ค้นหาในเว็บไซต์ :

วิปัสสนา

เรื่องที่ ๒๕ : ๑๑ วัน ธรรมบรรยาย ( ๑๑ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


การเดินไปบนมรรคาแห่งความหลุดพ้นนี้ เราต้องเริ่มที่การรักษาศีล โดยละเว้นจากการทำร้าย ผู้อื่น ด้วยกาย วาจา และใจ และถึงแม้ว่า เราจะไม่ได้ทำร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน แต่ เราก็อาจทำร้ายตัวของเราเองด้วยการสร้างกิเลสขึ้นในใจ

ดังนั้น เพื่อป้องกันการทำร้ายตนเอง จากการสร้างกิเลสขึ้นในใจนี้ เราจึงต้องมาฝึกสมาธิเพื่อ เรียนรู้การควบคุมจิตใจ ให้รู้จักระงับกิเลสที่จะเกิดขึ้นและการระงับกิเลสนั้น หาได้เป็นการขจัด กิเลสไม่ เพราะกิเลสจะยังคงมีอยู่ในจิตไร้สำนึก หรือภวังคจิต และมีแต่จะพอกพูนขึ้น ทั้งยังคง ทำลายเราต่อไป

ดังนั้น เมื่อได้เรียนรู้การปฏิบัติธรรมในหมวดที่ ๑ เกี่ยวกับเรื่องศีลและในหมวดที่ ๒ เรื่อง สมาธิแล้ว เราก็มาถึงการปฏิบัติธรรมในหมวดที่ ๓ ซึ่งเกี่ยวกับปัญญา เราจะไม่ปล่อยให้กิเลส เกิดได้ตามสบาย หรือขณะเดียวกันก็จะไม่ไประงับกิเลสเอาไว้ แต่จะปล่อยให้กิเลสได้ปรากฏตัว ออกมา แล้วก็ขจัดกิเลสเหล่านั้นให้หมดไป เมื่อกิเลสได้ถูกขจัดให้หมดไปแล้ว จิตก็จะบริสุทธิ์ ชึ้นและเมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว เราก็ไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆ ที่จะหลีกเลี่ยงจากการกระทำ ที่ เป็นอันตรายต่อผู้อื่น เนื่องจากธรรมชาติของจิตที่บริสุทธิ์นั้น จะเต็มไปด้วยความปรารถนาดี และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และในเวลาเดียวกัน ก็จะไม่ทำการใด ที่จะทำให้เกิดผลร้ายแก่ ตนเอง ซึ่งจะเป็นการนำความสุข ความไพบูลย์ มาสู่ชีวิตของเรา

ดังนั้น แต่ละย่างก้าวในเส้นทางสายนี้ จะนำเราไปสู่ขั้นตอนที่สูงยิ่งๆขึ้นไปเสมอศีลจะนำไปสู่ การพัฒนาสมาธิ คือความตั้งมั่นชอบสมาธิ ก็จะนำไปสู่การพัฒนาปัญญา อันจะนำให้จิตบริสุทธิ์ ปัญญาก็จะนำไปสู่นิพพาน คือความหลุดพ้นจากกิเลสและได้รู้แจ้ง ในสัจธรรม





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย