึกคิดไปในเรื่องของอดีตและอนาคต ซึ่งความรู้สึกนึกคิดนี้เป็นแบบใดเล่า วันนี้เราก็ได้ประจักษ์
ด้วยตัวเราเองแล้วว่า ความรู้สึกนึกคิดของจิตที่เกิดขึ้น ไม่ลำดับเหตุการณ์จับต้นชนปลายไม่ถูก
พฤติกรรมของความรู้สึกนึกคิดในลักษณะนี้ ถือได้ว่าจิตมีลักษณะที่ไม่ปกติ เป็นอาการของโรค
ประสาทโดยทั่วไปแล้วคนเรามักจะมีความสับสน มีความเขลา มีความหลงผิด มีโมหะ หรือสิ่ง
อื่นๆในลักษณะนี้ คล้ายกันทุกคน จะแตกต่างกันก็แต่เพียงว่า มีมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น
ในกรณีที่จิตท่องเที่ยวไปในความรู้สึกนึกคิด มีลักษณะเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน อาจจะเป็น
เรื่องราวที่เราพอใจ หรือไม่พอใจก็ได้ถ้าเป็นเรื่องราวที่เราพอใจ จิตก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง
และปรุงแต่งว่าชอบ ซึ่งจะพัฒนาไปสู่ความอยากได้ หรือโลภะ และความยึดติดหรืออุปาทาน
อันเป็นราคะกิเลสแต่ถ้าความรู้สึกนึกคิดนี้ เป็นเรื่องราวที่เราไม่พอใจ จิตก็จะมีปฏิกิริยาตอบ
สนอง และปรุงแต่งว่าไม่ชอบ ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นความโกรธ ความเกลียดอันเป็นโทสะกิเลส
ด้วยเหตุนี้ การชอบท่องเที่ยวของจิต โดยรู้สึกนึกคิดไปในเรื่องต่างๆดังกล่าว ความนึกคิดนั้น
จึงมีทั้งเรื่องที่จิตชอบและไม่ชอบอยู่ตลอดเวลา เป็นสาเหตุที่ทำให้จิตมีปฏิกิริยาปรุงแต่งอยู่
ตลอดเวลาเช่นกันและผลลัพธ์สุดท้าย ที่ได้จากการปรุงแต่งก็คือ เกิดความโลภ ความโกรธ และ
ความหลง ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นตัวกิเลสที่ทำให้เราเกิดทุกข์ เป้าหมายของการฝึกปฏิบัติกรรมฐาน
ด้วยวิธีอานาปานสตินี้ ก็เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ปลดปล่อยจิตให้พ้นจากความทุกข์ การฝึก
ปฏิบัติจะช่วยให้สามารถขจัดกิเลสภายในใจออกไปได้เรื่อยๆ เป็นเสมือนการผ่าตัดเข้าไปใน
ระดับลึกถึงจิตไร้สำนึก หรือภวังคจิต เพื่อขจัดกิเลสที่ซับซ้อนและซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตของเรา
แม้เพียงขั้นแรกของการปฏิบัติกรรมฐานด้วยวิธีนี้ ก็จะเป็นการทำจิตให้สงบและบริสุทธิ์ได้
โดยอาศัยการสังเกตลมหายใจเข้าออก ท่านไม่เพียงแต่ทำจิตให้ตั้งมั่นเท่านั้น หากแต่ยังเป็น
การทำจิตให้บริสุทธิ์ด้วยบางทีตลอดทั้งวันนี้อาจจะมีสักสองสามขณะ ที่จิตมีสมาธิแน่วแน่อยู่
กับลมหายใจ ช่วงเวลาดังกล่าวมีพลังมากพอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมของจิตได้ เพราะขณะ
นั้นจะเป็นช่วงที่จิตได้ระลึกรู้อยู่แต่กับความเป็นจริงของปัจจุบัน นั่นคือการจดจ่ออยู่กับลมหาย
ใจ ที่ผ่านเข้าออกทางช่องจมูก สังเกตสภาวธรรมของลมหายใจเพียงอย่างเดียว จิตจะหยุด
การปรุงแต่ง ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆ จิตจึงเป็นอิสระ พ้นจากกิเลสทั้ง ๓ อันได้แก่ โลภะ -
โทสะ - โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ช่วงขณะนั้น
จิตจะมีความบริสุทธิ์ และมีพลังแรงกล้า ความบริสุทธิ์ของจิตสำนึกจะไปกระทบกับกิเลสดั้ง
เดิม หรืออนุสัยกิเลส ซึ่งเป็นความไม่บริสุทธิ์ที่สะสมอยู่ภายในจิตไร้สำนึก หรือภวังคจิต ทำให้
เกิดเสมือนหนึ่งแรงระเบิด ก่อความสั่นสะเทือนให้อนุสัยกิเลสที่สะสมเกาะติดอยู่ในสันดานดั้ง
เดิม หลุดออกจากการยึดเกาะในลักษณะต่างๆกัน ในช่วงขณะนั้น เราจะเกิดอาการของความไม่
สบายกายไม่สบายใจ อาจเกิดอาการจิตสับสนฟุ้งซ่าน มีความวิตกถึงปัญหาต่างๆ และที่สุดอาจ
จะเกิดความสงสัย และวิตกกังวลต่อความยากลำบาก ที่จะปฏิบัติต่อไป ซึ่งแท้จริงแล้ว สิ่งที่เกิด
ขึ้นเหล่านี้ เป็นสัญญาณที่บอกให้ทราบว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้เดินมาถูกทางแล้ววิธี
การนี้เริ่มให้ผลแล้ว และการผ่าตัดให้ลึกลงไปในจิตไร้สำนึกได้เริ่มขึ้นแล้ว
หนองร้ายที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในร่างกาย กำลังจะไหลออกมาจากแผลที่เรื้อรัง วิธีการนี้ เป็นวิธี
การที่ไม่ง่าย และไม่สะดวกสบายนัก แต่ก็เป็นวิธีการเดียวที่จะบ่งเอาหนองร้าย หรือกิเลสออก
มาได้ หากปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง ความรู้สึกยากลำบาก ความไม่สะดวก และความไม่
สบาย ก็จะค่อยๆหายไป การปฏิบัติในวันต่อๆไป ก็จะง่ายขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาต่างๆ ก็จะค่อยๆ
หมดไป ทีละเล็กทีละน้อยไม่มีใครสามารถทำงานนี้ให้กับเราได้เราจะต้องทำด้วยตัวของเรา
เองเราจะต้องค้นหาความเป็นจริงภายในตัวของเราเอง เราจะต้องปลดเปลื้องกิเลสด้วยตนเอง